15-218 พระโมคคัลลานะ
พระไตรปิฎก
๑๐. โมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระโมคคัลลานะ
[๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขา
อิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่
เป็นพระอรหันต์ ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของท่านตามพิจารณาจิต
ของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ
[๗๕๕] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคนี้ประทับอยู่
ณ วิหารกาฬศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะใช้จิตของ
ท่านตามพิจารณาจิตของภิกษุเหล่านั้นที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญ
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของ
พระผู้มีพระภาคเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือ
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ
ผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อม
ปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
[๗๕๖] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคว่า
พระสาวกทั้งหลายผู้บรรลุวิชชา ๓ ละมัจจุได้
พากันแวดล้อมพระมหามุนีผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ประทับนั่งที่ข้างภูเขา
ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก
ใช้จิตพิจารณากำหนดรู้จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น
ที่หลุดพ้น ไม่มีอุปธิได้
พระขีณาสพเหล่านั้นพากันแวดล้อมพระมหามุนีโคดม
ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสมบัติทุกประการ
ทรงถึงฝั่งแห่งทุกข์ เพียบพร้อมด้วยพระคุณมากอย่าง A
โมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๕๘-๑๒๖๐/๕๔๔
บาลี
โมคฺคลฺลานสุตฺต
[๗๕๔] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ อิสิคิลิปสฺเส
กาฬสิลาย มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ
สพฺเพเหว อรหนฺเตหิ ฯ เตส สุท อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน
เจตสา จิตฺต สมนฺเนสติ วิปฺปมุตฺต นิรูปธึ ฯ
[๗๕๕] อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ อย โข
ภควา ราชคเห วิหรติ อิสิคิลิปสฺเส กาฬสิลาย มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน
สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ สพฺเพเหว อรหนฺเตหิ เตส สุท
อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน เจตสา จิตฺต สมนฺเนสติ วิปฺปมุตฺต
นิรูปธึ ยนฺนูนาห อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน ภควโต สมฺมุขา
สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถเวยฺยนฺติ ฯ อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส
อุฏฺายาสนา เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยน ภควา เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา
ภควนฺต เอตทโวจ ปฏิภาติ ม ภควา ปฏิภาติ
ม สุคตาติ ฯ ปฏิภาตุ ต วงฺคีสาติ ภควา อโวจ ฯ
[๗๕๖] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน
ภควโต สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถวิ
นคสฺส ปสฺเส อาสีน มุนึ ทุกฺขสฺส ปารคุ
สาวกา ปยิรุปาสนฺติ เตวิชฺชา มจฺจุหายิโน
เต เจตสา อนุปริเยสติ ๑ โมคฺคลฺลาโน มหิทฺธิโก
จิตฺต เนส สมนฺเนส วิปฺปมุตฺต นิรูปธึ
เอว สพฺพงฺคสมฺปนฺน มุนึ ทุกฺขสฺส ปารคุ
อเนกาการสมฺปนฺน ปยิรุปาสนฺติ โคตมนฺติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. อนุปริเยติ ฯ
อรรถกถา
อรรรถกถาโมคคัลลานสูตร
ในโมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมนฺเวสติ ได้แก่แสวงหา คือพิจารณา. บทว่า นคสฺส
ได้แก่ ภูเขา. บทว่า มุนึ ได้แก่พุทธมุนี. บทว่า ทุกฺขสฺส ปารคุํ ได้แก่
ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์. บทว่า สมนฺเวสํ ได้แก่พิจารณาอยู่. บทว่า เอวํ
สพฺพงฺคสมฺปนฺนํ ได้แก่สมบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า
อเนการสมฺปนฺนํ ได้แก่ ประกอบด้วยคุณมากมาย.
จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๑๐