15-262 การบูชา



พระไตรปิฎก


๖. ยชมานสูตร
ว่าด้วยการบูชา
[๙๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
[๙๒๓] ครั้งนั้นท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระพุทธเจ้าข้า A
[๙๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ท่านผู้ปฏิบัติดี ๔ จำพวก
ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก
นั่นคือพระสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรง
ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์
ปรารถนาบุญ บูชาอยู่ ทำบุญซึ่งให้เกิดผล
ทานที่ให้แล้วในพระสงฆ์มีผลมาก B
ยชมานสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๓๙/๗๐-๗๑
B ดูเทียบ ขุ.วิ. (แปล) ๒๖/๖๔๑-๖๔๒/๗๐-๗๑

บาลี



ยชมานสุตฺต
[๙๒๒] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต ฯ
อถ โข สกฺโก เทวานมินฺโท เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๙๒๓] เอกมนฺต ิโต โข สกฺโก เทวานมินฺโท ภควนฺต
คาถาย อชฺฌภาสิ
ยชมานาน มนุสฺสาน ปุฺเปกฺขาน ปาณิน
กโรต โอปธิก ปุฺ กตฺถ ทินฺน มหปฺผลนฺติ ฯ
[๙๒๔] จตฺตาโร จ ปฏิปนฺนา จตฺตาโร จ ผเล ิตา
เอส สงฺโฆ อุชุภูโต ปฺาสีลสมาหิโต
ยชมานาน มนุสฺสาน ปุฺเปกฺขาน ปาณิน
กโรต โอปธิก ปุฺ สงฺเฆ ทินฺน มหปฺผลนฺติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถายชมานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในยชมานสูตรที่ ๖ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ยชมานํ แปลว่า บูชาอยู่. มีเรื่องเล่าว่า ในครั้งนั้นพวก
ชาวอังคะและมคธ. ได้ถือเอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นอย่างเลิศเป็น
ประจำปี เอาฟืนบรรทุกเกวียนประมาณ ๖๐ เล่ม กองสุมไว้ในที่แห่งหนึ่ง
แล้วก่อไฟ ขณะที่ไฟลุก ใส่ของเลิศทั้งหมดนั้นด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชา
ท้าวมหาพรหม. นัยว่าเป็นความเธอถือของพวกเขาว่า ใส่ลงไปครั้งหนึ่งจะให้
ผลแสนเท่า.
ท้าวสักกเทวราชดำริว่า พวกคนทั้งหมดนี้ถือเอาของเลิศทั้งปวงเผาใน
ไฟด้วยหมายว่า พวกเราจะบูชาท้าวมหาพรหม ทำสิ่งไร้ผล เมื่อเราเห็นอยู่
พวกเขาอย่าได้พินาศเสียเลย เราจักกระทำโดยที่ให้พวกเขาถวายแด่พระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์เท่านั้น แล้วจะประสบบุญมากดังนี้ เมื่อพวกคนทำกองฟืน ให้
โชติช่วง แลดูอยู่จึงทรงแปลงเป็นพรหมในวัน ๑๕ ค่ำ เมื่อมหาชนแลดูอยู่
นั่นเอง ได้ทำเป็นเหมือนแหวกจันทมณฑลออกไป. มหาชน ครั้นเห็นแล้ว
ต่างก็คิดว่า ท้าวมหาพรหม เสด็จมารับเครื่องบูชานี้ จึงคุกเข่าลงกับพื้น
ประคองอัญชลี นอบน้อมอยู่. พวกพราหมณ์กล่าวว่า พวกท่านสำคัญว่า
เราพูดเล่นหรือ บัดนี้พวกท่านจงดูซิ พระพรหมองค์นี้ มารับเครื่องบูชา
ของพวกเราด้วยมือตนเอง. ท้าวสักกะเสด็จมายืนอยู่บนอากาศ เบื้องบน
กองฟืน ตรัสถามว่า สักการะนี้เพื่อโครกัน มีคนทูลว่า ข้าแต่ท้าวมหาพรหมผู้
เจริญ เพื่อพระองค์นี้ซิ ขอพระองค์จงทรงรับ เครื่องบูชาของพวกข้าพเจ้าเถิด.
มหาพรหมตรัสว่า ถ้ากระนั้น พวกท่านจงมา อย่าทิ้งเครื่องชั่งเสียแล้วชั่ง
ด้วยมือ พระศาสดาประทับอยู่ที่วิหารใกล้ ๆ พวกเราจักทูลถามพระองค์ว่า
ให้ทานแก่ใคร จึงจะมีผลมากดังนี้. ท้าวสักกะทรงพาพวกชาวแคว้นทั้งสอง
ไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อจะทูลถามจึงตรัสอย่างนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า
ปุญฺเปกฺขานํ ได้แก่ ปรารถนาบุญ คือมีความต้องการบุญ. บทว่า
โอปธิกํ ปุญฺํ ได้แก่ บุญมีอุปธิเป็นวิบาก. บทว่า สํเฆ ทินฺนํ มหปฺผลํ
ความว่า ทานที่ถวายในพระอริยสงฆ์ ย่อมมีผลกว้างขวาง. เมื่อุเทศน์จบ
ชนแปดหมื่นสี่พันได้ดื่มน้ำคืออมฤตธรรม. ตั้งแต่นั้นมา พวกคนได้พากัน
ถวายทานอันเลิศทั้งปวงแก่ภิกษุสงฆ์.
จบอรรถกถายชมานสูตรที่ ๖

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!