15-122 ชฏิล 7 คน
พระไตรปิฎก
๑. สัตตชฏิลสูตร
ว่าด้วยชฎิล ๗ คน
[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ
นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค
เสด็จออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ประทับนั่งที่นอกซุ้มประตู ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่สมควร
[๓๕๕] สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไป
ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ
ทรงห่มพระภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ
พื้นแผ่นดิน ประนมมือไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก
๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้วทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ‘ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ฯลฯ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล”
ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน
ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นเดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ-
อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุอรหัตตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก”
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม
ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์อันนำมาจาก
แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า
คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าคนพวกนี้บรรลุอรหัตตมรรค’
มหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ศีลนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่
ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ความสะอาดจะพึงรู้ได้ด้วยการเจรจา A ความสะอาดนั้นจะพึงรู้ได้
ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญา
จึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มีปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร กำลัง B จะพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กำลังนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้
มหาบพิตร ปัญญาจะพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน
ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจรู้ไม่ได้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
[๓๕๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า มหาบพิตร พระองค์เป็น
คฤหัสถ์ บริโภคกาม ฯลฯ ยากที่จะรู้เรื่องนี้ ฯลฯ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่มี
ปัญญารู้ไม่ได้”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของข้าพระองค์ เป็นบุรุษ
สอดแนม เป็นสายลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันกลับมา ข้าพระองค์
จะรู้เรื่องราวหลังจากที่คนเหล่านั้นสืบมา บัดนี้คนเหล่านั้นคงจะชำระล้างละอองธุลี
นั้นแล้ว อาบสะอาดดี ลูบไล้ผิวดีแล้ว โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่ม
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอข้าพระองค์อยู่”
[๓๕๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้
ในเวลานั้นว่า
คนผู้รู้ดี ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจใครเพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว
เพราะว่านักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลายย่อมเที่ยวไปในโลกนี้
ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว
นักบวชเหล่านั้นผู้ไม่บริสุทธิ์ในภายใน
งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวารท่องเที่ยวอยู่ในโลก
ดุจตุ้มหูดินและเหรียญโลหะครึ่งมาสกหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้
สัตตชฏิลสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A สํโวหาร มี ๔ ความหมายคือ การงาน เจตนา บัญญัติ และการเจรจา ในที่นี้หมายถึงการเจรจา (สํ.ส.อ.
๑/๑๒๒/๑๔๒)
B กำลัง ในที่นี้หมายถึงกำลังคือญาณ (สํ.ส.อ. ๑/๑๒๒/๑๔๓)
บาลี
ชฏิลสุตฺต
[๓๕๔] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ ปุพฺพาราเม
มิคารมาตุ ปาสาเท ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา สายณฺหสมย
ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต พหิทฺวารโกฏฺเก นิสินฺโน โหติ ฯ อถ โข
ราชา ปเสนทิโกสโล เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
[๓๕๕] เตน โข ปน สมเยน สตฺต จ ชฏิลา สตฺต จ
นิคนฺถา สตฺต จ อเจลา สตฺต จ เอกสาฏกา สตฺต จ
ปริพฺพาชกา ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ขาริวิวิธมาทาย ภควโต อวิทูเร
อติกฺกมนฺติ ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล อุฏฺายาสนา เอกส
อุตฺตราสงฺค กริตฺวา ทกฺขิณชานุมณฺฑล ปวิย นิหนฺโต เยน เต
สตฺต จ ชฏิลา สตฺต จ นิคนฺถา สตฺต จ อเจลา สตฺต จ
เอกสาฏกา สตฺต จ ปริพฺพาชกา เตนฺชลึ ปณาเมตฺวา ติกฺขตฺตุ
นาม สาเวสิ ราชาห ภนฺเต ปเสนทิโกสโล … ราชาห ภนฺเต
ปเสนทิโกสโลติ ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล อจิรปกฺกนฺเตสุ
เตสุ สตฺตสุ จ ชฏิเลสุ สตฺตสุ จ นิคนฺเถสุ สตฺตสุ จ อเจเลสุ
สตฺตสุ จ เอกสาฏเกสุ สตฺตสุ จ ปริพฺพาชเกสุ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล ภควนฺต เอตทโวจ
เย เต ภนฺเต โลเก อรหนฺโต วา อรหตฺตมคฺค วา สมาปนฺนา
เอเต เตส อฺตราติ ฯ
[๓๕๖] ทุชฺชาน โข เอต มหาราช ตยา คิหินา กามโภคินา
ปุตฺตสมฺพาธสยน อชฺฌาวสนฺเตน กาสิกจนฺทน ปจฺจนุโภนฺเตน
มาลาคนฺธวิเลปน ธารยนฺเตน ชาตรูปรชต สาทิยนฺเตน อิเม วา
อรหนฺโต อิเม วา อรหตฺตมคฺค สมาปนฺนาติ สวาเสน โข
มหาราช สีล เวทิตพฺพ ตฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตร
มนสิกโรตา โน อมนสิการา ปฺวตา โน ทุปฺปฺเน
สโวหาเรน โข มหาราช โสเจยฺย เวทิตพฺพ ตฺจ โข ทีเฆน
อทฺธุนา น อิตร มนสิกโรตา โน อมนสิการา ปฺวตา
โน ทุปฺปฺเน อาปทาสุ โข มหาราช ถาโม เวทิตพฺโพ
โส จ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตร มนสิกโรตา โน อมนสิการา
ปฺวตา โน ทุปฺปฺเน สากจฺฉาย โข มหาราช ปฺา
เวทิตพฺพา สา จ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตร มนสิกโรตา
โน อมนสิการา ปฺวตา โน ทุปฺปฺเนาติ ฯ
[๓๕๗] อจฺฉริย ภนฺเต อพฺภูต ภนฺเต ยาว สุภาสิตฺจิท
ภนฺเต ภควตา ทุชฺชาน โข เอต มหาราช ตยา คิหินา
กามโภคินา ฯเปฯ ปฺวตา โน ทุปฺปฺเนาติ เอเต ภนฺเต
มม ปุริสา จารา โอจรกา ชนปท โอจริตฺวา อาคจฺฉนฺติ เตหิ
ปม โอจิณฺณ อห ปจฺฉา โอหยิสฺสามิ อิทานิ เต ภนฺเต
ต รโชชลฺล ปวาเหตฺวา สุนฺหาตา สุวิลิตฺตา กปฺปิตเกสมสฺสู
โอทาตวตฺถวสนา ปฺจหิ กามคุเณหิ สมปฺปิตา สมงฺคิภูตา ม
ปริจารยนฺตีติ ฯ
[๓๕๘] อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ตาย เวลาย
อิมา คาถาโย อภาสิ
น วณฺณรูเปน นโร สุชาโต
น วิสฺสเส อิตฺตรทสฺสเนน
สุสฺตานฺหิ วิยฺชเนน
อสฺตา โลกมิม จรนฺติ
ปฏิรูปโก มตฺติกกุณฺฑโล จ
โลหทฺธมาโส จ สุวณฺณฉนฺโน
จรนฺติ โลเก ปริวารฉนฺนา
อนฺโต อสุทฺธา พหิ โสภมานาติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาชฏิลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในชฎิลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ได้แก่บนปราสาทของ
นางวิสาขา มารดาของมิคารเศรษฐี ในวิหารที่ชื่อว่าปุพพาราม. ในเรื่องปุพพา-
รามนั้น ลำดับความดังนี้
เรื่อง ปุพพาราม
ครั้งอดีตกาล เมื่อสุดแสนกัป อุบาสิกาผู้หนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ถวายทานแก่ภิกษุแสนรูป มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน หมอบอยู่แทบเบื้องบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำความปรารถนา
ว่า ข้าพระองค์ขอเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้า เช่นกับพระองค์ใน
อนาคตกาลด้วยเถิด. ต่อมา นางท่องเที่ยว [เวียนว่ายตายเกิด] ในเหล่าเทวดา
และมนุษย์ถึงแสนกัป ถือปฏิสนธิในครรภ์นางสุมนเทวี ในเรือนของธนัญชัย
เศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐีในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ของเรา. เวลาเกิดบิดามารดาขนานนามว่า วิสาขา. คราวใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จภัตทิยนคร คราวนั้น นางพร้อมด้วยเด็กหญิงห้าร้อยคน ก็จะรับเสด็จพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ได้เป็นโสดาบัน ในการพบครั้งแรกเลยทีเดียว. ต่อมานาง
ไปสู่เรือน [มีเรือน] ของปุณณวัฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ณ ที่นั้น มิคารเศรษฐีสถาปนานางไว้ในตำแหน่งมารดา เพราะฉะนั้น นางจึง
ถูกเรียกว่า มิคารมารดา. ในปราสาทที่มิคารมารดาสร้างแล้ว.
บทว่า พหิทฺวารโกฏฺเก แปลว่า ภายนอกซุ้มประตูปราสาท ไม่
ใช่ภายนอกซุ้มประตูพระวิหาร. ได้ยินว่า ปราสาทนั้นล้อมด้วยกำแพง ซึ่ง
ประกอบซุ้มประตูไว้ ๔ ประตู โดยรอบเหมือนโลหประสาท. บรรดาซุ้มประตู
ทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐตรวจดู
โลกธาตุด้านทิศตะวันออก ที่ร่มเงาของปราสาทภายนอกซุ้มประตู่ด้านตะวันออก.
บทว่า ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ได้แก่มีขนรักแร้งอกแล้ว มีเล็บงอก
แล้ว มีขนงอกแล้ว อธิบายว่า มีขนยาวที่รักแร้เป็นต้น และมีเล็บยาว. บทว่า
ขาริวิวิธํ แปลว่าบริขารต่าง ๆ ได้แก่สิ่งของที่เป็นบริขารของนักบวชต่าง ๆ
ชนิด. บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ได้แก่เข้าไปยังพระนครโดยทางนี้ไม่
ไกล. บทว่า ราชาหํ ภนฺเต ความว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า คือ
พระเจ้าปเสนทิโกศล ขอท่านทั้งหลายจงทราบนามของข้าพเจ้าเถิด.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระราชาประทับนั่งในสำนักของบุคคลผู้เลิศแล้ว จึงยัง
ทรงประคองอัญชลี แก่นักบวชเปลือยผู้ไร้สิริเห็นปานนั้นเล่า. ตอบว่า เพราะ
เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์. แท้จริง พระราชานั้น ทรงพระดำริอย่างนี้
ว่า ถ้าเราจักไม่ทำอัญชลีแม้เพียงเท่านี้ แก่นักบวชเหล่านั้นไซร้ นักบวชเหล่า
นั้น ก็จักคิดว่า เสียแรงเราละลูกเมียไปเสวยทุกข์มีกินลำบากนอนลำเค็ญ
เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ พระราชาพระองค์นี้ก็ยังไม่ทำเพียงอัญชลี
แก่เราดังนี้แล้ว ก็จักปกปิดสิ่งที่เห็นที่ฟังมาด้วยตนเองแล้วไม่ยอมบอก แต่เมื่อ
เราทำอัญชลีอย่างนี้แล้ว พวกเขาก็จักไม่ปกปิดยอมบอก เพราะฉะนั้น พระ-
ราชาจึงทูลอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ทรงทำอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะทรงทราบอัธยาศัย
ของพระศาสดา.
บทว่า กาสิกจนฺทนํ ได้แก่ พร้อมทั้งจันทน์อันละเอียด. บทว่า
มาลาคนฺธวิเลปนํ ได้แก่ ทัดทรงดอกไม้เพื่อประโยชน์แก่สีและกลิ่น ของหอม
เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นของหอม และเครื่องลูบไล้ ก็เพื่อประโยชน์แก่สีและ
กลิ่น.
บทว่า สํวาเสน แปลว่า โดยการอยู่ร่วมกัน. บทว่า สีลํ เวทิตพฺพํ
ได้แก่เมื่ออยู่ร่วมกัน ใกล้ชิดกันก็พึงทราบได้ว่าผู้นี้มีศีล คือปกติ หรือปกติ
ชั่ว. บทว่า ตญฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตรํ ความว่า ก็ศีลนั้น
บุคคลพึงรู้โดยกาลนาน ๆ ไม่ใช่นิดหน่อย. เป็นความจริง อาการสำรวม และ
อาการของผู้สำรวมอินทรีย์ อาจแสดงออกมา ๒-๓ วัน. บทว่า มนสิกโรตา
ความว่า ศีลแม้นั้น ผู้ใส่ใจ พิจารณาดูว่า เราจักกำหนดถือศีลของผู้นั้น ก็
อาจรู้ได้ นอกนี้ก็รู้ไม่ได้. บทว่า ปญฺวตา ความว่า ศีลนั้น อัน
บัณฑิตผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ เพราะว่า คนเขลาถึงใส่ใจก็ไม่สามารถจะ
รู้ได้.
บทว่า สํโวหาเรน แปลว่า ด้วยการสนทนากัน. โวหารในคำนี้ว่า
โย หิ โกจิ มนุสฺเสสุ โวหารํ อุปชีวติ
เอวํ วาเสฏฺฐ ชานาหิ วาณิชโช โส น พฺราหฺมโณ
ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการ
ซื้อขายเลี้ยงชีวิต ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่าน
จงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพานิช ไม่ใช่
พราหมณ์ ดังนี้
ชื่อว่า สังโวหาร. โวหาร ในคำนี้ว่า อริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔
ชื่อว่า เจตนาโวหาร. โวหาร ในคำนี้ว่า สังขา การนับ สมัญญา การตั้งชื่อ
บัญญัติโวหาร โวหาร คือการบัญญัติ ชื่อว่า บัญญัตติโวหาร. โวหารใน
คำนี้ว่า ผู้นั้นพึงพูด โดยสักว่าโวหาร ชื่อว่า กถาโวหาร. แม้ในที่นี้
ก็ประสงค์เอากถาโวหารนี้เท่านั้น. จริงอยู่ คำพูดต่อหน้าของคนบางคน ไม่
สมกับคำพูดลับหลัง และคำพูดลับหลังไม่สมกับคำพูดต่อหน้า คำพูดคำก่อนกับ
คำพูดคำหลัง และคำพูดคำหลังกับคำพูดคำก่อน ก็เหมือนกัน ผู้นั้น อันผู้พูด
ด้วยเท่านั้น อาจรู้ได้ว่าบุคคลนี้ไม่สะอาด. ส่วนคำก่อนกับคำหลังของผู้มีความ
สะอาดเป็นปกติ และคำหลังกับคำก่อน ที่เขาพูดต่อหน้าย่อมสมกับคำที่เขาพูด
ลับหลัง และคำพูดลับหลัง ก็สมกับคำพูดที่เขาพูดต่อหน้า เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ผู้พูดอาจรู้ความเป็นผู้สะอาดได้ จึง
ตรัสอย่างนี้.
บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ. จริงอยู่ กำลังญาณของผู้ใด
ไม่มี เมื่อเกิดอุปัทวันตรายขึ้น ผู้นั้นก็มองไม่เห็นการถือสิ่งที่ควรถือ กิจ
ที่ควรทำ ย่อมประพฤติเหมือนดังเข้าไปยังเรือนที่มืดตื้อ ด้วยเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร บุคคลพึงรู้กำลัง [ญาณ] ได้ก็ในคราวมี
อันตราย. บทว่า สากจฺฉาย ได้แก่ การสนาทนากัน. จริงอยู่ ถ้อยคำ
ของคนทรามปัญญา ย่อมเลื่อนลอย เหมือนลูกยางลอยน้ำ ปฎิภาณของผู้มี
ปัญญาพูดไม่มีที่สิ้นสุด. เป็นความจริง โดยอาการที่น้ำไหว เขาก็รู้ได้ว่า ปลา
ตัวเล็กหรือตัวโต. บทว่า โอจรกา ได้แก่ประพฤติเบื้องต่ำ [ใต้ดิน] จริงอยู่
พวกจารบุรุษ แม้จะพระพฤติอยู่ตามยอดเขา ก็ชื่อว่าประพฤติต่ำทั้งนั้น. บทว่า
โอจริติวา ได้แก่พระพฤติต่ำ สอดแนม สอดรู้เรื่องนั้น ๆ. บทว่า รโชชลฺลํ
ได้แก่ ธุลีและน้ำ. บทว่า วณฺณรูเปน ได้แก่ โดยวรรณะและทรวดทรง.
บทว่า อิตรทสฺสเนน ได้แก่ การเห็นกันนิดหน่อย. บทว่า วิยญฺชเนน
ได้แก่เครื่องบริขาร. บทว่า ปฏิรูปโก มตฺติกกุณฺฑโล จ ได้แก่ ตุ้มหู
ทองเทียม ตุ้มหูดิน. บทว่า โลหฑฺฒมาโส ได้แก่ มาสกทำด้วยโลหะ.
จบอรรถกถาชฏิลสูตรที่ ๑