15-223 พระกัสสปโคตร



พระไตรปิฎก


๓. กัสสปโคตตสูตร
ว่าด้วยพระกัสสปโคตร
[๗๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระกัสสปโคตรอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้น ท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน ได้กล่าวสอนนายพรานเนื้อคนหนึ่ง
[๗๖๗] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดี
ต่อท่านพระกัสสปโคตรประสงค์จะให้ท่านสลดใจ จึงเข้าไปหา
แล้วได้กล่าวกับท่านพระกัสสปโคตรด้วยคาถาว่า
ภิกษุผู้กล่าวสอนนายพรานเนื้อ
ซึ่งเที่ยวไปตามซอกเขา ผู้มีปัญญาน้อย
ไม่รู้เหตุผล ในเวลาไม่ควร
ย่อมปรากฏแก่เราประดุจคนเขลา
เขาเป็นคนโง่ ถึงฟังธรรมอยู่ก็ไม่เข้าใจเนื้อความนั้น
ถึงมีประทีปสว่างอยู่ก็ไม่เห็น
เมื่อท่านกล่าวธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้เนื้อความ
ข้าแต่ท่านกัสสปะ ถึงแม้ท่านถือประทีปอันสว่างตั้ง ๑๐ ดวง
เขาก็จักไม่เห็นรูป เพราะเขาไม่มีจักษุ
ลำดับนั้น ท่านพระกัสสปโคตรถูกเทวดานั้นทำให้สลดใจ เกิดความสลดใจแล้ว
กัสสปโคตตสูตรที่ ๓ จบ

บาลี



กสฺสปโคตฺตสุตฺต
[๗๖๖] เอก สมย อายสฺมา กสฺสปโคตฺโต โกสเลสุ วิหรติ
อฺตรสฺมึ วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา
กสฺสปโคตฺโต ทิวาวิหารคโต อฺตร เฉต โอวทติ ฯ
[๗๖๗] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา
อายสฺมโต กสฺสปโคตฺตสฺส อนุกมฺปิกา อตฺถกามา อายสฺมนฺต
กสฺสปโคตฺต สเวเชตุกามา เยนายสฺมา กสฺสปโคตฺโต เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา อายสฺมนฺต กสฺสปโคตฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
คิริทุคฺคจร เฉต อปฺปปฺ อเจตส
อกาเล โอวท ภิกฺขุ มนฺโทว ปฏิภาติ ม
สุณาติ น วิชานาติ อาโลเกติ น ปสฺสติ
ธมฺมสฺมึ ภฺมานสฺมึ อตฺถ พาโล น พุชฺฌติ
สเจปิ ทส ปชฺโชเต ธารยิสฺสสิ กสฺสป
เนว ทกฺขติ รูปานิ จกฺขุ หิสฺส น วิชฺชตีติ ฯ
อถ โข อายสฺมา กสฺสปโคตฺโต ตาย เทวตาย สเวชิโต
สเวคมาปาทีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถากัสสปโคตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปโคตตสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-
บทว่า เฉตํ คือพรานล่าเนื้อคนหนึ่ง. บทว่า โอวทิ ความว่า ได้
ยินว่า พรานล่าเนื้อนั้นกินข้าวเช้าแล้วคิดว่า เราจักล่าเนื้อ จึงเข้าไปสู่ป่า
เห็นละมั่งตัวหนึ่ง คิดว่า เราจักประหารมันด้วยหอก ติดตามไป หลีกไปไม่
ไกลที่พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน โดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๑. ลำดับนั้น
พระเถระจึงกล่าวกะเขาว่า อุบาสก ขึ้นชื่อว่า ปาณาติบาตนี้ เป็นไปเพื่ออบาย
เป็นไปด้วยเหตุให้มีอายุสั้น เขาอาจจะทำการเลี้ยงเมียด้วยการงานอย่างอื่น มี
การกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นก็ได้ ท่านอย่าทำกรรมหยาบช้าอย่างนี้เลย.
แม้เขาก็คิดว่า พระเถระผู้ถือผ้ามหาบังสุกุลพูด จึงเริ่มยืนฟังด้วยความเคารพ.
ลำดับนั้น พระเถระนั้น คิดว่า เราจักยังความใคร่พึงให้เกิดแก่เขา จึงยัง
นิ้วหัวแม่มือให้ลุกโพลงขึ้น. เขาเห็นแม้ด้วยตา ได้ยินแม้ด้วยหู แต่จิตใจ
ของเขาแล่นไปตามรอยเท้าเนื้ออย่างนี้ว่า เนื้อจักไปสู่ที่โน้น ลงท่าโน้น
เราจักไปฆ่ามันในที่นั้น กินเนื้อตามต้องการแล้ว จักหาบเนื้อที่เหลือไปฝาก
ลูก ๆ. บทว่า โอวทติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระเถระผู้แสดงธรรมนั้น
แก่พรานผู้ฟู้งซ่านอย่างนี้. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า พระเถระนี้ ยังการ
งานทั้งของตน ทั้งของพรานนั้นให้พินาศ เหมือนอย่างคนถากของคนอื่นที่ไม่
ใช่ไม้ฟืน เหมือนอย่างคนหว่านข้าวในที่ไม่ใช่นา คิดว่า เราจักเตือนเขา จึงกล่าว.
บทว่า อปฺปปญฺํ แปลว่า ไม่มีปัญญา. บทว่า อเจตสํ ได้แก่ ปราศจาก
ความคิดที่สามารถรู้เหตุการณ์. บทว่า มนฺโทว แปลว่า เหมือนคนโง่เขลา.
บทว่า สุณาติ ได้แก่ ฟังธรรมกถาของท่าน. บทว่า น วิชานาติ ได้แก่
ไม่รู้เนื้อความแห่งธรรมนั้น. บทว่า อาโลเกติ ได้แก่ ยังนิ้วหัวแม่มือที่ลุก
โพลงอยู่ด้วยฤทธิ์ของปุถุชนของท่านให้สว่าง. บทว่า น ปสฺสติ ความว่า
ย่อมไม่เห็นเหตุการณ์นี้ว่า ในที่นี้ ไม่มีน้ำมัน ไม่มีไส้ ไม่มีตะเกียง แต่นิ้ว
หัวแม่มือนี้ลุกโพลงด้วยอานุภาพของพระเถระ. บทว่า ทส ปชฺโชเต คือ
ประทีป ๑๐ ดวง ในนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว. บทว่า รูปานิ ได้แก่ รูปที่เป็นเหตุ.
บทว่า จกขุํ คือ ปัญญาจักษุ. บทว่า สํเวคมาปาทิ ความว่า ท่านพระ-
กัสสปโคตรคิดว่า จะมีประโยชน์อะไรแก่เรา กับพรานนี้ จึงประคองความ
เพียรดำเนินตามอรหัตมรรคที่เป็นธรรมวิเวก.
จบอรรถกถากัสสปโคตตสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!