21-013 สัมมัปปธาน



พระไตรปิฎก


๓. ปธานสูตร
ว่าด้วยสัมมัปปธาน

{๑๓}[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ ประการนี้
สัมมัปปธาน ๔ ประการ A อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
๔. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ ประการนี้แล
พระขีณาสพเหล่านั้นมีสัมมัปปธาน
ครอบงำบ่วงมาร B ได้ อันกิเลสไม่อาศัย
ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ
ท่านเหล่านั้นชนะมารพร้อมทั้งเสนามาร
เป็นผู้ยินดี ไม่มีความหวั่นไหว
และล่วงพ้นซึ่งกองพลมารทั้งหมด ถึงสุข C แล้ว
ปธานสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรมขันธ์ ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๒/๒๙๑) ๒ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๖/๑๙๘
B บ่วงมารในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ ๓ คือ (๑) กิเลสวัฏฏะ (๒) กัมมวัฏฏะ (๓) วิปากวัฏฏะ ที่เรียกว่าบ่วงมาร เพราะเป็นเหตุให้เกิดกิเลสมาร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๑, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๓/๒๙๘)
C สุข ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรสุข (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓/๒๙๒)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.