15-256 ภิกษุผู้อยู่ใกล้ฝั่งสมุทร



พระไตรปิฎก


๑๐. สมุททกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ใกล้ฝั่งสมุทร
[๘๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น ฯลฯ
[๙๐๐] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมาก
อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร สมัยนั้น สงครามระหว่างพวกเทพกับ
อสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า
‘พวกเทพดำรงอยู่ในธรรม พวกอสูรไม่ดำรงอยู่ในธรรม ภัยจากพวกอสูรพึงเกิด
แก่พวกเรา ทางที่ดีพวกเราพึงเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยท่านเถิด’
[๙๐๑] ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้หายตัวจากกุฎีที่มุงด้วยใบไม้
ใกล้ฝั่งสมุทรไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าวสมพรจอมอสูร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียด
แขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น
ได้กล่าวกับท้าวสมพรจอมอสูรด้วยคาถาว่า
พวกฤๅษีมาขออภัยกับท่านท้าวสมพร
การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้โดยแท้
[๙๐๒] ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวว่า
ไม่มีการให้อภัยแก่พวกฤๅษี
ผู้ชั่วช้า ผู้คบหาท้าวสักกะ
เราให้ภัยเท่านั้นแก่พวกท่านผู้ขออภัย
[๙๐๓] พวกฤๅษีกล่าวว่า
ท่านให้ภัยเท่านั้นแก่พวกเราผู้ขออภัย
พวกเราขอรับเอาแต่อภัยอย่างเดียว
ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น
คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
พ่อ ท่านหว่านพืชลงไปแล้ว ท่านจักต้องเสวยผลของมัน
[๙๐๔] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้สาปแช่งท้าว
สมพรจอมอสูรแล้วหายตัวไปต่อหน้าท้าวสมพรจอมอสูร ไปปรากฏอยู่ ณ กุฎีที่
มุงด้วยใบไม้ใกล้ฝั่งสมุทร เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้น ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่า
ในคืนนั้น ตกใจหวาดหวั่นถึงสามครั้ง
สมุททกสูตรที่ ๑๐ จบ

บาลี



สมุทฺทกสุตฺต
[๘๙๙] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ ตตฺร โข ฯเปฯ
[๙๐๐] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สมฺพหุลา อิสโย
สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ฯ เตน
โข ปน สมเยน ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ
อถ โข ภิกฺขเว เตส อิสีน สีลวนฺตาน กลฺยาณธมฺมาน เอตทโหสิ
ธมฺมิกา โข เทวา อธมฺมิกา อสุรา สิยาปิ น อสุรโต ภย
ยนฺนูน มย สมฺพร อสุรินฺท อุปสงฺกมิตฺวา อภยทกฺขิณ
ยาเจยฺยามาติ ฯ
[๙๐๑] อถ โข ภิกฺขเว เต อิสโย สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา
เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา พาห ปสาเรยฺย
ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ
อนฺตรหิตา สมฺพรสฺส อสุรินฺทสฺส สมฺมุเข ปาตุรเหสุ ฯ อถ โข
ภิกฺขเว เต อิสโย สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา สมฺพร อสุรินฺท
คาถาย อชฺฌภาสึสุ
อิสโย สมฺพร ปตฺตา ยาจนฺติ อภยทกฺขิณ
กาม กโรสิ ๑ เต ทาตุ ภยสฺส อภยสฺส วาติ ฯ
[๙๐๒] อิสีน อภย นตฺถิ ทุฏฺาน สกฺกเสวิน
อภย ยาจมานาน ภยเมว ททามิ โวติ ฯ
[๙๐๓] อภย ยาจมานาน ภยเมว ททาสิ โน
ปฏิคฺคณฺหาม เต เอก ๒ อภย ๓ โหตุ เต ภย
ยาทิส ลภเต ๔ พีช ตาทิส ลภเต ๕ ผล
กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก
ปวุตฺต ตาต ๖ เต พีช ผล ปจฺจนุโภสฺสสีติ ฯ
อถ โข ภิกฺขเว เต อิสโย สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา สมฺพร
อสุรินฺท อภิสเปตฺวา ๗ เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต
วา พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว
สมฺพรสฺส อสุรินฺทสฺส สมฺมุเข อนฺตรหิตา สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ
ปาตุรเหสุ ฯ
[๙๐๔] อถ โข ภิกฺขเว สมฺพโร อสุรินฺโท เตหิ อิสีหิ สีลวนฺเตหิ
กลฺยาณธมฺเมหิ อภิสปิโต รตฺติยา สุท ติกฺขตฺตุ อุพฺพิชฺชตีติ ฯ

******************

๑ ม. กโรหิ ฯ ๒ ม. ยุ. เอต ฯ ๓ ม. ยุ. อกฺขย ฯ ๔ ม. วปเต ฯ
๕ ม. ยุ. หรเต ฯ ยุ. วปฺปเต ฯ ๖ วปฺปเต ฯ ๗ ม. อภิสปิตฺวา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสมุททกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมุตตกสูตรที่ ๑๐ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุทฺทตีเร ปณฺณกุฏีสุ ความว่า พวกฤาษีอาศัยอยู่ใน
บรรณศาลา มีประการดังกล่าวแล้วบนหาดทราย มีสีเหมือนแผ่นเงินหลังมหา-
สมุทรในจักรวาล. บทว่า สิยาปิ นํ แก้เป็น สิสยาปิ อมฺหากํ แปลว่า
แม้พึงมีแก่พวกเรา บทว่า อภยทกฺขิณํ ยาเจยฺยาม ได้แก่ พึงขออภัยทาน.
นัยว่า สงความระหว่างเทวดาและอสูร โดยมากมีขึ้นที่หลังมหาสมุทร. ชัยชนะ
มิได้มีแก่พวกอสูรในทุกเวลา. พวกอสูรเป็นฝ่ายแพ้เสียหลายครั้ง.
พวกอสูรเหล่านั้น แพ้เทวดาแล้วพากันหนีไปทางอาศรมบทของพวก
ฤาษี โกรธว่า ท้าวสักกะ ปรึกษากับ พวกฤาษีเหล่านี้ ทำเราให้พินาศ โดยพวก
ท่านจับทั้งแม่ทั้งลูก. พวกอสูรจึงพากัน ทำลายหม้อน้ำดื่มและศาลาที่จงกรม
เป็นต้นในอาศรมบทนั้น. พวกฤาษีถืออาผลาจากป่ากลับมาเห็นช่วยกันทำ
ให้เหมือนเดิมด้วยความลำบากอีก. แม้พวกอสูรเหล่านั้นก็ทำให้พินาศอย่างนั้น
บ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พวกฤาษีสดับว่า บัดนี้ สงความระหว่างเทวดาและ
อสูรปรากฏขึ้นดังนี้ จึงคิดอย่างนั้น. บทว่า กามํ กโร ได้แก่ กระทำตาม
ความปรารถนา. บทว่า ภยสฺส อภยสฺส วา แก้เป็น ภยํ วา อภยํ วา
แปลว่า ภัย หรือ อภัย. ท่านอธิบายข้อนี้ไว้ว่า หากท่านประสงค์จะให้อภัยก็
พอให้อภัยได้ หากท่านประสงค์จะให้ภัยก็พอจะให้ภัยได้ แต่สำหรับพวกอาตมา
ท่านจงให้อภัยทานเถิดดังนี้. บทว่า ทุฏฐานํ แปลว่า ผู้ประทุษร้ายแล้ว คือ
ผู้โกรธแล้ว. บทว่า ปวุตฺตํ คืออันเขาหว่านไว้ในนา. บทว่า ติกฺขตฺตุํ
อุพฺพิชฺชติ ความว่า จอมอสูรบริโภคภัตรในตอนเย็นแล้วขึ้นที่นอน นอนพอ
จะงีบหลับ ก็ลุกขึ้นยืนร้องไปรอบ ๆ. เหมือนถูกหอกร้อยเล่มทิ่มแทง. ภพอสูร
หนึ่งหมื่นโยชน์ถึงความปั่นป่วนว่า นี่อะไรกัน. ลำดับนั้น พวกอสูรพากันมา
ถามจอมอสูร นี่อะไรกัน. จอมอสูรไม่พูดอะไรเลย. แม้ในยามที่สองเป็นต้น
ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ เมื่อพวกอสูรพากันปลอบจอมอสูรว่า อย่ากลัวเลย
มหาราชดังนี้ จนอรุณขึ้น. ตั้งแต่นั้นมา จอมอสูร ก็มีใจหวั่นไหวเกิดอาการไข้
ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จอมอสูรนั้น จึงเกิดชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า
เวปจิตติ.
จบ อรรถกถาสมุททกสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!