15-091 สุริยเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๑๐. สุริยสูตร
ว่าด้วยสุริยเทพบุตร
[๒๔๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น สุริยเทพบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับตัวไว้ ครั้งนั้น สุริยเทพบุตรระลึกถึง
พระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้า
ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์
พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
ข้าพระองค์ตกอยู่ในภาวะคับขัน
ขอพระองค์จงเป็นสรณะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด A
[๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทพบุตร ได้ตรัสกับอสุรินทราหู
ด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทพบุตรถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์เป็นสรณะ
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเถิด
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์สัตว์โลก
สุริยเทพบุตรเป็นผู้ส่องแสง ทำความสว่างในที่มืดมิด
มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง
ท่านอย่าอมสุริยเทพบุตรผู้เที่ยวไปในอากาศเลย
ราหู ท่านจงปล่อยสุริยเทพบุตรผู้เป็นบุตรของเราเสียเถิด
[๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหูปล่อยสุริยเทพบุตรแล้วก็เร่งรีบเข้าไปหาท้าวเวปจิตติ
จอมอสูรถึงที่อยู่ เป็นผู้เศร้าสลดใจ เกิดขนพองสยองเกล้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๒๔๙] ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกับอสุรินทราหูผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ด้วยคาถาว่า
ราหู ทำไมท่านจึงรีบปล่อยสุริยเทพบุตรเสียเล่า
ทำไมท่านจึงเศร้าสลดใจ มายืนกลัวอยู่เล่า
[๒๕๐] อสุรินทราหูกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า
หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยสุริยเทพบุตร
ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก ๗ เสี่ยง
มีชีวิตอยู่ก็จะไม่ได้รับความสุขเลย๑
สุริยสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๙๐ หน้า ๙๖ ในเล่มนี้

บาลี



สุริยสุตฺต
[๒๔๖] เตน โข ปน สมเยน สุริโย เทวปุตฺโต ราหุนา
อสุรินฺเทน คหิโต โหติ ฯ อถ โข สุริโย เทวปุตฺโต ภควนฺต
อนุสฺสรมาโน ตาย เวลาย อิม คาถ อภาสิ
นโม เต พุทฺธวีรตฺถุ วิปฺปมุตฺโตสิ สพฺพธิ
สมฺพาธปฏิปนฺโนสฺมิ ตสฺส เม สรณ ภวาติ ฯ
[๒๔๗] อถ โข ภควา สุริย เทวปุตฺต อารพฺภ ราหุ อสุรินฺท
คาถาย อชฺฌภาสิ
ตถาคต อรหนฺต สุริโย สรณ คโต
ราหุ สุริย ปมุฺจสฺสุ พุทฺธา โลกานุกมฺปกา
โย อนฺธกาเร ตมสี ปภงฺกโร
เวโรจโน มณฺฑลิ อุคฺคเตโช
มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข
ปช มม ราหุ ปมุฺจ สุริยนฺติ ฯ
[๒๔๘] อถ โข ราหุ อสุรินฺโท สุริย เทวปุตฺต มุฺจิตฺวา
ตรมานรูโป เยน เวปจิตฺติ อสุรินฺโท เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา
สวิคฺโค โลมหฏฺชาโต เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๒๔๙] เอกมนฺต ิต โข ราหุ อสุรินฺท เวปจิตฺติ อสุรินฺโท
คาถาย อชฺฌภาสิ
กินฺนุ สนฺตรมาโนว ราหุ สุริย ปมุฺจสิ
สวิคฺครูโป อาคมฺม กินฺนุ ภีโตว ติฏฺสีติ ฯ
[๒๕๐] สตฺตธา เม ผเล มุทฺธา ชีวนฺโต น สุข ลเภ
พุทฺธคาถาภิคีโตมฺหิ โน เจ มุฺเจยฺย สุริยนฺติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาสุริยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-
บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน. บทว่า อนฺธ-
กาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุ
วิญญาณ. บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องสว่าง. บทว่า มณฺฑลี ได้แก่
มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย. ถามว่า
ก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ. ตอบว่า กลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมี
อัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ช่วงแขน ยาว ๑,๒๐๐
โยชน์ ว่าโดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์
ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์ คิ้ว ๒๐๐ โยชน์ ปาก ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์
ขอบปากลึก ๓๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา ๒๐๐ โยชน์ ข้อนิ้ว ๑๕ โยชน์.
ราหูนั้นเห็นจันทระและสุริยะ ส่องสว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่
วิถีโคจรของจันทรและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่. จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็น
ประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก ๓๐๐ โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมาน
ถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน
บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้ม
เหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็
ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมาน
นั้นน้อมเข้ามา. เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน. บทว่า
ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือ จันทระและสุริยะ บรรลุ
โสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ปชํ มม อธิบาย นั่นเป็นบุตรของเรา.
จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!