15-182 สุนังกุมารพรหม
- พระไตรปิฎก
- บาลี
- อรรถกถา
พระไตรปิฎก
๑. สนังกุมารสูตร
ว่าด้วยสนังกุมารพรหม
[๖๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เขตกรุงราชคฤห์
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป สนังกุมารพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่ว
ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร
[๖๐๗] ได้กล่าวคาถานี้ในที่ประทับของพระผู้มีพระภาคว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ A
จัดว่าประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ B
[๖๐๘] สนังกุมารพรหมครั้นกราบทูลคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น
สนังกุมารพรหมทราบว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สนังกุมารสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A วิชชา หมายถึงวิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น และวิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ
และอภิญญา ๖ จรณะ หมายถึงจรณะ ๑๕ คือ ความบริบูรณ์ในศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์
ความรู้ประมาณในโภชนะ การประกอบความเพียรเครื่องตื่น พระสัทธรรม ๗ และรูปาวจรฌาน ๔ (สํ.ส.อ.
๑/๑๘๒/๒๐๘)
B ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๗๖/๙๙, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๐/๓๔, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๔๕/๓๓๘, องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๐/๔๐๙