15-119 เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
พระไตรปิฎก
๘. มัลลิกาสูตร
ว่าด้วยเรื่องพระนางมัลลิกาเทวี
[๓๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิกาเทวีได้ประทับ ณ ปราสาท
อันประเสริฐชั้นบน ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสถามพระนางมัลลิกาเทวี
ดังนี้ว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม”
พระนางมัลลิกาเทวีได้ทูลสนองว่า “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่ง
เป็นที่รักยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มีเลย และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของ
พระองค์มีอยู่หรือ”
พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเรา
ไม่มีเลย”
[๓๔๗] ต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง
ที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์อยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนกับ
พระนางมัลลิกาเทวี ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า ‘มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็น
ที่รักยิ่งกว่าตนของเธอมีบ้างไหม’ เมื่อข้าพระองค์ถามแล้วอย่างนี้ พระนางมัลลิกา
เทวีได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ใครอื่นซึ่งเป็นที่รัก
ยิ่งกว่าตนของหม่อมฉันไม่มี และใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของพระองค์มีอยู่หรือ”
เมื่อพระนางมัลลิกาเทวีกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้พูดกับพระนางมัลลิกาเทวีดังนี้ว่า
“มัลลิกา ใครอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนของเราไม่มี”
[๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า
บุคคลตั้งใจค้นหาทั่วทุกทิศ
ก็ไม่พบใครที่ไหนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนเลย
สัตว์เหล่าอื่นก็รักตนมากเช่นนั้นเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
มัลลิกาสูตรที่ ๘ จบ
บาลี
มลฺลิกาสุตฺต
[๓๔๖] สาวตฺถิย … เตน โข ปน สมเยน ราชา ปเสนทิโกสโล
มลฺลิกาย เทวิยา สทฺธึ อุปริปาสาทวรคโต โหติ ฯ อถ โข
ราชา ปเสนทิโกสโล มลฺลิก เทวึ เอตทโวจ อตฺถิ นุ โข เต
มลฺลิเก โก จฺโ อตฺตนา ปิยตโรติ ฯ นตฺถิ โข เม มหาราชอ
โก จฺโ อตฺตนา ปิยตโร ตุยฺห ปน มหาราช อตฺถฺโ
โกจิ อตฺตนา ปิยตโรติ ฯ มยฺหมฺปิ โข มลฺลิเก นตฺถฺโ โกจิ
อตฺตนา ปิยตโรติ ฯ
[๓๔๗] อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ปาสาทา โอโรหิตฺวา ๑
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ภควนฺต เอตทโวจ อิธาห ภนฺเต มลฺลิกาย เทวิยา สทฺธึ
อุปริปาสาทวรคโต มลฺลิก เทวึ เอตทโวจ อตฺถิ นุ โข มลฺลิเก
โก จฺโ อตฺตนา ปิยตโรติ เอว วุตฺเต ภนฺเต มลฺลิกา เทวี
ม เอตทโวจ นตฺถิ โข เม มหาราช โก จฺโ อตฺตนา
ปิยตโรติ ๒ ตุยฺห ปน มหาราช อตฺถฺโ โกจิ อตฺตนา ปิยตโรติ
เอว วุตฺตาห ภนฺเต มลฺลิก เทวึ เอตทโวจ มยฺหมฺปิ โข
มลฺลิเก นตฺถฺโ โกจิ อตฺตนา ปิยตโรติ ฯ
[๓๔๘] อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ตาย เวลาย อิม
คาถ อภาสิ
สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา
เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ
เอว ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรส
ตสฺมา น หึเส ปร อตฺตกาโมติ ฯ
******************
๑ สี. โอตริตฺวา ฯ ๒ ม. อิติสทฺโท นตฺถิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถามัลลิกาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมัลลิกาสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
เพราะเหตุไร พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามว่า อตฺถิ โข เต
มลฺลิเก เป็นต้น. ได้ยินว่า พระนางมัลลิกานี้ เป็นธิดาของนายช่างทำดอกไม้
ผู้เข็ญใจ วันหนึ่ง ถือขนมจากตลาด คิดว่าจักไปสวนดอกไม้แล้วจึงจักกินขนม
เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปแสวงหาอาหาร
สวนทางกัน ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระจึงได้ปูผ้าถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่นั้นแล้วเสวยขนม ล้างพระโอษฐ์แล้ว
ได้ทรงทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ. พระเถระทูลถามว่า ด้วยการถวาย
ขนมนี้ จักมีผลอะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ วันนี้
นี่แหละ นางมัลลิกานั้นได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นคนแรก วันนี้นี่แหละ
นางก็จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล วันนั้นนั่นแล พระราชาผู้อัน
พระเจ้าหลาน (พระเจ้าอชาตศัตรู) ทรงให้ปราชัยในการรบที่หมู่บ้านกาสี (กาสิก
คาม) พ่ายหนีไป กลับมาสู่พระนคร เสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้ ทรงคอย
หมู่ทหารกลับมา. นางมัลลิกานั้น ได้ทำการปรนนิบัติถวายท้าวเธอ. พระเจ้า
ปเสนทิโกศล ทรงเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติที่นางทำถวาย จึงโปรดให้นำนาง
เข้าไปภายในพระบุรี ทรงสถาปนานางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี.
ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า เราให้อิศริยยศ
อย่างใหญ่แก่ธิดาของตระกูลที่เข็ญใจผู้นี้ ถ้ากระไร เราจะควรถามนางว่า
ใครเป็นที่รักของเจ้า. นางจะตอบว่า พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่รัก
ของหม่อมฉัน แล้วจักถามเราอีกว่า เมื่อเป็นดังนั้น เราจะบอกแก่นางว่า
เจ้าคนเดียวเป็นที่รักของเรา ดังนี้. พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เมื่อจะตรัสพระ-
วาจาที่บันเทิง เพื่อให้เกิดความสนิทสนมกะกันแลกัน จึงถาม. ส่วนพระนาง
มัลลิกาเทวีนั้น เป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐายิกา
ของพระสงฆ์ มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระนางจึงทรงดำริอย่างนี้ว่า เรา
ไม่พึงเห็นแก่หน้าพระราชา ตอบปัญหานี้. ครั้นตรัสตอบตามรสนิยมของตน
แล้ว ก็ทูลถามพระราชาบ้าง. พระราชาเมื่อกลับพระวาจาไม่ได้ เพราะพระนาง
ตรัสตามรสนิยมของพระนางเอง แม้พระองค์เองก็ตรัสตามรสนิยมเหมือนกัน
ทรงพระดำริว่า จักให้พระนางกราบทูลเหตุนี้แด่พระตถาคต ดังนี้แล้ว ก็เสด็จ
ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เนวชฺฌคา แปลว่า ไม่พบ.
บทว่า เอวํ ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรสํ ความว่า คนเป็นที่รักของตนเท่านั้น
ฉันใด คนอื่นก็เป็นที่รักของคนอื่น ๆ แม้เป็นอันมาก ฉันนั้น.
จบอรรถกถามัลลิการสูตรที่ ๘