15-128 ความไม่ประมาทสูตรที่ 1
พระไตรปิฎก
๗. ปฐมอัปปมาทสูตร
ว่าด้วยความไม่ประมาท สูตรที่ ๑
[๓๗๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสอง
ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่”
พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด
ประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า คืออะไร”
[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้าไว้ได้ คือ ความไม่ประมาท รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่
สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอย
เท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า รอยเท้าช้างเป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
ฉันใด มหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือประโยชน์ในปัจจุบัน
และประโยชน์ในภายหน้า คือ ความไม่ประมาท ก็ฉันนั้น”
[๓๘๐] พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
บุคคลเมื่อปรารถนาอายุ ความไม่มีโรค
วรรณะ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง
และความยินดีอย่างโอฬารต่อ ๆ ไป
พึงทำความไม่ประมาท
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทย่อมบรรลุประโยชน์ทั้งสอง
ธีรชนท่านเรียกว่า บัณฑิต
เพราะยึดประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า
ปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ จบ
บาลี
ปมอปฺปมาทสุตฺต
[๓๗๘] สาวตฺถิย … เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ภควนฺต เอตทโวจ อตฺถิ นุ โข ภนฺเต เอโก ธมฺโม โย
อุโภ อตฺเถ สมธิคฺคยฺห ติฏฺติ ทิฏฺธมฺมิกฺเจว อตฺถ สมฺปรายิกฺจาติ ฯ
อตฺถิ โข มหาราช เอโก ธมฺโม โย อุโภ อตฺเถ
สมธิคฺคยฺห ติฏฺติ ทิฏฺธมฺมิกฺเจว อตฺถ สมฺปรายิกฺจาติ ฯ
กตโม ปน ภนฺเต เอโก ธมฺโม โย อุโภ อตฺเถ สมธิคฺคยฺห
ติฏฺติ ทิฏฺธมฺมิกฺเจว อตฺถ สมฺปรายิกฺจาติ ฯ
[๓๗๙] อปฺปมาโท โข มหาราช เอโก ธมฺโม โย อุโภ
อตฺเถ สมธิคฺคยฺห ติฏฺติ ทิฏฺธมฺมิกฺเจว อตฺถ สมฺปรายิกฺจาติ ฯ
เสยฺยถาปิ มหาราช ยานิกานิจิ ชงฺคลาน ปาณาน ปทชาตานิ
สพฺพานิ ตานิ หตฺถิปเท สโมธาน คจฺฉนฺติ หตฺถิปท เตส
อคฺคมกฺขายติ ยทิท มหนฺตตฺเตน เอวเมว โข มหาราช อปฺปมาโท
เอโก ธมฺโม โย อุโภ อตฺเถ สมธิคฺคยฺห ติฏฺติ ทิฏฺธมฺมิกฺเจว
อตฺถ สมฺปรายิกฺจาติ ฯ
[๓๘๐] อิทมโวจ ฯเปฯ
อายุ อาโรคิย วณฺณ สคฺค อุจฺจากุลีนต
รติโย ปตฺถยนฺเตน อุฬารา อปราปรา
อปฺปมาท ปสสนฺติ ปฺุกิริยาสุ ปณฺฑิตา
อปฺปมตฺโต อุโภ อตฺเถ อธิคฺคณฺหาติ ปณฺฑิโต
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจตีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
บทว่า สมติคฺคยฺห แปลว่า ยึดไว้ได้ อธิบายว่า ถือไว้ได้. อัปปมาท
ธรรมที่หนุนให้ทำบุญ ชื่อว่า อัปปมาท ความไม่ประมาท. บทว่า สโมธานํ
ได้แก่ ตั้งลงพร้อม คือ รวมลง. ด้วยบทว่า เอวเมว โข พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า การาปกอัปปมาท (ความไม่ประมาทอันอุดหนุนบุคคลผู้กระทำ
ตาม) เหมือนรอยเท้าช้าง กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ที่เหลือ ก็เหมือน
รอยเท้าสัตว์ที่เหลือ กุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมประชุมลงในอัปปมาทธรรม
เป็นไปภายในอัปปมาทธรรม เหมือนรอยเท้าสัตว์ที่เหลือรวมลงในรอยเท้าช้าง
อนึ่ง รอยเท้าช้างเลิศ ประเสริฐสุด ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ที่เหลือ ฉันใด
อัปปมาทธรรม ก็เลิศประเสริฐสุด ใหญ่กว่าธรรมทั้งหลายที่เหลือ ฉันนั้น.
จริงอยู่ อัปปมาทธรรมนั้น แม้เป็นโลกิยะอยู่ ก็ยังเลิศอยู่นั่นเอง เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ธรรมที่เป็นมหัคคตะและโลกุตระ.
บทว่า อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญความไม่ประมาทเท่านั้นว่า ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้นเหล่านั้น พึงทำ
ความไม่ประมาทอย่างเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการกระทำบุญทั้งหลาย ฉะนั้น ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้น
พึงทำความไม่ประมาทโดยแท้. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้
ประโยชน์.
จบอรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗