15-089 ตายนเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๘. ตายนสูตร
ว่าด้วยตายนเทพบุตร

[๒๓๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ตายนเทพบุตรผู้เคยเป็นเจ้าลัทธิมาก่อน มีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๒๓๙] ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแส A
จงบรรเทากามเสียเถิด
เพราะหากมุนีไม่ละกาม
ย่อมเข้าถึงความมีจิตแน่วแน่ B ไม่ได้
ถ้าบุคคลจะทำความเพียร
พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ
พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่นคง
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน
ย่อมโปรยธุลีคือกิเลสให้แปดเปื้อนยิ่งขึ้น
ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง
ความดีใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทำความดีนั้นดีกว่า
หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี
ย่อมบาดมือแน่นอน ฉันใด
ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี
ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น
กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทั้ง ๓ นั้นไม่มีผลมาก C
ตายนเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำ
ประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๒๔๐] ครั้นเมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ ตายนเทพบุตรผู้เคยเป็นเจ้าลัทธิมาก่อน มีวรรณะงดงาม
ยิ่งนัก เมื่อราตรีผ่านไป เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของเราว่า
พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแส
จงบรรเทากามเสียเถิด
เพราะหากมุนีไม่ละกาม
ย่อมเข้าถึงความมีจิตแน่วแน่ไม่ได้
ถ้าบุคคลจะทำความเพียร
พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ
พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่นคง
เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน
ย่อมโปรยธุลีคือกิเลสให้แปดเปื้อนยิ่งขึ้น
ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า
เพราะทำแล้วย่อมเดือดร้อนภายหลัง
ความดีใดทำแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง
ทำความดีนั้นดีกว่า
หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี
ย่อมบาดมือแน่นอน ฉันใด
ความเป็นสมณะที่บุคคลปฏิบัติไม่ดี
ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น
กรรมที่ย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรที่เศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่พึงระลึกถึงด้วยความระแวงสงสัย
ทั้ง ๓ นั้นไม่มีผลมาก
ตายนเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้วได้อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง เธอทั้งหลาย จงศึกษา เล่าเรียน ทรงจำตายนคาถาไว้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ D ”
ตายนสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A กระแส ในที่นี้หมายถึงกระแสแห่งตัณหา (สํ.ส.อ. ๑/๘๙/๑๐๓)
B ความมีจิตแน่วแน่ หมายถึงฌาน (สํ.ส.อ. ๑/๘๙/๑๐๓)
C ดู ขุ.ธ. ๒๕/๓๑๑-๓๑๔/๗๐-๗๑
D พรหมจรรย์ หมายถึงมรรคพรหมจรรย์ (สํ.ส.อ. ๑/๘๙/๑๐๓)

บาลี



ตายนสุตฺต
[๒๓๘] อถ โข ตายโน เทวปุตฺโต ปุราณติตฺถกโร อภิกฺกนฺตาย
รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
อฏฺาสิ ฯ
[๒๓๙] เอกมนฺต ิโต โข ตายโน เทวปุตฺโต ภควโต สนฺติเก
อิมา คาถาโย อภาสิ
ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
นปฺปหาย มุนิ กาเม เนกตฺตมุปปชฺชติ
กยิรา เจ กยิราเถน ทฬฺหเมน ปรกฺกเม
สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รช
อกต ทุกฺกฏ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏ
กตฺจ สุกต เสยฺโย ย กตฺวา นานุตปฺปติ
กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามฺ ทุปฺปรามฏฺ นิรยายูปกฑฺฒติ
ยงฺกิฺจิ สิถิล กมฺม สงฺกิลิฏฺฺจ ย วต
สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย น ต โหติ มหปฺผลนฺติ ฯ
อิทมโวจ ตายโน เทวปุตฺโต อิท วตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
[๒๔๐] อถ โข ภควา ตสฺสา รตฺติยา อจฺจเยน ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อิม ภิกฺขเว รตฺตึ ตายโน นาม เทวปุตฺโต ปุราณติตฺถกโร
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา
เยนาห เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ม อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
อฏฺาสิ เอกมนฺต ิโต โข ตายโน เทวปุตฺโต มม สนฺติเก
อิมา คาถาโย อภาสิ
ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
นปฺปหาย มุนิ กาเม เนกตฺตมุปปชฺชติ
กยิรา เจ กยิราเถน ทฬฺหเมน ปรกฺกเม
สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รช
อกต ทุกฺกฏ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏ
กตฺจ สุกต เสยฺโย ย กตฺวา นานุตปฺปติ
กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามฺ ทุปฺปรามฏฺ นิรยายูปกฑฺฒติ
ยงฺกิฺจิ สิถิล กมฺม สงฺกิลิฏฺฺจ ย วต
สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย น ต โหติ มหปฺผลนฺติ ฯ
อิทมโวจ ภิกฺขเว ตายโน เทวปุตฺโต อิท วตฺวา ม อภิวาเทตฺวาถ
ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายิ อุคฺคณฺหาถ ภิกฺขเว ตายนคาถา
ปริยาปุณาถ ภิกฺขเว ตายนคาถา ธาเรถ ภิกฺขเว ตายนคาถา
อตฺถสฺหิตา ภิกฺขเว ตายนคาถา อาทิพฺรหฺมจริยกาติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาตายนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตายนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
บทว่า ปุราณติตฺถกโร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน. ในคำว่า
ปุราณติตฺถกโร นั้น ทิฎฐิ ๖๒ ชื่อว่า ลัทธิ [ติตถ]. ศาสดาผู้ก่อกำเนิด
ลัทธิเหล่านั้น ชื่อว่า เจ้าลัทธิ คือใคร. คือ นันทะ มัจฉะ กิสะ สังกิจจะ
และที่ชื่อว่า เดียรถีย์ทั้งหลาย มีปุรณะเป็นต้น. ถามว่า ก็ตายนเทพบุตรนี้
ก่อทิฎฐิขึ้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะเป็นกัมมวาที.
ได้ยินว่า ตายนเทพบุตรนี้ ได้ให้อาหารในวันอุโบสถเป็นต้น เริ่มตั้งอาหาร
ไว้สำหรับคนอนาถา ทำที่พัก ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลายได้ทำความดีมาก
แม้อย่างอื่น. เพราะผลวิบากแห่งความดีนั้น เขาจึงบังเกิดในสวรรค์ แต่เขา
ไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์. เขามายังสำนักพระตถาคต
ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่
พระศาสนา จึงกล่าวคาถาว่า ฉินฺท โสตํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน. บทว่า
โสตํ ได้แก่กระแสตัณหา. บทว่า ปรกฺกม ได้แก่ ทำความเพียร. บทว่า
กาเม ได้แก่ กิเลสกามบ้าง วัตถุกามบ้าง. บทว่า ปนูท แปลว่า จงนำออก.
บทว่า เอกตฺตํ ได้แก่ ฌาน. ท่านอธิบายว่า มุนีไม่ละกามทั้งหลาย ย่อมไม่
เข้าถึง คือ ไม่ได้ฌาน. บทว่า กยิรา เจ กยิราเถนํ ความว่า ถ้าบุคคล
พึงทำความเพียรไซร้ ก็ไม่พึงท้อถอยความเพียรนั้น. บทว่า ทฬฺหเมนํ
ปรกฺกเม ความว่า พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง. บทว่า สิถิโล หิ ปริพฺ-
พาโช ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อน ๆ. บทว่า ภิยฺโย อากรเต รชํ
แปลว่า พึงโปรยธุลี คือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย. บทว่า อกตํ ทุกฺกฏํ
เสยฺโย แปลว่า ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า. บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า
มิใช่แต่สามัญญผล คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่ผู้บวชทำชั่วทำไว้อย่างเดียว แม้
กิจกรรมอย่างอื่นอะไร ๆ ที่ผู้บวชทำย่อหย่อน ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า
สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือ ธุดงควัตร ที่สมาทานเพราะ
ปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้ ก็เศร้าหมองทั้งนั้น. บทว่า สงฺกสฺสรํ
ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ ก็จัก
เป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่นี้กระทำแล้ว. บทว่า อาทิ-
พฺรหฺมจริยกา ได้แก่ เป็นเบื้องต้น คือ เป็นที่ปรากฏแห่งมรรคพรหมจรรย์.
จบอรรถกถาตายนสูตรที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!