15-088 ปัญจาลจัณฑเทพบุตร
พระไตรปิฎก
๗. ปัญจาลจัณฑสูตร
ว่าด้วยปัญจาลจัณฑเทพบุตร
[๒๓๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ปัญจาลจัณฑเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคว่า
แม้ในที่คับขัน A ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดินก็ยังได้โอกาส B
ผู้ใดบรรลุฌาน ผู้นั้นเป็นผู้ตื่น
เป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ เป็นมุนี
[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า (ปัญจาลจัณฑะ)
ชนเหล่าใดแม้อยู่ในที่คับขัน
แต่กลับได้สติเพื่อการบรรลุธรรม คือ นิพพาน
ชนเหล่านั้นตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ
ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A ที่คับขัน หมายถึงที่คับขัน ๒ อย่าง คือ (๑) ที่คับขันคือนิวรณ์ (๒) ที่คับขันคือกามคุณ แต่ในที่นี้
หมายถึงที่คับขันคือนิวรณ์ (สํ.ส.อ. ๑/๘๘/๑๐๒)
B โอกาส ในที่นี้หมายถึงฌาน (สํ.ส.อ. ๑/๘๘/๑๐๒)
บาลี
ปฺจาลจณฺฑสุตฺต
[๒๓๖] เอกมนฺต ิโต โข ปฺจาลจณฺโฑ เทวปุตฺโต ภควโต
สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สมฺพาเธ วต โอกาส อวินฺทิ ภูริเมธโส
โย ฌานมพุทฺธิ พุทฺโธ ๑ ปฏิลีนนิสโภ มุนีติ ฯ
[๒๓๗] สมฺพาเธปิ จ ติฏฺนฺติ ๒ [ปฺจาลจณฺฑาติ ภควา]
ธมฺม นิพฺพานปตฺติยา
เย สตึ ปจฺจลตฺถสุ
สมฺมา เต สุสมาหิตาติ ฯ
******************
๑ สี. ฌานมพุทฺธาพุทฺโธ ฯ ๒ สี. ยุ. วาปิ วินฺทนฺติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ต่อไป :-
ในบทว่า สมฺพาเธ ที่คับแคบมี ๒ ได้แก่ ที่คับแคบ คือ นิวรณ์ ที่
คับแคบ คือ กามคุณ. ในที่คับแคบทั้งสองนั้น ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์
เอาที่คับแคบ คือ นิวรณ์. คำว่า โอกาโส นี้เป็นชื่อของฌาน. บทว่า
ปฏิลีนนิสโภ แปลว่า เป็นผู้หลีกออกได้ประเสริฐสุด. ผู้ละมานะได้แล้ว
ตรัสเรียกชื่อว่า ผู้หลีกออก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุเป็นผู้หลีกออกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มี
อัสมิมานะ [ความถือว่าเป็นเรา] อันละได้แล้ว มีมูลอันถอนเสียแล้ว ทำเป็น
ดุจต้นตาลมีรากอันถอนแล้ว ทำให้ไม่มี ไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป ดังนี้. บทว่า
ปจฺจลทฺธํสุ แปลว่า ได้เฉพาะแล้ว. ด้วยบทว่า สมฺมา เต ท่านกล่าวฌาน
ผสมกันไว้ว่า ชนเหล่าใดได้เฉพาะสติ เพื่อบรรลุพระนิพพาน ชนเหล่านั้น
เป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้ว แม้ด้วยโลกุตรสมาธิ.
จบอรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗