15-106 ชันตุเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๕. ชันตุสูตร
ว่าด้วยชันตุเทพบุตร
[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากอยู่ในกุฎีป่า ข้างภูเขาหิมพานต์ แคว้นโกศล เป็นผู้
ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
มีจิตกวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์
[๒๙๔] ครั้นในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้กล่าว
กับภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า
ในกาลก่อน พวกภิกษุสาวกของพระโคดม
เป็นอยู่เรียบง่าย ไม่มักมากการแสวงหาบิณฑบาต
ไม่มักมากที่นอนที่นั่ง
ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกเป็นของไม่เที่ยง
จึงกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนเป็นคนเลี้ยงยาก
กิน ๆ แล้วก็นอนเหมือนคนที่โกงชาวบ้าน
หมกมุ่นอยู่ในเรือนของคนอื่น
ข้าพเจ้าทำอัญชลีต่อสงฆ์แล้ว
ขอพูดกับท่านบางพวกในที่นี้ว่า
พวกท่านถูกเขาทอดทิ้งแล้ว เป็นคนอนาถาเหมือนเปรต
ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอาบุคคลพวกที่ประมาทอยู่
ส่วนท่านเหล่าใดไม่ประมาท
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านเหล่านั้น A
ชันตุสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
๑ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๓๓ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้

บาลี



ชนฺตุสุตฺต
[๒๙๓] เอวมฺเม สุต เอก สมย สมฺพหุลา ภิกฺขู โกสเลสุ
วิหรนฺติ หิมวนฺตปสฺเส อรฺกุฏิกาย อุทฺธตา อุนฺนฬา จปลา
มุขรา วิกิณฺณวาจา มุฏฺสฺสติโน อสมฺปชานา อสมาหิตา วิพฺภนฺตจิตฺตา ๑
ปากตินฺทฺริยา ฯ
[๒๙๔] อถ โข ชนฺตุ เทวปุตฺโต ตทหุโปสเถ ปณฺณรเส ๒ เยน
เต ภิกฺขู เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เต ภิกฺขู คาถาหิ อชฺฌภาสิ
สุขชีวิโน ปุเร อาสุ ภิกฺขู โคตมสาวกา
อนิจฺฉา ปิณฺฑเมสนา อนิจฺฉา สยนาสน
โลเก อนิจฺจต ตฺวา ทุกฺขสฺสนฺตมกสุ เต
ทุปฺโปส กตฺวา อตฺตาน คาเม คามณิกา วิย
ภุตฺวา ภุตฺวา นิปชฺชนฺติ ปราคาเรสุ มุจฺฉิตา
สฆสฺส อฺชลึ กตฺวา อิเธกจฺเจ วทามห
อปวิฏฺา ๓ อนาถา เต ยถา เปตา ตเถว เต ๔
เย โข ปมตฺตา วิหรนฺติ เต เม สนฺธาย ภาสิต
เย อปฺปมตฺตา วิหรนฺติ นโม เตส กโรมหนฺติ ฯ

******************

๑ วิพฺภตฺตจิตฺตาติปิ ปาโ ฯ
๒ ปนฺนรเสติ วา ปาโ ฯ ๓ ยุ. อปวิทฺธา ฯ ๔ สี. จ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาชันตุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในชันตุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า โกสเลสุ วิหรนฺติ ความว่า เหล่าภิกษุเป็นอันมาก รับ
กัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากันไปอยู่แคว้นโกศล. บทว่า
อุทฺธตา ได้แก่ เป็นผู้มีปกติฟุ้งซ่าน เพราะสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร
สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร สำคัญในที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ สำคัญในสิ่งที่มีโทษ
ว่าไม่มีโทษ. บทว่า อุนฺนฬา ได้แก่ มีมานะดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น ท่านอธิบายว่า
ยกมานะที่เปล่า ๆ ขึ้น. บทว่า จปลา ได้แก่ ประกอบด้วยความฟุ้งเฟ้อ
มีแต่งบาตรจีวรเป็นต้น. บทว่า มุขรา แปลว่า ปากกล้า ท่านอธิบายว่า
มีถ้อยคำกร้าว. บทว่า วิกิณฺณวาจา ได้แก่ ไม่ประหยัดถ้อยคำ [เพ้อเจ้อ]
เจรจาถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ได้ทั้งวัน. บทว่า มุฏฺฐสฺสติ ได้แก่ มีสติหายไป
เว้นจากสติ กิจที่ทำในที่นี้ ภิกษุทั้งหลายก็หลงลืมเสียในที่นี้. บทว่า อสมฺป-
ชานา ได้แก่ ปราศจากความรอบรู้. บทว่า อสมาหิตา ได้แก่ เว้นจาก
สมาธิที่เป็นอัปปนาและอุปจาระ เสมือนเรือที่ผูกไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว. บทว่า
วิพฺภนฺตจิตฺตา ได้แก่ มีจิตไม่มั่นคง เสมือนมฤคร้ายที่ขึ้นทาง. บทว่า
ปากตินฺทฺริยา ได้แก่ มีอินทรีย์เปิดเหมือนครั้งเป็นคฤหัสถ์ เพราะไม่มี
ความสำรวม. บทว่า ชนฺตุ ได้แก่ เทพบุตรมีนามอย่างนี้. บทว่า ตทหุ
โปสเถ ได้แก่ ในอุโบสถวันนั้น อธิบายว่า ในวันอุโบสถ. ศัพท์ว่า ปณฺณรเส
ห้ามวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำเป็นต้นเสีย. บทว่า อุปสงฺกมิ ได้แก่ เข้าไปหาเพื่อ
ทักท้วง ได้ยินว่า ชันตุเทพบุตรนั้นคิดว่า ภิกษุเหล่านี้รับกัมมัฏฐานในสำนัก
ของพระศาสดาแล้ว พากันออกไป บัดนี้ ก็อยู่เป็นผู้ประมาท ก็แก่ภิกษุเหล่านี้
ถูกเราทักท้วงในสถานที่นั่งแยก ๆ กัน จัก ไม่ถือคำเรา จำเราจักทักท้วงในเวลา
ที่มารวมกันถึงวันอุโบสถ รู้ว่าภิกษุเหล่านั้นประชุมกัน แล้วจึงเข้าไปหา. บทว่า
คาถาย อชฺฌภาสิ ความว่า เทพบุตรยืนอยู่ท่ามกลางเหล่าภิกษุทั้งหมด
ได้กล่าวด้วยคาถาทั้งหลาย ในคาถาเหล่านั้น เพราะเหตุที่สภาพมิใช่คุณ [โทษ]
ของผู้ไร้คุณ ย่อมปรากฏพร้อมกับการกล่าวคุณ ฉะนั้น เทพบุตรเมื่อกล่าวถึง
คุณก่อน จึงกล่าวคาถาว่า สุขชีวิโน ปุเร อาสุํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุขชีวิโน ปุเร อาสุํ ความว่า พวกภิกษุแต่ก่อน เป็นผู้บำรุงเลี้ยงง่าย
เทพบุตรกล่าวอย่างนี้ โดยอธิบายว่า พวกภิกษุแต่ก่อน ยังชีพให้เป็นไปด้วย
อาหารคลุกกัน ซึ่งเที่ยวไปตามลำดับตรอกในตระกูลสูงและต่ำได้มา. บทว่า
อนิจฺฉา ได้แก่ ปราศจากตัณหา เทพบุตรครั้นกล่าวคุณของเหล่าภิกษุเก่าก่อน
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ทุปฺโปสํ
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า คาเม คามณิกา วิย เทพบุตร
กล่าวอธิบายว่า เปรียบเหมือนนายบ้าน เยี่ยมประชาชนในตำบลบ้าน ให้
ลูกบ้านนำนมสดนมส้มข้าวสาร เป็นต้น มากิน ฉันใด แม้พวกท่าน ตั้งอยู่ใน
อเนสนา แสวงหาไม่สมควร มาเลี้ยงชีวิตของพวกท่าน ก็ฉันนั้น. บทว่า
นิปชฺชนฺติ ได้แก่ ไม่ต้องการด้วยการเรียนอุเทศ สอบถาม และใส่ใจ
กัมมัฏฐาน นอนปล่อยมือเท้าอยู่บนที่นอน. บทว่า ปราคาเรสุ ความว่า
ในเรือนของผู้อื่น คือในเรือนสะใภ้ของตระกูลเป็นต้น. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่
หมกมุ่น ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า เอกจฺเจ ได้แก่ พวกที่ควรจะกล่าวถึง
นี่แหละ. บทว่า อปวิฏฺฐา ได้แก่ ที่เขาทอดทิ้งแล้ว. บทว่า อนาถา ได้แก่
ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า เปตา ได้แก่ คนที่ตายแล้ว เขาทิ้งในป่าช้า เปรียบเหมือน
คนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ย่อมถูกนกต่าง ๆ เป็นต้นจิกกิน แม้เหล่าญาติก็
เป็นที่พึ่งของคนเหล่านั้นไม่ได้ รักษาไม่ได้ คุ้มครองไม่ได้ ฉันใด ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นปานนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน
แต่สำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงถูก
ทอดทิ้งไม่มีที่พึ่ง เป็นเหมือนคนตายที่เขาละทิ้งแล้ว ฉะนั้น.
จบอรรถกถาชันตุสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!