15-217 พระอัญญาโกณฑัญญะ



พระไตรปิฎก


๙. โกณฑัญญสูตร
ว่าด้วยพระอัญญาโกณฑัญญะ
[๗๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ซึ่งท่านไม่ได้เข้าเฝ้านานแล้ว ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาท
ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว
นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศชื่อว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่า
โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ พระพุทธเจ้าข้า”
[๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้
นาน ๆ จึงจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้หมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มี
พระภาคด้วยเศียรเกล้า จุมพิตพระยุคลบาทแล้ว นวดเฟ้นด้วยมือทั้งสองและประกาศ
ชื่อว่า ‘ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต
ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ’ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ
ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเถิด”
ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาค
ประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้
ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่เธอเถิด วังคีสะ”
[๗๕๓] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ด้วยคาถา
ทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
ได้มีความบากบั่นอย่างแรงกล้า
ได้วิเวกซึ่งเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขเป็นประจำ
เป็นผู้ไม่ประมาท ศึกษาอยู่ ได้บรรลุสิ่งที่พระสาวก
ผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาจะพึงบรรลุได้ทุกรูป
ท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระมีอานุภาพมาก
ได้บรรลุวิชชา ๓ ฉลาดในเจโตปริยญาณ
เป็นพุทธทายาท ถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระศาสดาอยู่ A
โกณฑัญญสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๕๕-๑๒๕๗/๕๔๔

บาลี



โกณฺฑฺสุตฺต
[๗๕๑] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน
กลนฺทกนิวาเป ฯ อถ โข อายสฺมา อฺาโกณฺฑฺโ ๑ สุจิรสฺเสว
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควโต ปาเทสุ สิรสา
นิปติตฺวา ภควโต ปาทานิ มุเขน จ ปริจุมฺพติ ปาณีหิ จ
ปริสมฺพาหติ นามฺจ สาเวติ โกณฺฑฺโห ภควา โกณฺฑฺโห
สุคตาติ ฯ
[๗๕๒] อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ อย โข
อายสฺมา อฺาโกณฺฑฺโ สุจิรสฺเสว เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควโต ปาเทสุ สิรสา นิปติตฺวา ภควโต ปาทานิ
มุเขน จ ปริจุมฺพติ ปาณีหิ จ ปริสมฺพาหติ นามฺจ สาเวติ
โกณฺฑฺโห ภควา โกณฺฑฺโห สุคตาติ ยนฺนูนาห อายสฺมนฺต
อฺาโกณฺฑฺ ภควโต สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถเวยฺยนฺติ ฯ
อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อุฏฺายาสนา เอกส อุตฺตราสงฺค
กริตฺวา เยน ภควา เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา ภควนฺต
เอตทโวจ ปฏิภาติ ม ภควา ปฏิภาติ ม สุคตาติ ฯ ปฏิภาตุ
ต วงฺคีสาติ ภควา อโวจ ฯ
[๗๕๓] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อายสฺมนฺต อฺาโกณฺฑฺ
ภควโต สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถวิ
พุทฺธานุพุทฺโธ โส เถโร โกณฺฑฺโ ติพฺพนิกฺกโม
ลาภี สุขวิหาราน วิเวกาน อภิณฺหโส
ย สาวเกน ปตฺตพฺพ สตฺถุสาสนการินา
สพฺพสฺส ต อนุปฺปตฺต อปฺปมตฺตสฺส สิกฺขโต
มหานุภาโว เตวิชฺโช เจโตปริยายโกวิโท
โกณฺฑฺโ พุทฺธทายาโท ๒ ปาเท วนฺทติ สตฺถุโนติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. อฺาสิโกณฺฑฺโ ฯ ๒ ยุ. พุทฺธสาวโก ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาโกณฑัญญสูตร
ในโกณฑัญญสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อญฺาโกณฺฑญฺโ ได้แก่ พระเถระที่ได้ชื่ออย่างนั้น
เพราะรู้ทั่วถึงธรรมก่อนเขา. บทว่า สุจิรสฺเสว ได้แก่ ต่อกาลนานเท่าไร.
ตลอดกาลประมาณ ๑๒ ปีนี้. ถามว่าอยู่ในที่ไหน. ตอบว่าอยู่ในสถานที่อยู่แห่ง
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ใกล้สระมันทากินีโปกขรณี ในถิ่นข้างตระกูล
ฉัททันตะ เพราะเหตุไร. เพราะเคารพในวิหาร. ก็ท่านเป็นพระมหาสาวก
ผู้มีบุญ พระคุณของท่านแผ่ไปในภายในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในหมื่น
จักรวาลเหมือนพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ไปยังสำนักของพระตถาคต กระทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น
คิดว่า ท่านเป็นพระสาวกผู้แทงตลอดธรรมเลิศ แล้วเข้าไปบูชาพระเถระถัดไป
จริงอยู่ ธรรมดาว่าผู้ที่มาสู่สำนักเป็นอันท่านต้องทำธรรมกถา หรือปฏิสันถาร
เห็นปานนี้. ก็พระเถระเป็นผู้หนักในวิหาร ด้วยเหตุนั้น ธรรมนั้นของท่าน
จึงปรากฏเป็นประหนึ่งเนิ่นช้า. เพราะท่านเป็นผู้เคารพในวิหารดังว่ามานี้
ท่านจึงไปอยู่ในที่นั้น.
อีกเหตุหนึ่ง ก่อนอื่นในเวลาภิกขาจาร พระสาวกทั้งปวง ย่อมไปตาม
ลำดับพรรษา. ก็ในเวลาแสดงธรรม เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนพุทธอาสน์
ที่เขาตกแต่งไว้ตรงกลาง พระธรรมเสนาบดีนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวา
พระโมคคัลลานะนั่ง ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้าย. ส่วนเบื้องหลังแห่งพระสาวก
ทั้ง ๒ นั้น เขาปูอาสนะไว้สำหรับพระอัญญาโกณฑัญญะ. เหล่าภิกษุที่เหลือ
นั่งแวดล้อมท่าน. พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีความเคารพในพระเถระ เพราะท่าน
แทงตลอดธรรมอันเลิศ และเป็นพระเถระผู้เฒ่า. ภิกษุทั้งหลายสำคัญพระเถระ
เหมือนท้าวมหาพรหม เหมือนกองไฟ และเหมือนอสรพิษ นั่งอาสนะในที่
ใกล้ ก็ละอาย เกรงใจ. พระเถระคิดว่า ก็ภิกษุเหล่านั้นบำเพ็ญบารมีสนอสงไขย
แสนกัป เพื่อต้องการอาสนะใกล้ บัดนี้นั่งในอาสนะใกล้ จึงยำเกรง ละอายใจ
ต่อเรา เราจะให้ภิกษุเหล่านั้นอยู่โดยความสำราญ. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะอยู่
ในชนบท. พระศาสดาทรงอนุญาตแล้ว.
พระเถระเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรไปยังริมสระมันทากินีโปกขรณี
ถิ่นช้างตระกูลฉัททันตะ. เมื่อกาลก่อนโขลงช้างตระกูลประเสริฐประมาณ ๘,๐๐๐
เคยชำนาญการปรนนิบัติพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย พอเห็นพระเถระคิดว่า
บุญเขตของพวกเรามาถึงแล้ว จึงเอาเล็บเขี่ยที่จงกรม เอาหญ้าออก นำกิ่งไม้
เครื่องกีดขวางออก จัดแจงที่อยู่ของพระเถระ ทำวัตรทั้งหมด ประชุมปรึกษากัน
ตั้งเวรกันไว้ว่า ก็ถ้าเราจะเสียสละว่า ผู้นี้จักกระทำกิจที่ควรทำแก่พระเถระไซร้
พระเถระทั้งที่มีบาตรเปล่า จักไปเหมือนไปบ้านญาติโยมเป็นอันมาก โดยวาระ
ใด ๆ เราก็จักปรนนิบัติโดยวาระนั้น ๆ แต่เมื่อเวรของช้างหนึ่งมาถึงเข้า แม้
พวกนอกนั้นก็ไม่ควรละเลย.
ช้างตัวที่อยู่เวร ตั้งน้ำบ้วนปากและไม้สีฟันทำวัตรพระเถระแต่เช้าตรู่
ก็สระโปกขรณีชื่อมันทากินีนี้กว้าง ๕๐ โยชน์. สระนั้นไม่มีสาหร่าย
หรือจอกแหนในที่ประมาณ ๒๕ โยชน์. น้ำนั้นแล ย่อมใสเหมือนสีแก้วผลึก.
ต่อแต่นั้นมีดงปทุมขาวแผ่ขยายไปกึ่งโยชน์ในน้ำแค่ยืน ตั้งล้อมสระ ๕๐ โยชน์
ถัดจากนั้น อันดับแรกมีดงปทุมแดงขนาดใหญ่ ถัดจากนั้นดงกุมุทแดง ถัดจาก
นั้นดงกุมุทขาว ถัดจากนั้นคงอุบลเขียว ถัดจากนั้นคงอุบลแดง ถัดจากนั้นดง
ข้าวสาลีแดงมีกลิ่นหอม ถัดจากนั้นผลเกิดแต่ต้นไม้เถามีรสอร่อยมีฟักทอง น้ำ
เต้าและฟักเขียวเป็นต้น ถัดจากนั้นดงอ้อยแผ่ขยายไปกึ่งโยชน์ ในดงอ้อยนั้นมี
อ้อยแต่ละต้นขนาดเท่าต้นหมาก ถัดจากนั้นดงกล้วย ซึ่งมีตนกินผลสุกถึง ๒
ผลย่อมลำบาก. ถัดจากนั้นดงขนุนมีผลขนาดตุ่ม ถัดจากนั้นดงมะม่วง ป่าชมพู่
ดงมะขวิด. โดยย่อ ในสระนั้น ขึ้นชื่อว่าผลไม้ที่กินได้ ไม่พึงกล่าวว่าไม่มี. ใน
เวลาดอกไม้บาน ลมหอบละอองเกษรเป็นเกลียวไปไว้บนใบกอปทุม. ในใบ-
กอปทุมนั้นหยาดน้ำตกเป็นหยด ๆ สุกด้วยอาทิตย์เผาย่อมเป็นเหมือนน้ำตาล
เคี่ยว. นี่ชื่อว่าโปกขรมธุน้ำหวานบนใบบัว. ช้างทั้งหลายนำโปกขรมธุนั้นมา
ถวายพระเถระ. รากบัวขนาดเท่าหัวไถ แม้รากบัวนั้น ช้างทั้งหลายก็นำมา
ถวาย. เหง้าบัวมีขนาดเท่ากลองและใบบัวใหญ่. เหง้าบัวนั้นแต่ละข้อมีน้ำนม
ประมาณหม้อหนึ่ง เหง้าบัวนั้นช้างทั้งหลายก็นำมาถวาย ช้างทั้งหลายปรุงเมล็ด
บัวกับน้ำตาลกรวดถวาย. เอาอ้อยวางบนแผ่นหินแล้วใช้เท้าเหยียบน้ำหวานไหล
ออกขังเต็มแอ่งและบ่อ. สุกด้วยอาทิตย์เผากลาย. เป็นนมก้อนดั่งก้อนหิน นมก้อน
นั้นช้างทั้งหลายก็นำมาถวาย. ในขนุนกล้วยมะม่วงสุกเป็นต้น ไม่จำต้องกล่าวถึง
เทพบุตรชื่อนาคทันตะ อยู่ ณ เขาไกรลาส. พระเถระไปที่ประตูวิมานของ
เทพบุตรนั้น บางครั้งบางคราว เทพบุตรนั้นเอาข้าวปายาสไม่มีน้ำที่ปรุงด้วยเนยใส
ใหม่และผงน้ำหวานบนใบบัวบรรจุเต็มบาตรถวาย. ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้ถวายสลากน้ำนมพร้อมด้วยเนยใสหอมระรื่น
ตลอด ๒ หมื่นปี. ด้วยเหตุนั้น โภชนะจึงเกิดขึ้นแก่ท่านด้วยอาการอย่างนี้.
พระเถระอยู่อย่างนี้ตลอด ๑๒ ปี ตรวจดูอายุสังขารของตน รู้ว่าสิ้นแล้ว คิดว่า
เราจักปรินิพพานที่ไหน เหาะไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า ช้างทั้ง
หลายบำรุงเราถึง ๑๒ ปี กระทำกิจที่ทำได้ยาก เราจักขออนุญาตพระศาสดา
ปรินิพานในที่ใกล้ ๆ ช้างเหล่านั้นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
สุจิรสฺเสว เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ดังนี้.
บทว่า นามญฺจ ความว่า พระเถระประกาศชื่อเพราะเหตุไร. เพราะ
คนบางพวกจำพระเถระได้ บางพวกจ่าไม่ได้. บรรดาคนเหล่านั้น พระเถระ
คิดว่าคนเหล่าใดไม่รู้จักเรา จักคิดร้ายว่า พระแก่ศีรษะขาวโพลนหลังโกงซี่โครง
คดรูปนี้ทำปฏิสันถารกับพระศาสดา คนเหล่านั้นจักเต็มในอบาย แต่คนเหล่าใด
รู้จักเรา จักเลื่อมใสว่า เป็นมหาสาวกปรากฏในหมื่นจักรวาลเหมือนพระศาสดา
คนเหล่านั้นจักเข้าถึงสวรรค์ ดังนี้ เมื่อจะปิดทางอบาย เปิดทางสวรรค์สำหรับ
สัตว์เหล่านั้น จึงประกาศชื่อ.
บทว่า พุทฺธานุพุทฺโธ ความว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจจะ ๔ ก่อน
พระเถระตรัสรู้ภายหลัง เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า พุทธานุพุทธะ ผู้ตรัสรู้
ตามพระพุทธองค์. บทว่า ติพฺพนิกฺกโม ได้แก่มีความเพียรมั่น. บทว่า
วิเวกานํ ได้แก่วิเวก ๓. ด้วยบทว่า เตวิชฺโช เจโตปริยายโกวิโท นี้ท่าน
กล่าวถึงอภิญญา ๔ ในบรรดาอภิญญา ๖. อีก ๒ อภิญญานอกนี้ แม้มิได้กล่าว
ถึงก็จริง แต่พระเถระก็ได้อภิญญา ๖ แน่นอน และบริษัทได้ประชุมกันใน
เวลาจบคาถานี้. พระเถระรู้ว่า บริษัทประชุมกัน จึงทำปฏิสันถารกับพระศาสดา
ขออนุญาตกาลปรินิพพานว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อายุสังขารของข้าพระองค์
สิ้นแล้ว ข้าพระองค์จักปรินิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า โกณฑัญญะ
เธอจักปรินิพพานที่ไหน. ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างทั้งหลายที่เป็น
อุปัฏฐากของข้าพระองค์ได้กระทำกิจที่ทำได้ยาก ข้าพระองค์จักปรินิพพานในที่
ใกล้ ๆ ช้างเหล่านั้น. พระศาสดาทรงอนุญาต.
พระเถระทำประทักษิณพระทศพลแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ การเห็นครั้งนั้น เป็นการเห็นครั้งแรกของข้าพระองค์ ครั้งนี้เป็นการ
เห็นครั้งสุดท้าย ดังนี้ เมื่อมหาชนคร่ำครวญอยู่ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ออกมายืนที่ซุ้มประตู สั่งสอนมหาชนว่า ท่านทั้งหลาย อย่าเศร้าโศกเลย
อย่าคร่ำครวญไว้เลย เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม เป็นพุทธสาวกก็ตาม สังขาร
ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าไม่แตกทำลาย ย่อมไม่มี ดังนี้ เมื่อมหาชนกำลังเห็นอยู่
นั่นแล ก็เหาะขึ้นไปยังเวหาส ลงที่ริมสระมันทากินี สรงน้ำในสระโบกขรณี
นุ่งสบงห่มจีวรแล้ว เก็บงำเสนาสนะ เข้าผลสมาบัติล่วง ๓ ยาม ปรินิพพาน
เวลาจวนสว่าง. ต้นไม้ทุกต้นในหิมวันตประเทศได้โน้มน้อมออกผลบูชา
พร้อมกับเวลาพระเถระปรินิพพาน. ช้างตัวเข้าเวรไม่รู้ว่าพระเถระปรินิพพาน
จัดน้ำบ้วนปากและไม้ชำระฟันทำวัตรปฏิบัติแต่เช้าตรู่. นำของควรเคี้ยวและ
ผลไม้มายืนอยู่ที่ท้ายที่จงกรม. ข้างนั้นไม่เห็นพระเถระออกมาจนพระอาทิตย์ขึ้น
คิดว่า นี่อะไรกันหนอ เมื่อก่อน พระผู้เป็นเจ้าจงกรม ล้างหน้าแต่เช้าตรู่
วันนี้ยังไม่ออกจากบรรณศาลา จึงเขย่าประตูกุฎี แลดูเห็นพระเถระกำลังนั่งจึง
เหยียดงวงออกลูบคลำค้นหาลมอัสสาสปัสสาสะ รู้ว่าลมอัสสาสปัสสาสะขาด
พระเถระปรินิพพานแล้ว จึงสอดงวงเข้าในปากร้องเสียงดังลั่น. ทั่วหิมวันต-
ประเทศได้มีเสียงบันลือเป็นอันเดียวกัน. ช้าง ๘,๐๐๐ ประชุมกัน ยกพระเถระ
ขึ้นนอนบนกระพองของหัวหน้าโขลง ถือกิ่งไม้ที่มีดอกบานสะพรั่ง แวดล้อม
แห่ไปทั่วหิมวันต์แล้วมายังที่ของตนตามเดิม.
ท้าวสักกเทวราชปรึกษาพระวิษณุกรรมเทพบุตรว่า พ่อ พี่ชายของพวก
เราปรินิพพานแล้ว เราจักกระทำสักการะ เธอจงเนรมิตเรือนยอดขนาด ๙ โยชน์
ล้วนแล้วด้วยรัตนะทุกอย่าง. พระวิษณุกรรมเทพบุตรทำตามเทวบัญชาแล้ว ให้
พระเถระนอนในเรือนยอดนั้น ได้มอบหมายให้แก่ช้างทั้งหลาย. ช้างเหล่านั้น
ยกเรือนยอดเวียนเขาหิมวันต์ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์หลายรอบ. พวกอากาศ
เทวดารับจากงวงของช้างเหล่านั้น แล้วเล่นสาธุกิฬาแสดงคารวะ. ต่อแต่นั้นวัสส-
พลาหกเทวดา สีตพลาหกเทวดา วาตพลาหกเทวดา เทพชั้นจาตุมหาราช เทพชั้น
ดาวดึงส์ รวมความว่า เรือนยอดได้ไปจนถึงพรหมโลกโดยอุบายนี้ ด้วยประการ
ฉะนี้. พวกพรหมได้ให้เรือนยอดแก่พวกเทวดา พวกเทวดาได้ให้เรือนยอดแก่
ช้างทั้งหลายตามเดิม โดยลำดับด้วยประการฉะนี้อีก. เทวดาแต่ละองค์ได้นำ
ท่อนจันทน์ประมาณ ๔ องคุลีมา. ได้มีจิตกาธารประมาณ ๙ โยชน์. พวกเทวดา
ยกเรือนยอดขึ้นสู่จิตกาธาร. ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เหาะมาสาธยายตลอดคืน.
พระอนุรุทธเถระแสดงธรรม. เทวดาเป็นอันมากได้ตรัสรู้ธรรม. วันรุ่งขึ้น
เวลาอรุณขึ้นนั่นเอง เทวดาทั้งหลายให้ดับจิตกาธารแล้ว เอาพระธาตุมีสีดังดอก
มะลิตูมบรรจุผ้ากรองน้ำ นำมาวางไว้ในพระหัตถ์ของพระศาสดา ในเมื่อ
พระองค์เสด็จออกถึงซุ้มประตูพระวิหารเวฬุวัน. พระศาสดาทรงรับผ้ากรองน้ำ
บรรจุพระธาตุแล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ไปที่แผ่นดิน. พระเจดีย์เหมือนฟองเงิน
ชำแรกแผ่นดินใหญ่ออกมา. พระศาสดาทรงบรรจุพระธาตุในพระเจดีย์ด้วย
พระหัตถ์ของพระองค์. ได้ยินว่า พระเจดีย์นั้นก็ยังดำรงอยู่จนถึงทุกวันนี้แล.
จบอรรถกถาโกณฑัญญสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!