20-010 ความประมาท เป็นต้น หมวดที่ 2



พระไตรปิฎก


๑๐. ทุติยปมาทาทิวรรค
หมวดว่าด้วยความประมาทเป็นต้น หมวดที่ ๒

{๙๙}[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะพูดถึงองค์ประกอบภาย
ใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือน
ความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑)
{๑๐๐}[๙๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็น
ไปเพื่อประโยชน์มาก (๒)
{๑๐๑}[๑๐๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๓)
{๑๐๒}[๑๐๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความ
เพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๔)
{๑๐๓}[๑๐๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๕)
{๑๐๔}[๑๐๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๖)
{๑๐๕}[๑๐๔] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๗)
{๑๐๖}[๑๐๕] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๘)
{๑๐๗}[๑๐๖] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ อโยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๙)
{๑๐๘}[๑๐๗] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๐)
{๑๐๙}[๑๐๘] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๑)
{๑๑๐}[๑๐๙] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๒)
{๑๑๑}[๑๑๐] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนความมีปาปมิตรนี้ ความมีปาปมิตรย่อม
เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๓)
{๑๑๒}[๑๑๑] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความมีกัลยาณมิตรนี้ ความมีกัลยาณมิตร
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๔)
{๑๑๓}[๑๑๒] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการ
ไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก (๑๕)
{๑๑๔}[๑๑๓] เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน เราไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่าง
หนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่
ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก (๑๖)
{๑๑๕}[๑๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรม A เหมือนความประมาทนี้ ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ
หายไปแห่งสัทธรรม (๑๗)
{๑๑๖}[๑๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ
ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนความไม่ประมาทนี้ ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความ
ดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๑๘)
{๑๑๗}[๑๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไป
แห่งสัทธรรมเหมือนความเกียจคร้านนี้ ความเกียจคร้านย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
สูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๑๙)
{๑๑๘}[๑๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการปรารภความเพียรนี้ การปรารภความเพียร
ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๐)
{๑๑๙}[๑๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักมากย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๑)
{๑๒๐}[๑๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๒)
{๑๒๑}[๑๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๓)
{๑๒๒}[๑๒๑] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความสันโดษย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๔)
{๑๒๓}[๑๒๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ อโยนิโยมนสิการย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๕)
{๑๒๔}[๑๒๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ โยนิโสมนสิการย่อมเป็นไปเพื่อ
ความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๖)
{๑๒๕}[๑๒๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความไม่มีสัมปชัญญะย่อมเป็น
ไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๗)
{๑๒๖}[๑๒๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีสัมปชัญญะย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๒๘)
{๑๒๗}[๑๒๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีปาปมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่งสัทธรรม (๒๙)
{๑๒๘}[๑๒๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไป
เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๐)
{๑๒๙}[๑๒๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ฯลฯ การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ
และการไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ หายไปแห่ง
สัทธรรม (๓๑)
{๑๓๐}[๑๒๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อม
สูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรมเหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบ
อกุศลธรรมเนือง ๆ นี้ การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ และการไม่ประกอบอกุศลธรรม
เนือง ๆ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่หายไปแห่งสัทธรรม (๓๒)
(จตุกโกฏิกะ จบ)
{๑๓๑}[๑๓๐] ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่า “เป็นธรรม” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่
คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่
บุญเป็นอันมาก และทำให้สัทธรรมนี้สูญหายไป (๓๓)
{๑๓๒}[๑๓๑-๑๓๙] ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า “เป็นอธรรม” ฯลฯ แสดงสิ่งที่มิใช่
วินัยว่า “เป็นวินัย” ฯลฯ แสดงวินัยว่า “มิใช่วินัย” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้
ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า “ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคต
ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า “ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้” ฯลฯ แสดงกรรมที่
ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงกรรม
ที่ตถาคตได้ประพฤติปฏิบัติมาว่า “ตถาคตไม่ได้ประพฤติปฏิบัติมา” ฯลฯ แสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า “ตถาคตได้บัญญัติไว้” ฯลฯ แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้
ว่า “ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้” ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุข
แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และทำให้
สัทธรรมนี้สูญหายไป (๔๒)
ทุติยปมาทาทิวรรคที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A สัทธรรม หมายถึงธรรมอันดี หรือศาสนา มี ๓ ประการ คือ ปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม และ
อธิคมสัทธรรม (วิ.อ. ๒/๔๓๘/๔๒๕)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.