15-222 เทวดาเตือนภิกษุผู้เข้าพักผ่อนในที่พักกลางวัน



พระไตรปิฎก


๒. อุปัฏฐานสูตร
ว่าด้วยเทวดาเตือนภิกษุผู้เข้าพักผ่อนในที่พักกลางวัน
[๗๖๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล
สมัยนั้นภิกษุนั้นนอนหลับในที่พักกลางวัน
[๗๖๔] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้น มีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุ
นั้นประสงค์จะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วย
คาถาว่า
ท่านจงลุกขึ้นเถิดภิกษุ จะนอนทำไม
มีประโยชน์อะไรด้วยความหลับ
ท่านเร่าร้อนเพราะกิเลส ถูกลูกศรเสียบแทงดิ้นรนอยู่
มัวหลับอยู่ทำไม
ท่านออกบวชด้วยศรัทธาใด
จงเพิ่มพูนศรัทธานั้นเถิด
อย่าตกไปสู่อำนาจแห่งความหลับเลย
[๗๖๕] ภิกษุนั้นกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์เหล่าใด
กามารมณ์เหล่านั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้พ้นแล้ว
ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่งจะยังสัตว์ให้ติดอยู่ ได้อย่างไร
เพราะกำจัดฉันทราคะได้ และเพราะก้าวล่วงอวิชชาได้
ญาณนั้นจึงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต ได้อย่างไร
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิตผู้ไม่มีความเศร้าโศก
ไม่มีความคับแค้นใจ เพราะทำลายอวิชชาได้ด้วยวิชชา
และเพราะสิ้นอาสวะแล้ว ได้อย่างไร
ความหลับจะพึงแผดเผาบรรพชิต
ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่
มีความเพียรมั่นคงเป็นนิตย์ ผู้หวังนิพพานอยู่ ได้อย่างไร
อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ จบ

บาลี



อุปฏฺานสุตฺต
[๗๖๓] เอก สมย อฺตโร ภิกฺขุ โกสเลสุ วิหรติ อฺตรสฺมึ
วนสณฺเฑ ฯ เตน โข ปน สมเยน โส ภิกฺขุ ทิวาวิหารคโต
สุปติ ฯ
[๗๖๔] อถ โข ยา ตสฺมึ วนสณฺเฑ อธิวตฺถา เทวตา ตสฺส
ภิกฺขุโน อนุกมฺปิกา อตฺถกามา ต ภิกฺขุ สเวเชตุกามา เยน โส
ภิกฺขุ เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ต ภิกฺขุ คาถาหิ อชฺฌภาสิ
อุฏฺเหิ ภิกฺขุ กึ โสปิ ๑ โก อตฺโถ สุปิเตน เต
อาตุรสฺส หิ เต ๒ นิทฺทา สลฺลวิทฺธสฺส รุปฺปโต
ยาย สทฺธาปพฺพชิโต ๓ อคารสฺมานคาริย
ตเมว สทฺธ พฺรูเหหิ มา นิทฺทาย วส คมีติ ฯ
[๗๖๕] อนิจฺจา อทฺธุวา กามา เยสุ มนฺโทว มุจฺฉิโต
พทฺเธสุ มุตฺต อสิต กสฺมา ปพฺพชิต ตเป
ฉนฺทราคสฺส วินยา อวิชฺชาสมติกฺกมา
ต าณ ปรโมทาต ๔ กสฺมา ปพฺพชิต ตเป
เภตฺวา ๕ อวิชฺช วิชฺชาย อาสวาน ปริกฺขยา
อโสก อนุปายาส กสฺมา ปพฺพชิต ตเป
อารทฺธวิริย ปหิตตฺต นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกม
นิพฺพาน อภิกงฺขนฺต กสฺมา ปพฺพชิต ตเปติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. เสสิ ฯ ๒ ม. ยุ. กา ฯ ๓ ม. ยุ. สทฺธาย ปพฺพชิโต ฯ
๔ ม. ปริโมทาน ฯ ยุ. ปริโยทาต ฯ
๕ ม. เฉตฺวา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอุปัฏฐานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุปัฏฐานสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปติ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนี้เป็นพระขีณาสพท่านไปสู่
หมู่บ้านที่ภิกษาจารในที่ไกล กลับมาแล้ว เก็บบาตรและจีวรไว้ในบรรณศาลา
ลงสระที่เกิดเองในที่ไม่ไกล พอให้ตัวแห้งแล้ว กวาดที่พักกลางวัน ตั้งเตียง
ต่ำไว้ในที่นั้นแล้วหลับ. จริงอยู่ แม้พระขีณาสพก็มีความกระวนกระวายทางกาย
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำที่ใช่อยู่ในปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความ
กระวนกระวายทางกายนั้นว่า หลับ. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า เทวดาเข้า
ใจว่า ภิกษุนี้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วหลับกลางวัน ก็แล
ชื่อว่า การหลับกลางวันนั้นเจริญขึ้น แม้จะยังประโยชน์ที่เป็นไปในปัจจุบัน.
และที่เป็นไปในชาติหน้านั้นให้ฉิบหาย คิดว่า เราจักเตือนท่าน จึงได้กล่าว.
บทว่า อาตุรสฺส ความว่า ความเดือนร้อนมี ๓ อย่าง คือ เดือดร้อน
ด้วยความแก่ เดือดร้อนด้วยความเจ็บป่วย เดือนร้อนด้วยกิเลส ท่านกล่าวหมาย
ถึงความเดือดร้อนด้วยกิเลสในความเดือนร้อน ๓ นั้น. บทว่า สลฺลวิทฺธสฺส
ความว่า แทงที่หัวใจด้วยลูกศรคือตัณหาที่ถูกซัดไปด้วยอวิชชา เหมือนถูกแทง
ด้วยลูกศรคือหอกที่อาบด้วยยาพิษ. บทว่า รุปฺปโต แปลว่า ถูกเสียดสี. บัดนี้
เมื่อเทวดาจะกล่าวถึงโทษในกามของภิกษุนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า “ไม่เที่ยง”.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อสิตํ คือ ไม่อาศัยด้วยตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย.
บทว่า กสฺมา ปพฺพชิตํ ตเป ความว่า ท่านย่อมกล่าวว่า การหลับกลางวัน
ย่อมไม่เผาพระขีณาสพเห็นปานนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาพระขีณะสพเช่น
นั้น. ก็เพราะนี่เป็นคำของพระเถระ. นี้เป็นเนื้อความในข้อนี้ว่า. เมื่อถูกผูกแล้ว
การหลับกลางวัน จะพึงทำบรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นเรา ผู้หลุดแล้ว หมดกิเลส
จะพึงร้อน ก็ไม่ร้อนเพราะเหตุไร. แม้ในคาถาที่เหลือก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
จริงอยู่ ในฝ่ายถ้อยคำของเทวดามีอรรถว่า ความหลับกลางวัน ย่อมไม่เผา
บรรพชิตผู้ไม่มีอาสวะเช่นนี้ ก็แลเพราะเหตุไร จักไม่เผาบรรพชิตเช่นนั้น.
ในฝ่ายถ้อยคำของพระเถระมีอรรถว่า การหลับกลางวัน จะพึงเผาบรรพชิตผู้
ไม่มีอาสวะเช่นเราเห็นปานนี้ ก็ชื่อว่า ไม่เดือดร้อน เพราะเหตุไร. แต่นี้เป็น
การพรรณนาบทที่ลึกซึ้งในข้อนี้.
บทว่า วินยา แปลว่า เพราะกำจัด. บทว่า สมติกฺกมา แปลว่า
เพราะก้าวล่วงอวิชชาที่เป็นรากเง่าของวัฏฏะ. บทว่า ตํ าณํ ได้แก่ รู้สัจจะ
๔ นั้น. บทว่า ปรโมทาตํ ได้แก่ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง. บทว่า ปพฺพชิตํ
คือ บรรพชิตผู้ประกอบด้วยความรู้เห็นปานนี้. บทว่า วิชฺชาย คือ วิชชา
ในมรรคที่ ๔. บทว่า อารทฺธวิริยํ คือ ประคองความเพียรไว้แล้ว มีความ
เพียรบริบูรณ์แล้ว.
จบอรรถกถาอุปัฏฐานสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!