15-253 การไม่ประทุษร้าย
พระไตรปิฎก
๗. นทุพภิยสูตร
ว่าด้วยการไม่ประทุษร้าย
[๘๘๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพทรงหลีกเร้นประทับ
พักผ่อนอยู่ในที่พักเกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า ‘เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็น
ข้าศึกต่อเรา’ ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ทราบความรำพึงของท้าวสักกะ
จอมเทพด้วยใจของตนแล้ว เข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทพจนถึงที่ประทับ
[๘๘๘] ท้าวสักกะ
จอมเทพได้ทอดพระเนตรเห็นท้าวเวปจิตติจอมอสูรมาแต่ไกลทีเดียว จึงได้ตรัสกับ
ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดังนี้ว่า ‘หยุดเถิด ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับแล้ว’
ท้าวเวปจิตติถามว่า ‘ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิดครั้งก่อนของท่าน
แล้วหรือ’ ท้าวสักกะตรัสว่า ‘ท่านท้าวเวปจิตติ ขอให้ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่
ประทุษร้ายต่อเรา’
[๘๘๙] ท้าวเวปจิตติกล่าวคาถาว่า
ท่านท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ
บาปของคนผู้ติเตียนพระอริยะ
บาปของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร
และบาปของคนอกตัญญู
จงถูกต้องผู้ประทุษร้ายท่านเถิด
นทุพภิยสูตรที่ ๗ จบ
บาลี
นทุพฺภิยสุตฺต
[๘๘๗] สาวตฺถีนิทาน ฯ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สกฺกสฺส
เทวานมินฺทสฺส รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส เอว เจตโส ปริวิตกฺโก
อุทปาทิ โยปิ เม อสฺส ปจฺจตฺถิโก ตสฺสปาห น ทุพฺเภยฺยนฺติ ฯ
อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส เจตสา
เจโตปริวิตกฺกมฺาย เยน สกฺโก เทวานมินฺโท เตนุปสงฺกมิ ฯ
[๘๘๘] อทฺทสา โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท เวปจิตฺตึ
อสุรินฺท ทูรโตว อาคจฺฉนฺต ทิสฺวาน เวปจิตฺตึ อสุรินฺท เอตทโวจ
ติฏฺ เวปจิตฺติ คหิโตสีติ ฯ ยเทว เต มาริส ปุพฺเพ จิตฺต ตเทว
ตฺว มาริส ชหาสีติ ๑ ฯ สปสฺสุ จ เม เวปจิตฺติ อทุพฺภายาติ ฯ
[๘๘๙] ย มุสา ภณโต ปาป ย อริยูปวาทิโน
มิตฺตทฺทุโน จ ย ปาป ย ปาป อกตฺุโน
ตเมว ปาป ผุสตุ ๒ โย เต ทุพฺเภ สุชมฺปตีติ ฯ
******************
๑ ม. มา ปชหาสิ ฯ ยุ. ปหาสิ ฯ ๒ ยุ. ผุสติ ฯ ๓ โป … โสภณา ฯ ม. ยุ … โสภโน ฯ
อรรถกถา
อรรถกถานทุพภิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนทุพภิยสูตรที่ ๗ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ท้าวสักกะนี้ดำริว่า เราไม่ควรประทุษร้าย
แม้แก่ผู้เป็นข้าศึกต่อเรา. คิดต่อไปว่า ชื่อว่า ผู้ที่เป็นข้าศึกต่อท้าวเวปจิตตินั้น
นอกจากเราไม่มี เราจักทดลองดูท้าวเวปจิตตินั้นก่อน เขาเห็นเราแล้วจะ
ประทุษร้าย หรือไม่ประทุษร้าย จึงเข้าไปหา. บทว่า ติฏฺฐ เวปจิตฺติ
คหิโตสิ ความว่า ท้าวสักกะตรัสร่า ดูก่อนท้าวเวปจิตติ ท่านจงหยุด ณ
ที่นี้เถิด ท่านถูกเราจับแล้ว. พร้อมกับดำรัสของท้าวสักกะนั้น ท้าวเวปจิตติ
ก็ถูกผูกมัด โดยผูกมัดมีคอเป็นที่ ๕. บทว่า สปสฺสุ จ เม ความว่า
ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้ายในเรา.
บทว่า ยํ มุสา ภณโต ปาปํ ความว่า ท่านกล่าวหมายถึงบาปของพระเจ้า
เจติยราชในปฐมกัปในกัปนี้. บทว่า อริยูปวาทิโน ได้แก่ บาปดุจบาปของ
ภิกษุโกกาลิกะ. บทว่า มิตฺตทฺทุโน จ ยํ ปาปํ ได้แก่บาปของผู้มีจิต
ประทุษร้ายในพระมหาสัตว์ ในมหากปิชาดก. บทว่า อกตญฺญุโน ได้แก่
บาปของคนอกตัญญู เช่นเทวทัต. นัยว่า ในกัปนี้ มี ๔ มหากัป.
จบอรรถกถานทุพภิยสูตรที่ ๗.