15-149 สะเก็ดหิน
พระไตรปิฎก
๓. สกลิกสูตร
ว่าด้วยสะเก็ดหิน
[๔๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ มัททกุจฉิ สถานที่พระราชทานอภัย
แก่หมู่เนื้อ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น สะเก็ดหินกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงมีทุกขเวทนาทางพระวรกายที่กล้าแข็งอย่างหนัก
เผ็ดร้อน อันไม่สบายพระทัย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคมีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงอดกลั้นทุกขเวทนานั้นไว้ได้ ไม่ทรงเดือดร้อน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยา
โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
[๔๕๓] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วทูลถามพระผู้มี
พระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านนอนด้วยความซึมเซา
หรือมัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่
ประโยชน์ของท่านมีไม่มาก
ท่านอยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
ตั้งหน้าแต่จะหลับ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
[๔๕๔] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
เราไม่ได้นอนด้วยความซึมเซา
ทั้งมิได้มัวเมาคิดกาพย์กลอนอะไรอยู่หรอก
เราบรรลุประโยชน์แล้ว ปราศจากความเศร้าโศก
อยู่ ณ ที่นอนที่นั่งอันสงัดแต่ผู้เดียว
นอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ลูกศรเสียบอกของชนเหล่าใด
ร้อยหทัยให้ลุ่มหลงอยู่ แม้ชนเหล่านั้นในโลกนี้
ทั้ง ๆ ที่มีลูกศรเสียบอกอยู่ ก็ยังหลับได้
ทำไมเราผู้ปราศจากลูกศรแล้ว จะหลับไม่ได้เล่า
เราเดินไป A ก็ไม่หวาดหวั่น ถึงหลับอยู่ก็มิได้กลัวเกรง
กลางคืนและกลางวันไม่ทำให้เราเดือดร้อน
เราไม่พบเห็นความเสื่อมอะไร ๆ ในโลก
ฉะนั้น เราจึงนอนคำนึงถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยความเอ็นดู
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคต
ทรงรู้จักเรา” จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สกลิกสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A เดินไป ในที่นี้หมายถึงเดินไปในทางที่มีราชสีห์เป็นต้น (สํ.ส.อ. ๑/๑๔๙/๑๖๘)
บาลี
สกลิกสุตฺต
[๔๕๒] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
มทฺทกุจฺฉิสฺมึ มิคทาเย ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควโต ปาโท
สกลิกาย ขโต โหติ ฯ ภุสา สุท ภควโต เวทนา วตฺตนฺติ
สารีริกา ทุกฺขา ติพฺพา ขรา กฏุกา อสาตา อมนาปา ฯ ตา
สุท ภควา สโต สมฺปชาโน อธิวาเสติ อวิหฺมาโน ฯ อถ โข
ภควา จตุคฺคุณ สงฺฆาฏึ ปฺเปตฺวา ทกฺขิเณน ปสฺเสน สีหเสยฺย
กปฺเปสิ ปาเทน ปาท อจฺจาธาย สโต สมฺปชาโน ฯ
[๔๕๓] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
มนฺทิยา นุ [๑]- เสสิ อุทาหุ กาเวยฺยมตฺโต
อตฺถา นุ เต สมฺปจุรา น สนฺติ
เอโก วิวิตฺเต สยนาสนมฺหิ
นิทฺทามุโข ๒ กิมิท โสปฺปเสวาติ ฯ
[๔๕๔] น มนฺทิยา สยามิ นาปิ กาเวยฺยมตฺโต
อตฺถ สเมจฺจาหมเปตโสโก
เอโก วิวิตฺเต สยนาสนมฺหิ
สยามห สพฺพภูตานุกมฺปี
เยสมฺปิ สลฺล อุรสิ ปวิฏฺ
มุหุ มุหุ หทย เสวมาน ๓
เตปีธ โสปฺป ลภเร สสลฺลา
กสฺมา ๔ อห น สุเป วีตสลฺโล
ชคฺค น สงฺเกมิ ๕ นปิ เภมิ โสตฺตุ
รตฺตินฺทิวา นานุตปนฺติ มาม
หานึ น ปสฺสามิ กุหิฺจิ โลเก
ตสฺมา สุเป สพฺพภูตานุกมฺปีติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม ภควา ชานาติ ม สุคโตติ
ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ ม. เอตฺถนฺตเร โขสทฺโท อตฺถิ ฯ ๒ สี. นิทฺทาสิ โข ฯ ๓ ม. ยุ. เวธมาน ฯ
๔ โป. ม. ตสฺมา ฯ ๕ ม. ยุ. น สงฺเกนปิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสกลิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสกลิกสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า มนฺทิยา นุ เสสิ ได้แก่ ท่านนอนด้วยความเขลา ด้วย
ความลุ่มหลง. บทว่า อุทาหุ กาเวยฺยมตฺโต ได้แก่ ก็หรือว่า ท่านนอน
เหมือนอย่างกวี นอนครุ่นคิดคำที่จะพึงกล่าว หมกมุ่นด้วยเหตุที่จะพึงแต่งนั้น.
บทว่า สมฺปจุรา แปลว่า มาก. บทว่า กิมิทํ โสปฺปเสว ได้แก่ เหตุไร
ท่านจึงหลับอย่างนี้เล่า. บทว่า อตฺถํ สเมจฺจ ได้แก่ มาถึงพร้อม คือบรรลุ
ประโยชน์แล้ว ด้วยว่า เราไม่มีประโยชน์ [ความต้องการ] ว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้ไม่
เกี่ยวข้อง ก็วิบัติจากผู้เกี่ยวข้องดังนี้. บทว่า สลฺลํ ได้แก่หอกแลลูกศรอันคม.
บทว่า ชคฺคํ น สงฺเกมิ ความว่า เราถึงเดินทางก็ไม่ระแวง อย่างคนบางคน
เดินไปในทางสีหะเป็นต้น ก็ระแวง. บทว่า นปิ เภมิ โสตฺตุํ ความว่า
เราไม่กลัวจะหลับ อย่างคนบางคน กลัวจะหลับ ในทางสีหะเป็นต้น. บทว่า
นานุปตนฺติ มา มํ ความว่า คนทั้งหลายไม่เดือดร้อนตามไปกะเรา อย่าง
เมื่ออาจารย์หรืออันเตวาสิกเกิดไม่สบาย อันเตวาสิก มัวแต่เล่าเรียนและสอบ
ถามเสีย คืนวันล่วงไป ๆ ก็เดือนร้อนถึง ด้วยว่า กิจที่ยังไม่เสร็จไร ๆ ของ
เราไม่มี. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หานึ น ปสฺสามิ
กุหิญฺจิ โลเก เราไม่เห็นความเสื่อมในโลกไหน ๆ.
จบอรรถกถาสกลิกสูตรที่ ๓