15-143 การบรรทม



พระไตรปิฎก


๗. สุปติสูตร
ว่าด้วยการบรรทม
[๔๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งเกือบตลอด
ราตรี ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ทรงล้างพระบาทแล้วเสด็จเข้าพระวิหาร ทรงสำเร็จ
สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ
ทรงทำความหมายรู้ที่จะเสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัย
[๔๓๕] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
ท่านหลับหรือ ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
ท่านหลับเหมือนตายเชียวหรือ
ท่านหลับโดยคิดว่า ‘เราได้เรือนว่าง’ อย่างนั้นหรือ
เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสูงแล้ว ทำไมท่านยังหลับอยู่เล่า
[๔๓๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
ผู้ไม่มีตัณหาดุจตาข่ายซึ่งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ
ที่จะนำไปสู่ภพไหน ๆ ถึงหลับอยู่ก็ชื่อว่าตื่น
เพราะอุปธิทั้งปวง A สิ้นไป
เรื่องอะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า มาร
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สุปติสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A อุปธิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณ (สํ.ส.อ. ๑/๑๔๓/๑๖๖)

บาลี



สุปฺปติสุตฺต
[๔๓๔] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ อถ โข ภควา พหุเทว รตฺตึ อชฺโฌกาเส ๓
จงฺกมิตฺวา รตฺติยา ปจฺจูสสมย ปาเท ปกฺขาเลตฺวา วิหาร
ปวิสิตฺวา ทกฺขิเณน ปสฺเสน สีหเสยฺย กปฺเปสิ ปาเทน ปาท
อจฺจาธาย สโต สมฺปชาโน อุฏฺานสฺ มนสิกริตฺวา ฯ
[๔๓๕] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
กึ โสปฺปสิ กึ นุ โสปฺปสิ
กิมิท โสปฺปสิ ทุพฺภโต ๑ วิย
สุฺมคารนฺติ โสปฺปสิ
กิมิท โสปฺปสิ สุริเย อุคฺคเตติ ฯ
[๔๓๖] ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา
ตณฺหา นตฺถิ กุหิฺจิ เนตเว
สพฺพปธีน ปริกฺขยา พุทฺโธ
โสปฺปติ กึ ตเวตฺถ มาราติ ฯh
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ่

******************

๑ ม. ทุพฺภโค ฯ ยุ. ทุพฺภโย ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสุปปติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุปปติสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า ปาเท ปกฺขาเลตฺวา ได้แก่ ทรงล้างพระบาทเพื่อให้ยึดถือ
ธรรมเนียมไว้. ก็ผงธุลี ย่อมไม่ติดในพระสีรระของพระพุทธะทั้งหลาย. แม้
แต่น้ำก็กลิ้งไปเหมือนน้ำที่ใส่ในใบบัว. อีกนัยหนึ่ง การล้างเท้าในที่ล้างเท้าเข้า
บ้าน เป็นธรรมเนียมของนักบวชทั้งหลาย ธรรมดาพระพุทธะทั้งหลาย ชื่อว่า
ไม่ทรงทำลายธรรมเนียมในข้อนั้น ก็พระพุทธะทั้งหลาย ตั้งอยู่ในหัวข้อแห่ง
ธรรมเนียมย่อมล้างพระบาท. จริงอยู่ ถ้าพระตถาคต ไม่พึงสรงน้ำไม่ล้าง
พระบาทไซร้ คนทั้งหลายก็จะพึงพูดว่า ผู้นี้ไม่ใช่มนุษย์ เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงละเลยกิริยาของมนุษย์ จึงทรงล้างพระบาท. บทว่า
สโต สมฺปชาโน ได้แก่ทรงประกอบด้วยสติสัมชัญญะ ที่กำหนดเอาความ
หลับเป็นอารมณ์. ด้วยบทว่า อุปสงฺกมิ ท่านกล่าวว่า มารคิดว่า พระสมณ
โคดม ทรงจงกรมในที่แจ้งตลอดคืนยังรุ่ง แล้วเข้าพระคันธกุฏี บรรทม คง
จักบรรทมเป็นสุขอย่างเหลือเกิน จำเราจักแกล้งเธอ แล้วจึงไปเฝ้า.
ด้วยบทว่า กึ โสปฺปสิ มารกล่าวว่า ท่านหลับหรือ การหลับของ
ท่านนี้เป็นอย่างไร. บทว่า กึ นุ โสปฺปสิ ได้แก่ เพราะเหตุไร ท่านจึง
หลับ. บทว่า ทุพฺภโต วิย ได้แก่ หลับเหมือนตาย และหลับเหมือนสลบ.
ด้วยบทว่า สุญฺมคารํ มารกล่าวว่าท่านหลับด้วยคิดว่า เราได้เรือนว่างแล้ว
หรือ. บทว่า สุริเย อุคฺคเต ความว่า เมื่อตะวันโด่งแล้ว ก็บัดนี้ ภิกษุทั้ง
หลาย กำลังกวาด ตั้งน้ำฉันเตรียมตัวไปภิกขาจาร เหตุไร ท่านจึงยังนอนอยู่
เล่า.
บทว่า ชาลินี ความว่า ตัณหา ชื่อว่า ดุจข่าย โดยข่ายอันเป็นส่วน
ของตน ซึ่งครอบงำภพทั้งสาม ตามนัยที่ว่า ซึ่งว่าตัณหาวิจริต ๑๘ เพราะ
อาศัยอายตนะภายในเป็นต้น. บทว่า วิสฺตฺติกา ได้แก่ ตัณหาที่ชื่อว่าซ่านไป
เพราะซ่านไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้นในภพนั้น ๆ เพราะมีรากเป็นพิษและ
เพราะบริโภคเป็นพิษ. บทว่า กุหิญฺจิ เนตเว ได้แก่ เพื่อนำไปในที่ไหน ๆ.
บทว่า สพฺพูปธีนํ ปริกฺขยา ได้แก่ เพราะสิ้นอุปธิทั้งหมด ต่างโดยเป็น
ขันธ์ กิเลส อภิสังขารและกามคุณ. บทว่า กึ ตเวตฺถ มาร ความว่า ดู
ก่อนมาร ประโยชน์อะไรของท่านในเรื่องนี้เล่า เหตุไร ท่านจึงเลาะริมรั้ว
ติเตียน เหมือนแมลงวันตัวเล็ก ๆ ไม่อาจซ่อนตัวอยู่ในข้าวต้มที่ร้อน ๆ ได้.
จบอรรถกถาสุปปติสูตรที่ ๗

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!