15-239 สามเณรสานุ



พระไตรปิฎก


๕. สานุสูตร
ว่าด้วยสามเณรสานุ
[๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
สมัยนั้น บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง
[๘๑๕] ครั้งนั้น อุบาสิกานั้นได้คร่ำครวญกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ฉันได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
บัดนี้ ฉันเห็นแล้ว ในวันนี้ยักษ์เข้าสิงสามเณรสานุ
[๘๑๖] ยักษ์กล่าวว่า
ท่านได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า
‘ชนเหล่าใดเข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบ
ด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕
และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ประพฤติพรหมจรรย์อยู่
ยักษ์ทั้งหลายย่อมเข้าสิงชนเหล่านั้นไม่ได้’ เป็นการถูกต้องแล้ว
ท่านจงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้วว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า
ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ
ถ้าท่านจักกระทำหรือกำลังกระทำกรรมอันลามก
ถึงท่านจะเหาะหนีไปก็ไม่พ้นจากความทุกข์
[๘๑๗] สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า
โยมแม่ ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
ท่านยังเห็นฉันซึ่งมีชีวิตอยู่แท้ ๆ
เพราะเหตุไรจึงร้องไห้ถึงฉันเล่า
[๘๑๘] อุบาสิกากล่าวว่า
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลาย
ย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว
หรือยังมีชีวิตอยู่แต่ไม่ปรากฏ
แต่คนใดละกามแล้วยังคิดจะกลับมาในกามนี้อีก
ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนนั้น
เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากการครองเรือนที่รุ่มร้อนแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่การครองเรือนอีก
พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว
ท่านยังปรารถนาจะตกลงไปสู่เหวอีกหรือ
เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า
ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน
ดุจสิ่งของที่ขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้
แต่ท่านปรารถนาจะเผามันอีก
สานุสูตรที่ ๔ จบ

บาลี



สานุสุตฺต
[๘๑๔] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน อฺตริสฺสา
อุปาสิกาย สานุ นาม ปุตฺโต ยกฺเขน คหิโต โหติ ฯ
[๘๑๕] อถ โข สา อุปาสิกา ปริเทวมานา ตาย เวลาย
อิมา คาถาโย อภาสิ
จาตุทฺทสึ ปฺจทสึ ยา จ ปกฺขสฺส อฏฺมี
ปาริหาริกปกฺขฺจ อฏฺงฺคสุสมาคต
อุโปสถ อุปวสนฺติ พฺรหฺมจริย จรนฺติ เย
น เตหิ ยกฺขา กีฬนฺติ อิติ เม อรหต สุต
สาทานิ อชฺช ปสฺสามิ ยกฺขา กีฬนฺติ สานุนาติ ฯ
[๘๑๖] จาตุทฺทสึ ปฺจทสึ ยา จ ปกฺขสฺส อฏฺมี
ปาริหาริกปกฺขฺจ อฏฺงฺคสุสมาคต
อุโปสถ อุปวสนฺติ พฺรหฺมจริย จรนฺติ เย
น เตหิ ยกฺขา กีฬนฺติ สาหุ ๑ เต อรหต สุต
สานน ปพุทฺธ วชฺชาสิ ยกฺขาน วจน อิท
มากาสิ ปาปก กมฺม อาวิ วา ยทิ วา รโห
สเจว ๒ ปาปก กมฺม กริสฺสสิ กโรสิ วา
น เต ทุกฺขา ปมุตฺยตฺถิ อุปฺปจฺจาปิ ปลายโตติ ฯ
[๘๑๗] มต วา อมฺม โรทนฺติ โย วา ชีว น ทิสฺสติ
ชีวนฺต อมฺม ปสฺสนฺตี กสฺมา ม อมฺม โรทสีติ ฯ
[๘๑๘] มต วา ปุตฺต โรทนฺติ โย วา ชีว น ทิสฺสติ
โย จ กาเม จชิตฺวาน ๓ ปุนราคจฺฉเต ๔ อิธ
ต วาปิ ปุตฺต โรทนฺติ ปุน ชีว มโต หิ โส
กุกฺกุลา อุพฺภโต ตาต กุกฺกุล ปติตุมิจฺฉสิ
นรกา อุภโต ตาต นรก ปติตุมิจฺฉสิ
อภิธาวถ ภทฺทนฺเต กสฺส อุชฺฌาปยามเส
อาทิตฺตา นิพฺภต ภณฺฑ ปุน ฑยฺหิตุมิจฺฉสีติ ฯ

******************

๑ ยุ. อิติ เม ฯ ๒ ม. ยุ. สเจ จ ฯ
๓ ยุ. วชิตฺวาน ฯ ๔ โป. ปุนราวตฺตเต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสานุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสานุสูตรที่ ๕ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ยกฺเขน คหิโต โหติ ความว่า เล่ากันว่า บุตรนั้นเป็นบุตร
คนเดียวของอุบาสิกานั้น. ครั้งนั้น นางให้บุตรนั้นบรรพชาในเวลาเป็นหนุ่ม
แล. สานุสามเณรนั้น ตั้งแต่เวลาบรรพชาแล้ว มีศีลถึงพร้อมด้วยวัตร. สามเณร
ได้ทำวัตรแก่อาจารย์ อุปัชฌายะและพระอาคันตุกะเป็นต้น เดือนละแปดวัน
ลุกแต่เช้าเข้าไปตั้งน้ำไว้ ในโรงน้ำ กวาดโรงฟังธรรม ตามประทีป ประกาศ
ฟังธรรมด้วยเสียงไพเราะ. พวกภิกษุทราบกำลังของสามเณรนั้น จึงเชื้อเชิญ
ว่า พ่อเณร จงกล่าวบทสรภัญญะเถิด. สามเณรนั้น ไม่นำอะไรมาอ้างว่า ลม
เสียดแทงหัวใจของผม หรือโรคไอรบกวน ขึ้นธรรมาสน์ กล่าวบทสรภัญญะ
เหมือนยังแม่น้ำคงคาในอากาศให้ตกลงอยู่ฉะนั้น ลงมากล่าวว่า ขอส่วนบุญใน
สรภัญญะนี้ จงมีแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้าเถิด. ส่วนมารดาบิดาของสามเณร
นั้นไม่รู้ว่าส่วนบุญสามเณรนั้นให้แล้ว. ก็มารดาของสามเณรในอัตภาพก่อน
นั้นเกิดเป็นนางยักษิณี นางมากับพวกเทวดาฟังธรรมแล้ว จึงกล่าวว่า
ลูก ข้าพเจ้าขออนุโมทนาส่วนบุญอันสามเณรให้แล้ว. ก็ธรรมดาพวกภิกษุผู้ถึง
พร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นที่รักของโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยประการฉะนี้. เหล่า
เทวดามีความละอาย มีความเคารพในสามเณรนั้น ย่อมสำคัญสามเณรนั้น
เหมือนท้าวมหาพรหม และเหมือนกองไฟ ยกนางยักษิณีนั้นขึ้นเป็นที่เคารพ
ดูแล ด้วยความเคารพในสามเณร ได้ให้อาสนะ น้ำ ก้อนข้าวอันล้ำเลิศแก่
นางยักษิณีด้วยสำคัญว่า มารดาของสานุ ดังนี้ ในสถานที่ฟังธรรมและยักข-
สมาคม เป็นต้น พวกยักษ์ ผู้มีศักดิ์ใหญ่ พบนางยักษิณีนั้นหลีกทางให้ลุก
จากอาสนะ.
ครั้งนั้น สามเณรนั้น ถึงความเจริญ มีอินทรีย์แก่กล้า ถูกความไม่
ยินดีบีบคั้น เมื่อไม่อาจจะบรรเทาความไม่ยินดีได้ จึงปล่อยให้ผมและเล็บยาว
รกรุงรัง ทั้งสบงและจีวรสกปรกเหลือเกิน ไม่บอกแก่ใคร ถือบาตรและจีวร
ไปยังประตูเรือนของมารดาแต่ผู้เดียวเท่านั้น. อุบาสิกาเห็นสามเณรไหว้แล้ว
ได้กล่าวว่า ลูก เมื่อก่อน เจ้ามาในที่นี้กับอาจารย์อุปัชฌายะ หรือภิกษุหนุ่ม
และสามเณร เพราะเหตุไร ในวันนี้ เจ้ามาแล้ว แต่ผู้เดียวเล่า. สามเณรนั้น
บอกความเป็นผู้กระสัน. อุบาสิกาเป็นคนมีศรัทธา แสดงโทษในการอยู่ครอง
เรือนโดยประการต่าง ๆ กล่าวสอนสามเณร เมื่อไม่อาจจะให้สามเณรนั้นยินยอม
ได้ คิดว่า กระไรเสีย สามเณรจักกำหนด แม้ตามธรรมดาของตนได้ จึง
ชักชวนกล่าวว่า ลูก เจ้าจงหยุดอยู่จนกว่าแม่จะให้จัดข้าวยาคูและภัตพร้อมแก่
เจ้า แม่จักถวายผ้าที่พอใจแก่เจ้าผู้ดื่มข้าวยาคูทำภัตกิจเสร็จแล้วดังนี้ แล้ว
จึงจัดอาสนะถวาย. สามเณรนั่งแล้ว. อุบาสิกาให้จัดข้าวยาคูและของขบเคี้ยว
ถวายเสร็จแล้วโดยครู่เดียวเท่านั้น. ต่อมา นางคิดว่า จักให้จัดภัตให้พร้อม
นั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกล. สมัยนั้น นางยักษิณีนั้น รำพึงอยู่ว่า สามเณรได้
อาหารอะไร ในที่ไหนหนอแล หรือไม่ได้ รู้ว่า สามเณรนั้นนั่งแล้วเพราะ
จะสึก คิดว่า สามเณรอย่าพึงให้ความละอายเกิดขึ้นระหว่างเทวดาของเรา เรา
จะไปทำอันตราย ในการสึกของสามเณรนั้น มาแล้วสิ่งที่ร่างบิดคอให้ล้มลงที่
พื้น. สามเณรนั้น มีนัยตาเหลือก น้ำลายไหล ดิ้นอยู่ที่พื้น. เพราะเหตุนั้น
ท่าน จึงกล่าวว่า บุตรชื่อว่าสานุของอุบาสิกาถูกยักษ์สิงแล้ว.
บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า อุบาสิกา เห็นอาการแปลกนั้น ของบุตร
มาแล้วโดยเร็ว กอดบุตรให้นอนบนขา. ชาวบ้านทั้งสิ้นมาทำพิธีมีพลีกรรมเป็น
ต้น. อุบาสิกา เมื่อคร่ำคราญ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้. บทว่า ปาริหาริกปกฺ-
ขญฺจ ความว่า พวกมนุษย์คิดว่า เราจักทำการรับและการส่งอุโบสถดิถีที่ ๘
จึงสมาทานองค์อุโบสถในดิถีที่ ๗ บ้าง ดิถีที่ ๙ บ้าง. เมื่อทำการรับและการ
ส่งดิถีที่ ๑๔ และ ๑๕ สมาทานในดิถีที่ ๑๓ บ้าง ในวันปาฏิบทบ้าง. มนุษย์
คิดว่า พวกเราจักทำการส่งการอยู่จำพรรษา เป็นผู้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์ กึ่ง
เดือนระหว่างปวารณาทั้งสอง. อุบาสิกา หมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ปาริหา-
ริกปกฺขญฺจ. บทว่า อฏฺฐงฺคสุสมาคตํ ความว่า ประกอบด้วย คือ
ประกอบดีแล้วด้วยองค์ ๘. บทว่า พฺรหฺมจริยํ แปลว่า ประพฤติประเสริฐ.
บทว่า น เตหิ ยกฺขา กีฬนฺติ ความว่า พวกยักษ์ ย่อมไม่สิงชนเหล่านั้น
เล่น. นางยักษิณี สิ่งที่ร่างของสามเณรแล้ว จึงกล่าว คาถาเหล่านี้ว่า จาตุทฺทสึ
ดังนี้อีก. บทว่า อาวิ วา ยทิ วา รโห ความว่า ในที่ต่อหน้า หรือในที่
ลับหลังใคร ๆ. บทว่า ปมุตฺยตฺถิ ตัดบทว่า ปมุตฺติ อตฺถิ แปลว่า ความ
พ้น มีอยู่.
บทว่า อุปฺปจฺจาปิ แปลว่า แม้เหาะไป. นางยักษิณีกล่าวว่า ถ้า
เจ้าจะเหาะหนีไป เหมือนนก แม้อย่างนั้นเจ้าก็พ้นไปไม่ได้. ก็แลครั้นกล่าว
อย่างนี้แล้ว จึงปล่อยสามเณร. สามเณรลืมตา. มารดา สยายผม ร้องไห้
สะอึกสะอื้น. สามเณรนั้นไม่รู้ว่า เราถูกอมนุษย์สิงแล้ว. ก็สามเณร แลดูอยู่
คิดว่า ในก่อน เรานั่งบนตั่งแล้ว มารดานั่งซาวข้าวอยู่ในที่ไม่ไกลเรา แต่เดี๋ยว
นี้ เรานั่งแล้วบนพื้น ส่วนมารดาของเรา ร้องให้สะอึกสะอื้นอยู่ แม้ชาว
บ้านทั้งสิ้นก็ประชุมกันแล้ว นั่นอะไรกันหนอแลดังนี้ ทั้งที่นอนนั่นแหละกล่าว
คาถาว่า มตํ วา อมฺม เป็นต้น.
บทว่า กาเม จชิตฺวาน ความว่า ละกามแม้สองอย่าง. บทว่า ปุน
อาคจฺฉเต ได้แก่ ย่อมมาด้วยอำนาจการสึก. บทว่า ปุน ชีวํ มโต หิ โส
ความว่า คนใดสึกแล้ว แม้จะเป็นอยู่ต่อไปอีก ก็เหมือนตายแล้ว เพราะฉะนั้น
ญาติและมิตรทั้งหลายย้อมร้องไห้ถึงบุคคลนั้น. บัดนี้ นางเมื่อแสดงโทษใน
การอยู่ครองเรือนแก่สามเณรนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กุกฺกุฬา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกฺกุฬา ความว่า ได้ยินว่า การอยู่ครองเรือนชื่อ
ว่า เถ้ารึง เพราะอรรถว่าร้อนระอุ. บทว่า กสฺส อุชฺฌาปยามเส ความว่า
มารดา กล่าวอย่างนี้ว่า ขอท่านจงช่วยกัน ขอความเจริญ จงมีแก่ท่านดังนี้
แล้วกล่าวอยู่ว่า เจ้าอยากสึกถูกยักษ์สิง เราจะยกโทษบอกอาการอันแปลกนี้
แก่ใครเล่า. บทว่า ปุน ฑยฺหิตุมิจฺฉติ ความว่า เจ้าออกจากเรือนบวช ใน
พระพุทธศาสนาแล้ว เหมือนสิ่งของที่เขาขนออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่
ท่านยังปรารถนาจะถูกเผาในการอยู่ครองเรือน เช่นถูกเผาใหญ่อีกหรือ. เมื่อ
มารดากล่าวอยู่ สามเณรนั้น กำหนดแล้ว กลับได้หิริและโอตตัปปะ จึงกล่าว
ว่า เราไม่ต้องการเป็นคฤหัสถ์. ครั้งนั้น มารดาของสามเณรนั้น ยินดีว่า ดี
ละลูกดังนี้ ถวายโภชนะอันประณีตให้ฉันแล้ว จึงถามว่า ลูก เจ้าอายุกี่ปี.
สามเณรตอบว่า แม่ ยี่สิบปีบริบูรณ์. อุบาสิกากล่าวว่า ลูก ถ้าเช่นนั้น ขอ
เจ้า จงทำการอุปสมบทเถิด ได้ถวายผ้าจีวรแล้ว. สามเณรนั้น ให้ทำจีวรแล้ว
อุปสมบท เรียนพระพุทธพจน์อยู่ ทรงพระไตรปิฎก ยังพระพุทธพจน์นั้นให้
บริบูรณ์ ในอาคตสถานแห่งศีลเป็นต้น ไม่นาน บรรลุความเป็นพระอรหันต์
เป็นพระธรรมกถึกผู้ใหญ่ ดำรงอยู่ได้ ๑๒๐ ปี ให้ชมพูทวีปทั้งสิ้นสั่นสู่เทือน
แล้วก็ปรินิพพาน.
จบ อรรถกถาสานุสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!