20-066 การอยู่ร่วมกัน 2 แบบ



พระไตรปิฎก


การอยู่ร่วมกัน ๒ แบบ
{๓๐๗}[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและการอยู่ร่วม
กันของสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระ A ก็ไม่ควร
ว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะ B ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ C ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา
ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่า
กล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าว
เรา เราจะพูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตาม
คำแนะนำของเขา หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับเขาว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนเขา แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำแนะนำ
ของเขา”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะ
ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ไม่ควรว่ากล่าวพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ
ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน
แม้เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หาก
พระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ไม่ทำละ’ ถึงเราก็จะเบียดเบียนท่าน แม้
เห็นอยู่ก็จะไม่ทำตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของอสัตบุรุษและอสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกัน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุผู้เป็นเถระในธรรมวินัยนี้มีความคิดอย่างนี้ว่า “ถึงพระเถระก็ควรว่า
กล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควรว่ากล่าวเรา ตัวเราก็
ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหากพระเถระจะว่ากล่าวเรา
ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะ
พูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของ
ท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนา
สิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า
‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำตามคำแนะนำของท่าน”
แม้พระมัชฌิมะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ฯลฯ แม้พระนวกะก็มีความคิดอย่างนี้ว่า
“ถึงพระเถระก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระมัชฌิมะก็ควรว่ากล่าวเรา ถึงพระนวกะก็ควร
ว่ากล่าวเรา ตัวเราก็ควรว่ากล่าวทั้งพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ถึงหาก
พระเถระจะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่
เกื้อกูลว่ากล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่
ก็จะทำตามคำสอนของท่าน หากพระมัชฌิมะจะว่ากล่าวเรา ฯลฯ หากพระนวกะ
จะว่ากล่าวเรา ก็ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูลว่ากล่าวเรา ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูลว่า
กล่าวเรา เราจะพูดกับท่านว่า ‘ดีละ’ เราจะไม่เบียดเบียนท่าน แม้เห็นอยู่ก็จะทำ
ตามคำสอนของท่าน”
การอยู่ร่วมกันของสัตบุรุษและสัตบุรุษอยู่ร่วมกันเป็นอย่างนี้แล (๑๑)
เชิงอรรถ
A พระเถระ หมายถึงพระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐
ขึ้นไป และรู้ปาติโมกข์ เป็นต้น
B พระมัชฌิมะ หมายถึงพระระดับกลางมีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าพระปูนกลาง คือมีพรรษา
ตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐
C พระนวกะ ในที่นี้หมายถึงพระใหม่ มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่ มีพรรษาต่ำกว่า ๕
ที่ยังต้องถือนิสสัย

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.