21-042 วิธีการตอบปัญหา



พระไตรปิฎก


๒. ปัญหพยากรณสูตร
ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา

{๔๒}[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้
การตอบปัญหา ๔ ประการ A อะไรบ้าง คือ
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยนัยเดียว)
๒. วิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรแยกตอบ)
๓. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม)
๔. ฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ควรงดตอบ)
ภิกษุทั้งหลาย การตอบปัญหา ๔ ประการนี้แล
(๑) ตอบโดยนัยเดียว
(๒) แยกตอบ
(๓) ตอบโดยย้อนถาม
(๔) งดตอบ
อนึ่ง บัณฑิตเรียกภิกษุผู้รู้ความเหมาะสม B
ในฐานะแห่งปัญหานั้น ๆ ว่า
เป็นผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔
บุคคลเช่นนั้น ใคร ๆ เทียบได้ยาก
เอาชนะได้ยาก เป็นคนลึกซึ้ง ให้แพ้ได้ยาก
และฉลาดในประโยชน์ทั้งสอง
คือ ด้านเจริญและด้านเสื่อม
บัณฑิตย่อมเว้นด้านเสื่อม ถือเอาด้านเจริญ
ธีรชนเพราะรู้จักประโยชน์
ชาวโลกจึงเรียกว่า “บัณฑิต”
ปัญหพยากรณสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๔
B ผู้รู้ความเหมาะสม หมายถึงรู้วิธีการตอบปัญหา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๒/๓๔๓)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.