20-070 ธรรม



พระไตรปิฎก


๔. ธัมมวรรค
หมวดว่าด้วยธรรม

{๓๓๒}[๘๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่างอะไรบ้าง คือ
๑. เจโตวิมุตติ A (ความหลุดพ้นแห่งจิต)
๒. ปัญญาวิมุตติ B (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑)
{๓๓๓}[๘๙] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเพียร ๒. ความไม่ฟุ้งซ่าน
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๒)
{๓๓๔}[๙๐] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. นาม ๒. รูป
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๓)
{๓๓๕}[๙๑] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. วิชชา (ความรู้แจ้ง) ๒. วิมุตติ (ความหลุดพ้น)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๔)
{๓๓๖}[๙๒] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ภวทิฏฐิ C ๒. วิภวทิฏฐิ D
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๕)
{๓๓๗}[๙๓] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. อหิริกะ (ความไม่อายบาป) ๒. อโนตตัปปะ (ความไม่กลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖)
{๓๓๘}[๙๔] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. หิริ (ความอายบาป) ๒. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป)
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗)
{๓๓๙}[๙๕] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่ายาก ๒. ความมีปาปมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘)
{๓๔๐}[๙๖] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ว่าง่าย ๒. ความมีกัลยาณมิตร
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙)
{๓๔๑}[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ E ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐)
{๓๔๒}[๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้
ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ
๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ F ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ G
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
ธัมมวรรคที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A เจโตวิมุตติ หมายถึงผลอันเกิดจากสมาธิ คือความหลุดพ้นด้วยสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒)
B ปัญญาวิมุตติ หมายถึงผลอันเกิดจากปัญญา คือความหลุดพ้นด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒)
C ภวทิฏฐิ หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓)
D วิภวทิฏฐิ หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๒/๖๓)
E ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เองตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล มี ๑๘ คือ
จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ
ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (อภิ.วิ.๓๕/๑๘๔/๑๐๒, วิสุทฺธิ. ๓/๖๕ )
F อาบัติ ในที่นี้หมายถึงกองอาบัติ ๕ ที่มาในมาติกา คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ
และกองอาบัติ ๗ ที่มาในวิภังค์ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต
(องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓, วิ.อ. ๓/๒๗๑/๔๓๕)
G ฉลาดในการออกจากอาบัติ หมายถึงการรู้วิธีออกจากอาบัติ ๒ วิธี คือ (๑) เทสนาวิธี ได้แก่ วิธีแสดง
อาบัติหรือปลงอาบัติ (ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต) (๒) กัมมวาจาวิธี
หรือ วุฏฐานวิธี ได้แก่ วิธีปฏิบัติสำหรับผู้จะเปลื้องตนออกจากอาบัติสังฆาทิเสส มี ๔ อย่าง คือ ปริวาส
มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.