21-087 สมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่



พระไตรปิฎก


๗. ปุตตสูตร
ว่าด้วยสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเหมือนพระราชโอรสองค์พี่

{๘๗}[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว A
๒. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก B(บัวขาว)
๓. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม C(บัวหลวง)
๔. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นเสขะ ดำเนินตามข้อปฏิบัติ ปรารถนาผลที่ยอด
เยี่ยมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอยู่เหมือนพระราชโอรสองค์พี่ของพระราชามหา-
กษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว แม้ยังไม่ได้รับการอภิเษกก็ไม่ทรงหวั่นไหว บุคคล
เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน แต่เธอไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน และเธอได้สัมผัสวิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายอยู่ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใครขอร้องย่อม
ฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มีใครขอร้อง
ย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
มาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย และเพื่อน
พรหมจารีทั้งหลายที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเธอเป็นกิริยา
ที่น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เธอ เธอมีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ D อันมีในจิตยิ่ง E
ซึ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่
สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั่นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มี
ใครขอร้องย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย
และพวกภิกษุที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเราเป็นกิริยาที่
น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เรา เรามีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปุตตสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A สมณะผู้ไม่หวั่นไหว ในที่นี้หมายถึงพระเสขบุคคล ๗ ที่ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะมีศรัทธาตั้งมั่นในพระ ศาสนา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔)
B สมณะเหมือนดอกปุณฑริก ในที่นี้หมายถึงพระสุกขวิปัสสกขีณาสพ ที่มีคุณยังไม่บริบูรณ์ เพราะไม่มี ฌาน และอภิญญา เปรียบเหมือนดอกปุณฑริกที่งอกขึ้นในสระจะมีกลีบเพียง ๙๙ กลีบ ไม่ครบร้อย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔)
C สมณะเหมือนดอกปทุม ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพผู้อุภโตภาควิมุต ที่มีคุณบริบูรณ์ เพราะมีฌานและ อภิญญาเหมือนดอกปทุมที่งอกขึ้นในสระ มีกลีบครบร้อย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๔)
D ฌาน ๔ ในที่นี้หมายถึงกิริยาการเข้าฌานของพระขีณาสพและพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘๗/๓๖๕)
E อันมีในจิตยิ่ง (อาภิเจตสิก) หมายถึงอยู่เหนือกามาวจรจิต (ที.ปา.อ. ๑๖๐/๘๕)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.