15-236 สักกยักษ์



พระไตรปิฎก


๒. สักกสูตร
ว่าด้วยสักกยักษ์
[๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาคิชกูฏ เขตกรุง
ราชคฤห์
[๘๐๕] ครั้งนั้น สักกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน
ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดได้หมดแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว A
[๘๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
สักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน
ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
คนมีปัญญาไม่ควรทำใจหวั่นไหวไปตามเหตุนั้น
ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น
บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้เกี่ยวข้องด้วยเหตุนั้น
นอกจากจะอนุเคราะห์เอ็นดู
สักกสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ผู้พ้นวิเศษแล้ว หมายถึงพ้นจากภพทั้ง ๓ (คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ) (สํ.ส.อ. ๑/๒๓๖/๒๘๖)

บาลี



สกฺกสุตฺต
[๘๐๔] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ คิชฺฌกูเฏ ปพฺพเต ฯ
[๘๐๕] อถ โข สกฺกนามโก ยกฺโข เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส เต สโต
สมณสฺส น ต สาธุ ยทฺมนุสาสตีติ ๑ ฯ
[๘๐๖] เยน เกนจิ วณฺเณน สวาโส สกฺก ชายติ
น ต อรหติ สปฺปฺโ มนสา อนุกมฺปิตุ
มนสา เจ ปสนฺเนน ยทฺมนุสาสติ
น เตน โหติ สยุตฺโต ยานุกมฺปา ๒ อนุทฺทยาติ ฯ

******************

๑ โป. ม. ยทฺมนุสาสสีติ ฯ ๒ ยุ. สานุกมฺปา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสักกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกนามโก คือ ยักษ์มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นี้เป็น
ฝ่ายมาร. บทว่า วิปฺปมุตฺตสฺส ได้แก่ พ้นจากภพ ๓. บทว่า ยทฺํ
ตัดบทว่า ยํ อญฺํ (อื่นใด). บท วณฺเณน คือเพราะเหตุ. บทว่า
สํวาโส คืออยู่ด้วยกัน. อธิบายว่า เป็นสหายธรรม มิตรธรรม. บทว่า
สปฺปญฺโ คือผู้มีปัญญา ผู้รอบรู้.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!