15-099 กกุธเทพบุตร
พระไตรปิฎก
๘. กกุธสูตร
ว่าด้วยกกุธเทพบุตร
[๒๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน สถานที่พระราชทาน
อภัยแก่หมู่เนื้อ เขตเมืองสาเกต ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป กกุธเทพบุตรมีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระอัญชนวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๒๖๗] ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระสมณะ พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อาวุโส เราได้อะไรเล่า”
“ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ”
“อาวุโส เราเสื่อมเสียอะไรเล่า”
“ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้น พระองค์ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ”
“เป็นเช่นนั้น อาวุโส”
[๒๖๘] กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภิกษุ
พระองค์ไม่ทรงมีความทุกข์บ้างหรือ
ไม่ทรงมีความเพลิดเพลินบ้างหรือ
ความไม่ยินดีไม่ครอบงำพระองค์ผู้อยู่ผู้เดียวหรือ
[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ยักษ์ เราไม่มีความทุกข์และความเพลิดเพลิน
อนึ่ง ความไม่ยินดีก็ไม่ครอบงำเราผู้อยู่ผู้เดียว
[๒๗๐] กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นภิกษุ
ทำไมพระองค์จึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเพลิดเพลิน
ทำไมความไม่ยินดีจึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้อยู่ผู้เดียว
[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้มีความทุกข์เท่านั้นจึงมีความเพลิดเพลิน
ผู้มีความเพลิดเพลินเท่านั้นจึงมีความทุกข์
(ส่วน)ภิกษุเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน เป็นผู้ไม่มีความทุกข์
ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด อาวุโส
[๒๗๒] กกุธเทพบุตรกราบทูลว่า
นานจริงหนอ ข้าพระองค์จึงจะพบเห็นภิกษุ
ผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ดับสนิทแล้ว ไม่มีความเพลิดเพลิน
ไม่มีความทุกข์ ผู้ข้ามพ้นเครื่องข้องในโลกได้แล้ว
กกุธสูตรที่ ๘ จบ
บาลี
กกุธสุตฺต
[๒๖๖] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาเกเต วิหรติ
อฺชนวเน มิคทาเย ฯ อถ โข กกุโธ เทวปุตฺโต อภิกฺกนฺตาย
รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป อฺชนวน โอภาเสตฺวา เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๒๖๗] เอกมนฺต ิโต โข กกุโธ เทวปุตฺโต ภควนฺต เอตทโวจ
นนฺทสิ สมณาติ ฯ กึ ลทฺธา อาวุโสติ ฯ เตน หิ สมณ โสจสีติ ฯ
กึ ชียิตฺถ อาวุโสติ ฯ เตน หิ สมณ เนว นนฺทสิ เนว โสจสีติ ฯ
เอวมาวุโสติ ฯ
[๒๖๘] กจฺจิ ตฺว อนิโฆ ๑ ภิกฺขุ กจฺจิ นนฺทิ น วิชฺชติ
กจฺจิ ตเมกมาสีน อรตี ๒ นาภิกีรตีติ ฯ
[๒๖๙] อนิโฆ เว อห ยกฺข อโถ นนฺทิ ๓ น วิชฺชติ
อโถ มเมกมาสีน อรตี นาภิกีรตีติ ฯ
[๒๗๐] กถ ตฺว อนิโฆ ภิกฺขุ กถ นนฺทิ น วิชฺชติ
กถ ตเมกมาสีน อรตี นาภิกีรตีติ ฯ
[๒๗๑] อฆชาตสฺส เว นนฺทิ นนฺทิชาตสฺส เว อฆ
อนนฺทิ อนิโฆ ภิกฺขุ เอว ชานาหิ อาวุโสติ ฯ
[๒๗๒] จิรสฺส วต ปสฺสามิ พฺราหฺมณ ปรินิพฺพุต
อนนฺทึ อนิฆ ภิกฺขุ ติณฺณ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
******************
๑ ม. อนโฆ ฯ ๒ โป. ม. ยุ. อรติ ฯ ๓ ม. ยุ. นนฺที ฯ
อรรถกถา
อรรถกถากกุธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกกุธสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
บทว่า กกุโธ เทวปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้
เป็นบุตรอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ ในโกฬนคร เมื่อวัยรุ่นอยู่ใน
สำนักของพระเถระ ทำฌานให้เกิดแล้ว ทำกาละ [ตาย] ไปอุบัติในพรหมโลก
แม้ในพรหมโลกนั้น เหล่าพรหมก็รู้จักเขาว่ากกุธพรหมนั่นแล. บทว่า นนฺทสิ
แปลว่า ยินดี. บทว่า กึ ลทฺธา ความว่า บุคคลได้ของที่พอใจไร ๆ ชื่อว่า
ผู้ยินดี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กึ ชิยิตฺถ
ความว่า ก็ผู้ใดเสื่อมเสียสิ่งของมีผ้าเป็นต้นที่พอใจไร ๆ ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อรติ นาภิกีรติ
ความว่า ความระอาย่อมไม่ครอบงำ. บทว่า อฆชาตสฺส ความว่า ผู้เกิดทุกข์
คือตั้งอยู่ในวัฏทุกข์. บทว่า นนฺทิชาตสฺส ได้แก่ ผู้เกิดตัณหา. จริงอยู่
วัฏทุกข์ของบุคคลเห็นปานนั้นก็มา [เรียก] ว่า อฆะ. สมจริง ดังคำที่
ท่านกล่าวว่า ผู้เป็นทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข. ดังนั้น ความยินดี จึงมีแก่ผู้
เกิดทุกข์. ส่วนทุกข์ก็มาเหมือนกัน เมื่อสุขแปรปรวนไป เหตุนั้น ทุกข์จึงมี
แก่ผู้เกิดความยินดี.
จบอรรถกถากกุธสูตรที่ ๘