21-097 บุคคลผู้รู้ได้เร็ว
พระไตรปิฎก
๗. ขิปปนิสันติสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ได้เร็ว
{๙๗}[๙๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก A ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง
๓. บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วจำไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม B แต่หามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้งไม่ชี้แจงให้
เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อ
เกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำอ่อนหวาน อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้ง
ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ ให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น แต่ไม่
ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ
ธรรมที่ฟังแล้วไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ หารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ และหามีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อัน
ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ไม่ ทั้ง
ไม่ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตน
เองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้สามารถรู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทรงจำธรรม
ที่ฟังแล้วไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม และมีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ อันประกอบด้วย
วาจาชาวเมืองที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้ความหมายได้ ทั้งชี้แจงให้เพื่อน
พรหมจารีเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูล
ผู้อื่น เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๔/๒๐๗
B ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายถึงปฏิบัติปฏิปทา อันเป็นส่วนเบื้องต้นที่เหมาะแก่โลกุตตรธรรม ๙ ประการ (คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๗/๓๖๘)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต