15-270 โทษ



พระไตรปิฎก


๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยโทษ
[๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปได้โต้เถียงกัน ในการ
โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ครั้งนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นขอโทษ
ในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้
[๙๕๓] ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมาก
พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส
ภิกษุ ๒ รูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน
ลำดับนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินขอโทษในที่อยู่ของภิกษุนั้น
แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ พระพุทธเจ้าข้า”
[๙๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้ไม่เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ไม่ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
คนพาล ๒ จำพวกนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ คือ
๑. ผู้เห็นโทษว่าเป็นโทษ
๒. ผู้ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ
บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
[๙๕๕] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทพชั้น
ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย
ขอความเสื่อมคลายในมิตตธรรมอย่าได้มีแก่ท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน A
และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย
ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ผู้ที่ไม่ควรติเตียน ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (สํ.ส.อ. ๑/๒๗๐/๓๓๘)

บาลี



อจฺจยสุตฺต
[๙๕๒] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน เทฺว ภิกฺขู
สมฺปโยเชสุ ฯ ตเตฺรโก ภิกฺขุ อจฺจสรา ฯ อถ โข โส ภิกฺขุ
ตสฺส ภิกฺขุโน สนฺติเก อจฺจย อจฺจยโต เทเสติ ฯ โส ภิกฺขุ น
ปฏิคฺคณฺหาติ ฯ
[๙๕๓] อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต
นิสินฺนา โข เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ อิธ ภนฺเต เทฺว
ภิกฺขู สมฺปโยเชสุ ตเตฺรโก ภิกฺขุ อจฺจสรา อถ โข ภนฺเต
โส ภิกฺขุ ตสฺส ภิกฺขุโน สนฺติเก อจฺจย อจฺจยโต เทเสติ โส
ภิกฺขุ น ปฏิคฺคณฺหาตีติ ฯ
[๙๕๔] เทฺวเม ภิกฺขเว พาลา ฯ โย จ อจฺจย อจฺจยโต
น ปสฺสติ โย จ อจฺจย เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺม น ปฏิคฺคณฺหาติ ฯ
อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว พาลา ฯ เทฺวเม ภิกฺขเว ปณฺฑิตา ฯ
โย จ อจฺจย อจฺจยโต ปสฺสติ โย จ อจฺจย เทเสนฺตสฺส
ยถาธมฺม ปฏิคฺคณฺหาติ ฯ อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว ปณฺฑิตา ฯ
[๙๕๕] ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สุธมฺมาย สภาย
เทเว ตาวตึเส อนุนยมาโน ตาย เวลาย อิม คาถ อภาสิ
โกโธ โว วสมายาตุ มา จ มิตฺเต หิ โว ชรา
อครหิย มา ครหิตฺถ มา จ ภาสิตฺถ เปสุณ
อถ ปาปชน โกโธ ปพฺพโตวาภิมทฺทตีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาอัจจยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัจจยสูตรที่ ๔ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปโยเชสุํ แปลว่า ทะเลาะกัน. บทว่า อจฺจสรา ได้แก่
ล่วงเกิน. อธิบายว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กล่าวคำล่วงเกินภิกษุรูปหนึ่ง. บทว่า
ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ ได้แก่ ไม่ยกโทษ. บทว่า โกโธ โว
วสมายาตุ ท่านแสดงว่า ความโกรธจงมาสู่อำนาจของพวกท่าน พวกท่าน
อย่าไปสู่อำนาจของความโกรธ. คำว่า หิ ในบทนี้ว่า มา จ มิตฺเต หิ โว
ชรา เป็นเพียงนิบาต. ความเสื่อมในมิตรธรรม อย่าเกิดแก่พวกท่าน. อีก
อย่างหนึ่ง ตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. อธิบายว่า ความเสื่อม
ในมิตรธรรมอย่าเกิดแล้ว คือว่าความเป็นโดยประการอื่นจากความเป็นมิตรจง
อย่ามี. บทว่า อครหิยํ มา ครหิตฺถ ความว่า อย่าติเตียนผู้ไม่ควรติเตียน
คือบุคคลผู้เป็นขีณาสพ.
จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!