20-073 ความปรารถนา
พระไตรปิฎก
๒. อายาจนวรรค
หมวดว่าด้วยความปรารถนา
{๓๗๕}[๑๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อ
ปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระ
โมคคัลลานะเถิด” สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ
ภิกษุสาวกของเรา (๑)
{๓๗๖}[๑๓๒] ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด” เขมาและอุบลวรรณานี้
เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา (๒)
{๓๗๗}[๑๓๓] อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า “ขอ
ให้เราเป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด” จิตตคหบดีและ
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสกสาวก
ของเรา (๓)
{๓๗๘}[๑๓๔] อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า
“ขอให้เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด”
ขุชชุตราและเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของอุบาสิกา
สาวิกาของเรา (๔)
{๓๗๙}[๑๓๕] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง พูดติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
สิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดติเตียนคนที่ควรติเตียน
๒. พิจารณา ไตร่ตรองแล้ว พูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๕)
{๓๘๐}[๑๓๖] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
คนพาล ผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิต ผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส
๒. พิจารณาไตร่ตรองแล้ว ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๖)
{๓๘๑}[๑๓๗] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. มารดา ๒. บิดา
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๗)
{๓๘๒}[๑๓๘] คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก
ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่ง
ที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
คนพาลผู้ไม่เฉียบแหลม เป็นอสัตบุรุษ ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย มีความเสียหาย ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพสิ่งที่
ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกย่อมบริหาร
ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และประสพ
บุญเป็นอันมาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. ตถาคต ๒. สาวกของตถาคต
บัณฑิตผู้เฉียบแหลม เป็นสัตบุรุษ ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แลย่อม
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีความเสียหาย ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน และ
ประสพบุญเป็นอันมาก (๘)
{๓๘๓}[๑๓๙] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๒. ความไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๙)
{๓๘๔}[๑๔๐] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. โกธะ (ความโกรธ) ๒. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๐)
{๓๘๕}[๑๔๑] ธรรม ๒ ประการนี้
ธรรม ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. การกำจัดความโกรธ ๒. การกำจัดอุปนาหะ
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล (๑๑)
อายาจนวรรคที่ ๒ จบ
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต