21-016 โสขุมมญาณ



พระไตรปิฎก


๖. โสขุมมสูตร
ว่าด้วยโสขุมมญาณ

{๑๖}[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ A (ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด)
๔ ประการนี้
โสขุมมญาณ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ประกอบด้วยรูปโสขุมมญาณ B ไม่เห็นรูปโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
รูปโสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่ารูปโสขุมมญาณนั้น
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยเวทนาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาเวทนาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าเวทนาโสขุมมญาณนั้น
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยสัญญาโสขุมมญาณ ไม่เห็นญาณอื่นที่ยิ่งกว่าหรือ
ประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนาสัญญาโสขุมม-
ญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสัญญาโสขุมมญาณนั้น
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยสังขารโสขุมมญาณ ไม่เห็นสังขารโสขุมมญาณอื่น
ที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมมญาณนั้น และไม่ปรารถนา
สังขารสขุมมญาณอย่างอื่นที่ยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าสังขารโสขุมม-
ญาณนั้น
ภิกษุทั้งหลาย โสขุมมญาณ ๔ ประการนี้แล
ภิกษุใดรู้ความละเอียดแห่งรูปขันธ์
รู้แดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์
รู้เหตุเกิดและที่ดับแห่งสัญญาขันธ์
รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง C
เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
ภิกษุนั้นแลเห็นชอบ สงบ
ยินดีในสันติบท D ชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
ธำรงร่างกายชาติสุดท้ายไว้
โสขุมมสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A โสขุมมญาณ หมายถึงญาณที่เป็นเครื่องกำหนดรู้ลักษณะละเอียด เช่น ลักษณะที่ไม่เที่ยง (องฺ.จตุกฺก.อ.๒/๑๖/๒๙๔, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๖/๓๐๑)
B รูปโสขุมมญาณ ในที่นี้หมายถึงญาณที่กำหนดลักษณะอันละเอียดอ่อนในรูป (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔)
C รู้สังขารขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในที่นี้หมายถึงอนิจจานุปัสสนา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๖/๒๙๔)
D สันติบท หมายถึงนิพพาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖/๒๙๔)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.