15-151 บ่วงใจ



พระไตรปิฎก


๕. มานสสูตร
ว่าด้วยบ่วงใจ
[๔๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี
[๔๕๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บ่วงนี้เที่ยวไปในอากาศ
มีในใจ สัญจรไปอยู่
เราจักคล้องท่านด้วยบ่วงนั้น
สมณะ ท่านไม่พ้นจากเราไปได้ A
[๔๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เราปราศจากความพอใจในอารมณ์เหล่านี้
คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ
มารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว B
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
มานสสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๓๓/๔๑
B ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๓๓/๔๑

บาลี



มานสสุตฺต
[๔๕๘] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ
[๔๕๙] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
อนฺตลิกฺขจโร ปาโส ยฺวาย จรติ มานโส
เตน ต พาธยิสฺสามิ น เม สมณ โมกฺขสีติ ฯ
[๔๖๐] รูปา สทฺทา คนฺธา รสา โผฏฺพฺพา จ มโนรมา
เอตฺถ เม วิคโต ฉนฺโท นิหโต ตฺวมสิ อนฺตกาติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม ภควา ชานาติ ม สุคโตติ
ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถามานสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมานสสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บ่วงชื่อว่า จรไปในอากาศ เพราะผูกแม้แต่ผู้จรไปในอากาศ. บทว่า
ปาโส ได้แก่ บ่วงคือ ราคะ. บทว่า มานโส ได้แก่ ประกอบกับใจ.
อรรถกถามานสสูตรที ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!