20-072 ความหวังที่ละได้ยาก



พระไตรปิฎก


๓. ตติยปัณณาสก์
๑. อาสาทุปปชหวรรค หมวดว่าด้วยความหวังที่ละได้ยาก

{๓๖๓}[๑๑๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒
อย่างนี้ละได้ยาก ความหวัง ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความหวังในลาภ ๒. ความหวังในชีวิต
ความหวัง ๒ อย่างนี้แล ละได้ยาก (๑)
{๓๖๔}[๑๒๐] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุพพการี (ผู้ทำอุปการะก่อน)
๒. กตัญญูกตเวที (ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วและตอบแทน)
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๒)
{๓๖๕}[๑๒๑] บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่อิ่มเอง A ๒. คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม B
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก (๓)
{๓๖๖}[๑๒๒] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก (๔)
{๓๖๗}[๑๒๓] บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย
บุคคล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. คนที่ไม่สะสมสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง ๒. คนที่ไม่สละสิ่งที่ได้มาทุกครั้ง
บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย (๕)
{๓๖๘}[๑๒๔] ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. สุภนิมิต C (นิมิตงาม)
๒. อโยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยไม่แยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดราคะ ๒ อย่างนี้แล (๖)
{๓๖๙}[๑๒๕] ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปฏิฆนิมิต D (นิมิตให้ขัดเคือง) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดโทสะ ๒ อย่างนี้แล (๗)
{๓๗๐}[๑๒๖] ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ E (เสียงจากผู้อื่น) ๒. อโยนิโสมนสิการ
ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๘)
{๓๗๑}[๑๒๗] ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้
ปัจจัย ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ปรโตโฆสะ F ๒. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย)
ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล (๙)
{๓๗๒}[๑๒๘] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติเบา ๒. อาบัติหนัก G
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
{๓๗๓}[๑๒๙] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติชั่วหยาบ ๒. อาบัติไม่ชั่วหยาบ H
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
{๓๗๔}[๑๓๐] อาบัติ ๒ อย่างนี้
อาบัติ ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อาบัติที่มีส่วนเหลือ I ๒. อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ J
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล (๑๒)
อาสาทุปปชหวรรคที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A คนที่อิ่มเอง หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพุทธเจ้า
และพระขีณาสพ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕)
B คนที่ให้ผู้อื่นอิ่ม หมายถึงพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๑/๖๕)
C สุภนิมิต หมายถึงอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๔/๖๖)
D ปฏิฆนิมิต หมายถึงอนิฏฐนิมิต คืออารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๕/๖๖)
E ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังอสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๖/๖๖)
F ปรโตโฆสะ ในที่นี้หมายถึงการฟังพระสัทธรรมจากผู้อื่น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๒๗/๖๖)
G อาบัติหนัก คือปาราชิก และสังฆาทิเสส อาบัติเบา คือถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
H อาบัติชั่วหยาบ คือปาราชิกและสังฆาทิเสส อาบัติไม่ชั่วหยาบ คืออาบัติ ๕ อย่างที่เหลือ
I อาบัติที่มีส่วนเหลือ หมายถึงอาบัติที่เป็นสเตกิจฉา (อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้) คือสังฆาทิเสส
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
J อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ หมายถึงอเตกิจฉา (อาบัติที่เยียวยาไม่ได้หรือแก้ไขไม่ได้) คือปาราชิก

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.