15-115 ผู้รักตน



พระไตรปิฎก


๔. ปิยสูตร
ว่าด้วยผู้รักตน
[๓๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าไหนหนอชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน’
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ก็ชนเหล่าใดประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารักตน’ ก็ตาม
ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ไม่รักกันทำความเสียหายใดให้แก่ผู้ไม่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำ
ความเสียหายนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนชนเหล่าใด
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน แม้ชนเหล่านั้น
จะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราไม่รักตน’ ก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ที่รักกันทำความเจริญใดให้แก่ผู้ที่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำความ
เจริญนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น เพราะว่าชนบางพวกประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรารักตน’ ก็ตาม
ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้ไม่รักกันทำความเสียหายใดให้แก่ผู้ไม่รักกันได้ ชนเหล่านั้นก็ทำ
ความเสียหายนั้นให้แก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนชนบางพวก
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน แม้ชนเหล่านั้นจะกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘เราไม่รักตน’ ก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะชนผู้รักกันทำความเจริญใดให้แก่ผู้ที่ตนรักได้ ชนเหล่านั้นก็ทำความ
เจริญนั้นแก่ตนเองได้ ฉะนั้นชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน”
[๓๓๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ถ้าบุคคลรู้ว่ารักตน ก็ไม่พึงชักนำตนไปในทางชั่ว
เพราะความสุขนั้นบุคคลผู้มักทำชั่วจะไม่ได้โดยง่าย
เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำ
ก็จะต้องละทิ้งภพมนุษย์ไป
ก็อะไรเล่าเป็นสมบัติของเขา
และเขาจะนำอะไรไปได้
อนึ่ง อะไรเล่าจะติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
สัตว์ผู้จะต้องตายในโลกนี้
ทำกรรมอันใด คือบุญและบาปทั้ง ๒ ประการ
บุญและบาปนั้นแลเป็นสมบัติของเขา
ทั้งเขาจะนำเอาบุญและบาปนั้นไปได้
อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไป
ดุจเงาติดตามตัวไป ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
ปิยสูตรที่ ๔ จบ

บาลี



ปิยสุตฺต
[๓๓๔] สาวตฺถิย … เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล
ภควนฺต เอตทโวจ อิธ มยฺห ภนฺเต รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส
เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ เกส นุ โข ปิโย อตฺตา
เกส อปฺปิโย อตฺตาติ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอตทโหสิ เย จ
โข เกจิ กาเยน ทุจฺจริต จรนฺติ วาจาย ทุจฺจริต จรนฺติ มนสา
ทุจฺจริต จรนฺติ เตส อปฺปิโย อตฺตา กิฺจาปิ เต เอว วเทยฺยุ
ปิโย โน อตฺตาติ อถ โข เตส อปฺปิโย อตฺตา ต กิสฺส เหตุ
ย หิ อปฺปิโย อปฺปิยสฺส กเรยฺย ต เต อตฺตนาว อตฺตโน กโรนฺติ
ตสฺมา เตส อปฺปิโย อตฺตา เย จ โข เกจิ กาเยน สุจริต
จรนฺติ วาจาย สุจริต จรนฺติ มนสา สุจริต จรนฺติ เตส ปิโย
อตฺตา กิฺจาปิ เต เอว วเทยฺยุ อปฺปิโย โน อตฺตาติ อถ
โข เตส ปิโย อตฺตา ต กิสฺส เหตุ ย หิ ปิโย ปิยสฺส กเรยฺย
ต เต อตฺตนาว อตฺตโน กโรนฺติ ตสฺมา เตส ปิโย อตฺตาติ ฯ
[๓๓๕] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช เย หิ เกจิ
มหาราช กาเยน ทุจฺจริต จรนฺติ วาจาย ทุจฺจริต จรนฺติ มนสา
ทุจฺจริต จรนฺติ ๑ เตส อปฺปิโย อตฺตา กิฺจาปิ เต เอว วเทยฺยุ
ปิโย โน อตฺตาติ อถ โข เตส อปฺปิโย อตฺตา ต กิสฺส
เหตุ ย หิ มหาราช อปฺปิโย อปฺปิยสฺส กเรยฺย ต เต อตฺตนาว
อตฺตโน กโรนฺติ ตสฺมา เตส อปฺปิโย อตฺตาติ เย จ โข เกจิ
มหาราช กาเยน สุจริต จรนฺติ วาจาย สุจริต จรนฺติ มนสา
สุจริต จรนฺติ เตส ปิโย อตฺตา กิฺจาปิ เต เอว วเทยฺยุ
อปฺปิโย โน อตฺตาติ อถ โข เตส ปิโย อตฺตา ต กิสฺส เหตุ
ย หิ มหาราช ปิโย ปิยสฺส กเรยฺย ต เต อตฺตนาว อตฺตโน
กโรนฺติ ตสฺมา เตส ปิโย อตฺตาติ ฯ
[๓๓๖] อิทมโวจ ฯเปฯ
อตฺตานฺเจ ปิย ชฺา น น ปาเปน สยุเช
น หิ ต สุลภ โหติ สุข ทุกฺกฏการินา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส ชหโต ๒ มานุส ภว
กึ หิ ๒ ตสฺส สก โหติ กิฺจ อาทาย คจฺฉติ
กิฺจสฺส อนุค โหติ ฉายาว อนุปายินี
อุโภ ปุฺฺจ ปาปฺจ ย มจฺโจ กุรุเต อิธ
ต หิ ตสฺส สก โหติ ตฺจ ๓ อาทาย คจฺฉติ
ตฺจสฺส ๔ อนุค โหติ ฉายาว อนุปายินี
ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณ นิจย สมฺปรายิก
ปุฺานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ตสฺมาติ ทิสฺสติ ฯ ๒ สี. ชหเต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปิยสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า รโคตสฺส แปลว่า ไป [อยู่] ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺ-
ลีนสฺส ได้แก่เร้นอยู่ผู้เดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ ให้เป็น
คำตรัสของพระสัพพัญญู จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมตํ มหาราช ดังนี้.
บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส แปลว่า ผู้ถูกความตายครอบงำแล้ว.
จบอรรถกถาปิยสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!