20-076 สมาบัติ
- พระไตรปิฎก
- บาลี
- อรรถกถา
พระไตรปิฎก
๕. สมาปัตติวรรค
หมวดว่าด้วยสมาบัติ
{๔๐๘}[๑๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ๑
๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ๒
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)
{๔๐๙}[๑๖๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาชชวะ (ความซื่อตรง) ๒. มัททวะ (ความอ่อนโยน)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
{๔๑๐}[๑๖๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ขันติ (ความอดทน)C ๒. โสรัจจะ (ความเสงี่ยม)D
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
{๔๑๑}[๑๖๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สาขัลยะ E (ความมีวาจาอ่อนหวาน)
๒. ปฏิสันถาร (การต้อนรับ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)
{๔๑๒}[๑๖๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)
๒. โสเจยยะ F (ความสะอาด)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)
{๔๑๓}[๑๖๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ G ๒. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
{๔๑๔}[๑๗๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. ความรู้จักประมาณในการบริโภค
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
{๔๑๕}[๑๗๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา)
๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
{๔๑๖}[๑๗๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)
{๔๑๗}[๑๗๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สมถะ H (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา I (ความเห็นแจ้ง)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
{๔๑๘}[๑๗๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
{๔๑๙}[๑๗๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
๒. ทิฏฐิสัมปทา J (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
{๔๒๐}[๑๗๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล)
๒. ทิฏฐิวิสุทธิ K (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๓)
{๔๒๑}[๑๗๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ)
๒. ปธาน (ความเพียร) ที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๔)
{๔๒๒}[๑๗๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย
๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๕)
{๔๒๓}[๑๗๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๖)
{๔๒๔}[๑๘๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๗)
สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ
ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
เชิงอรรถ
A ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ หมายถึงความฉลาดกำหนดรู้อาหารที่เป็นสัปปายะและฤดูที่เป็น
สัปปายะในการเข้าสมาบัติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๔/๗๑)
B ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ หมายถึงความฉลาดในการกำหนดระยะเวลาที่จะออกจาก
สมาบัติ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๔/๗๑)
C ความอดทน ในที่นี้หมายถึงความอดทนด้วยการอดกลั้น(อธิวาสนขันติ) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๖/๗๑)
D ความเสงี่ยม ในที่นี้หมายถึงความเป็นผู้มีศีลงาม(สุสีลภาวะ) ความเป็นผู้น่ายินดี(สุรตภาวะ) (องฺ.ทุก.อ.
๒/๑๖๖/๗๑)
E สาขัลยะ หมายถึงความเป็นบุคคลผู้บันเทิงด้วยความมีวาจาอ่อนหวาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๗/๗๑)
F โสเจยยะ ในที่นี้หมายถึงความสะอาดด้วยอำนาจศีล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖๘/๗๑)
G อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอายตนะภายใน ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๓๐/๒๘๐)
H สมถะ หมายถึงสภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑)
I วิปัสสนา หมายถึงปัญญาที่กำหนดรู้สังขาร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑)
J ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ
(๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ (๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ทุก.อ.
๒/๑๗๕/๗๑)
K ทิฏฐิวิสุทธิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค ๔ ที่ให้เกิดความบริสุทธิ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๖/๗๒)