20-082 ลักษณะคนพาลและบัณฑิต
- พระไตรปิฎก
- บาลี
- อรรถกถา
พระไตรปิฎก
๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะคนพาลและบัณฑิต
{๔๔๑}[๒] ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง
กำหนด ปัญญาเมื่อใช้เป็นประจำจึงงดงาม A บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่า เป็นคนพาล
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยกาย)
๒. วจีทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยวาจา)
๓. มโนทุจริต (ความประพฤติชั่วด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นคนพาล
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กายสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยกาย)
๒. วจีสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยวาจา)
๓. มโนสุจริต (ความประพฤติชอบด้วยใจ)
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า “บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการ
นั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการใด พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต เราจัก
ถือปฏิบัติธรรม ๓ ประการนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
ลักขณสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A งดงาม ในที่นี้ คือปรากฏ หมายถึงทั้งคนพาลและบัณฑิตย่อมปรากฏเพราะจริตของตน ๆ
(องฺ.ติก.อ. ๒/๒/๗๘)