15-104 เสรีเทพบุตร
พระไตรปิฎก
๓. เสรีสูตร
ว่าด้วยเสรีเทพบุตร
[๒๘๒] เสรีเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคด้วยคาถาว่า
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก
ต่างก็พอใจข้าวด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนผู้ที่ไม่พอใจข้าว ชื่อว่ายักษ์โดยแท้ A
[๒๘๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใสให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
[๒๘๔] เสรีเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใส ให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
[๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน
มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน ข้าพระองค์ได้
ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย
ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน ครั้นต่อมาพวกฝ่ายในพากันเข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว ได้กล่าว
ดังนี้ว่า ‘พระองค์ทรงให้ทาน แต่พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทานเลย เป็นการชอบที่พวก
หม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองเป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน
เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบ
ประตูด้านที่ ๑ ให้พวกฝ่ายในไป พวกฝ่ายในก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น ทานของ
ข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมาพวกกษัตริย์พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ได้
ตรัสดังนี้ว่า ‘พระองค์ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทาน
เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญ
บ้าง’ ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชม
คุณแห่งทาน เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์
จึงมอบประตูด้านที่ ๒ ให้แก่พวกกษัตริย์ไป พวกกษัตริย์ก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น
ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมาพวกพลกาย(ข้าราชการฝ่ายทหาร) เข้าไป
หาข้าพระองค์ได้กล่าวดังนี้ว่า ‘พระองค์ก็ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวก
กษัตริย์ก็ทรงให้ทาน พวกหม่อมฉันมิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้
อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน เมื่อมีผู้พูดว่า
‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบประตูด้านที่ ๓ ให้พวก
พลกายไป พวกพลกายก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมามีพวกพราหมณคหบดีเข้าไปหาข้าพระองค์
ได้กล่าวดังนี้ว่า ‘พระองค์ก็ทรงให้ทาน พวกฝ่ายในก็ให้ทาน พวกกษัตริย์ก็ทรง
ให้ทาน พวกพลกายก็ให้ทาน แต่พวกหม่อมฉันมิได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวก
หม่อมฉันจะได้อาศัยใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ทานและทำบุญบ้าง’ ข้าพระองค์
ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้กล่าวชมคุณแห่งทาน’
เมื่อมีผู้พูดว่า ‘พวกหม่อมฉันจะให้ทาน’ เราจะว่าอะไรได้’ ข้าพระองค์จึงมอบประตู
ด้านที่ ๔ ให้พวกพราหมณคหบดีไป พวกพราหมณคหบดีก็พากันให้ทานที่ประตูนั้น
ทานของข้าพระองค์จึงลดไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกบุรุษทั้งหลายต่างพากันไปหาข้าพระองค์ ได้กล่าว
ดังนี้ว่า ‘บัดนี้พระองค์จะไม่ทรงให้ทานในที่ไหน ๆ อีกหรือ’ เมื่อเขากล่าวอย่างนี้
ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในชนบท
ภายนอก ที่ใดมีรายได้ดีเกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมส่งเข้าไปในวังกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่ง
พวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทางไกล วณิพก และยาจก
ทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด’ ข้าพระองค์จึงยังไม่ถึงที่สุดแห่งบุญที่ได้ทำไว้ตลอดกาลนาน
อย่างนี้ (ที่สุด)แห่งกุศลธรรมที่ได้ทำไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ว่า ‘บุญเท่านี้(พอแล้ว)’
ว่า ‘ผลของบุญเท่านี้(พอแล้ว)’ หรือว่า ‘บุญเท่านี้(พอแล้ว)ที่เราพึงดำรงอยู่ในสวรรค์’
[๒๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า
ชนเหล่าใดมีใจเลื่อมใส ให้ข้าวนั้นด้วยศรัทธา
ข้าวนั้นเองย่อมค้ำชูชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า”
เสรีสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๔๓ หน้า ๕๙ ในเล่มนี้
บาลี
เสรีสุตฺต
[๒๘๒] เอกมนฺต ิโต โข เสรี เทวปุตฺโต ภควนฺต คาถาย
อชฺฌภาสิ
อนฺนเมวาภินนฺทนฺติ อุภโย ๑ เทวมานุสา
อถ โข นาม โส ยกฺโข ย อนฺน นาภินนฺทตีติ ฯ
[๒๘๓] เย น ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺน ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉร ทชฺชา ทาน มลาภิภู
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
[๒๘๔] อจฺฉริย ภนฺเต อพฺภูต ภนฺเต ยาว สุภาสิตฺจิท ๒
ภนฺเต ภควตา
เย น ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺน ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉร ทชฺชา ทาน มลาภิภู
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
[๒๘๕] ภูตปุพฺพาห ภนฺเต เสรี นาม ราชา อโหสึ ทายโก
ทานปติ ทานสฺส วณฺณวาที ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต จตูสุ ทฺวาเรสุ
ทาน ทียิตฺถ สมณพฺราหฺมณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกาน ฯ อถ
โข ม ภนฺเต อิตฺถาคาร อุปสงฺกมิตฺวา เอตทโวจ เทวสฺส โข
ทาน ทียติ อมฺหาก ทาน น ทียติ สาธุ มยมฺปิ เทว นิสฺสาย
ทานานิ ทเทยฺยาม ปฺุานิ กเรยฺยามาติ ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต
เอตทโหสิ อห โขสฺมิ ทายโก ทานปติ ทานสฺส วณฺณวาที
ทาน ทสฺสามาติ วทนฺเต ๓ กินฺติ วเทยฺยนฺติ ฯ โส ขฺวาห ภนฺเต
ปมทฺวาร อิตฺถาคารสฺส อทาสึ ตตฺถ อิตฺถาคารสฺส ทาน ทียิตฺถ
มม ทาน ปฏิกฺกมิ ฯ อถ โข ม ภนฺเต ขตฺติยา อนุยุตฺตา ๔
อุปสงฺกมิตฺวา ม เอตทโวจุ เทวสฺส โข ทาน ทียติ อิตฺถาคารสฺส
ทาน ทียติ อมฺหาก ทาน น ทียติ สาธุ มยมฺปิ เทว
นิสฺสาย ทานานิ ทเทยฺยาม ปฺุานิ กเรยฺยามาติ ฯ ตสฺส มยฺห
ภนฺเต เอตทโหสิ อห โขสฺมิ ทายโก ทานปติ ทานสฺส วณฺณวาที
ทาน ทสฺสามาติ วทนฺเต กินฺติ วเทยฺยนฺติ ฯ โส ขฺวาห ภนฺเต
ทุติยทฺวาร ขตฺติยาน อนุยุตฺตาน ๕ อทาสึ ตตฺถ ขตฺติยาน อนุยุตฺตาน
ทาน ทียิตฺถ มม ทาน ปฏิกฺกมิ ฯ อถ โข ม ภนฺเต
พลกาโย อุปสงฺกมิตฺวา เอตทโวจ เทวสฺส โข ทาน ทียติ
อิตฺถาคารสฺส ทาน ทียติ ขตฺติยาน อนุยุตฺตาน ทาน ทียติ
อมฺหาก ทาน น ทียติ สาธุ มยมฺปิ เทว นิสฺสาย ทานานิ
ทเทยฺยาม ปฺุานิ กเรยฺยามาติ ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอตทโหสิ
อห โขสฺมิ ทายโก ทานปติ ทานสฺส วณฺณวาที ทาน ทสฺสามาติ
วทนฺเต กินฺติ วเทยฺยนฺติ ฯ โส ขฺวาห ภนฺเต ตติยทฺวาร พลกายสฺส
อทาสึ ตตฺถ พลกายสฺส ทาน ทียิตฺถ มม ทาน ปฏิกฺกมิ ฯ
อถ โข ม ภนฺเต พฺราหฺมณคหปติกา อุปสงฺกมิตฺวา เอตทโวจุ
เทวสฺส โข ทาน ทียติ อิตฺถาคารสฺส ทาน ทียติ ขตฺติยาน
อนุยุตฺตาน ทาน ทียติ พลกายสฺส ทาน ทียติ อมฺหาก ทาน
น ทียติ สาธุ มยมฺปิ เทว นิสฺสาย ทานานิ ทเทยฺยาม ปฺุานิ
กเรยฺยามาติ ฯ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอตทโหสิ อห โขสฺมิ
ทายโก ทานปติ ทานสฺส วณฺณวาที ทาน ทสฺสามาติ วทนฺเต
กินฺติ วเทยฺยนฺติ ฯ โส ขฺวาห ภนฺเต จตุตฺถทฺวาร พฺราหฺมณคหปติกาน
อทาสึ ตตฺถ พฺราหฺมณคหปติกาน ทาน ทียิตฺถ มม
ทาน ปฏิกฺกมิ ฯ อถ โข ม ภนฺเต ปุริสา อุปสงฺกมิตฺวา เอตทโวจุ
น โขทานิ เทวสฺส โกจิ ทาน ทียตีติ ฯ เอว วุตฺตาห ๖ ภนฺเต เต
ปุริเส เอตทโวจ เตนหิ ภเณ โย พาหิเรสุ ชนปเทสุ อาโย
สฺชายติ ตโต อุปฑฺฒ อนฺเตปุร ปเวเสถ อุปฑฺฒ ตตฺเถว ทาน
เทถ สมณพฺราหฺมณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกานนฺติ ฯ โส ขฺวาห
ภนฺเต เอว ทีฆรตฺต กตาน ปฺุาน เอว ทีฆรตฺต กตาน กุสลาน ๗
ปริยนฺต นาธิคจฺฉามิ เอตฺตก ปฺุนฺติ วา เอตฺตโก ปฺุวิปาโกติ
วา เอตฺตก สมคฺเค ๘ าตพฺพนฺติ วาติ ฯ
[๒๘๖] อจฺฉริย ภนฺเต อพฺภูต ภนฺเต ยาว สุภาสิตฺจิท
ภนฺเต ภควตา
เย น ททนฺติ สทฺธาย วิปฺปสนฺเนน เจตสา
ตเมว อนฺน ภชติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉร ทชฺชา ทาน มลาภิภู
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
******************
๑ โป. ม. อุภเย ฯ ๒ ม. สุภาสิตมิท ฯ ยุ. สุภาสิต อิท ฯ
๓ ยุ. วทนฺตาน ฯ ๔ โป. ม. อนุยนฺตา ฯ ๕ โป. ม. อนุยนฺตาน ฯ
๖ โป. ยุ. วุตฺโตห ฯ ๗ โป. ม. เอตฺถนฺตเร ธมฺมานนฺติ อตฺถิ ฯ
๘ โป. มคฺเค ม. ยุ. สคฺเค ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาเสรีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเสรีสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า ทายโก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ. บทว่า ทานปติ ได้แก่
เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วให้ ไม่ใช่เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย. จริงอยู่ ผู้ใด
บริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็น
ทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาน ให้ทาน [ทาสทาน]. ก็ผู้ใดบริโภคของใดด้วย
ตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน [สหายทาน]. ส่วน
ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่า
เป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน [ทานบดี]. เสรีเทพบุตรนั้นกล่าวว่า
ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นนั้น.
บทว่า จตูสุ ทฺวาเรสุ ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น
ได้มีรัฐ ๒ รัฐ คือ สินธวรัฐ และ โสวีรกรัฐ. มีนครชื่อโรรุวนครที่ประตู
แต่ละประตูแห่งนครนั้น เกิดทรัพย์แสนหนึ่งทุก ๆ วัน ณ สถานที่วินิจฉัย-
คดี ภายในนคร ก็เกิดทรัพย์แสนหนึ่ง. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นกองเงิน
กองทองเป็นอันมาก ทำให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ โปรดให้สร้างโรงทานทั้ง ๔
ประตู แต่งตั้งอมาตย์ เจ้าหน้าที่ไว้สั่งว่า พวกเจ้าจงเอารายได้ที่เกิดขึ้น ณ ประตู
นั้น ๆ ให้ทาน ด้วยเหตุนั้น เสรีเทพบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ให้ทานทั้ง ๔ ประตู
ในคำว่า สมณพฺราหฺมรณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกานํ นี้ ผู้ถือบวช
ชื่อว่า สมณะ ผู้มีปกติทูลว่าผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ แต่สมณพราหมณ์ที่ว่า
นี้ ไม่ได้ในสมณพราหมณ์ ผู้สงบบาปและผู้ลอยบาป คนเข็ญใจ คนยากจน
มีคนตาบอด คนง่อยเป็นต้น ชื่อว่า กปณะ. คนกำพร้า คนเดินทาง ชื่อว่า
อัทธิกะ. คนเหล่าใด เที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนา น่า
ใคร่ น่าพอใจ ให้ตามกาลให้ทานที่ไม่มีโทษ ทำจิตให้ผ่องใส ท่านผู้เจริญ
ก็จะไปพรหมโลกดังนี้เป็นต้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า วณิพก. ชนเหล่าใดกล่าว
ว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเกิด ดังนี้เป็นต้น เที่ยวขอไป
ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายาจก. บทว่า อิฏฺฐาคารสฺส ทานํ ทิยิตฺถ ความว่า
พวกฝ่ายในได้ให้ทานมากกว่าทานที่พระราชาพระราชทาน เพราะเติมทรัพย์แม้
ส่วนอื่นลงในทรัพย์แสนหนึ่ง ซึ่งเกิดที่ประตูนั้น เพราะได้รับประตูแรก ถอน
อมาตย์ของพระราชาเสียตั้งอมาตย์ของตนทำหน้าที่แทน. เสรีเทพบุตรหมายเอา
ข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า มม ทานํ ปฏิกฺกมิ ความว่า ทานของ
ข้าพระองค์ที่ให้ ณ ประตูนั้น ก็เปลี่ยนไป แม้ในประตูที่เหลือก็นัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า โกจิ แปลว่า ในที่ไหน ๆ. บทว่า ทีฆรตฺตํ ได้แก่ ๘๐,๐๐๐
ปี ได้ยินว่า ทานของพระราชาพระองค์นั้น ปรากฏตลอดกาลประมาณเท่านั้น.
จบอรรถกถาเสรีสูตรที่ ๓