15-087 กามทเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๖. กามทสูตร
ว่าด้วยกามทเทพบุตร
[๒๓๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
กามทเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมบำเพ็ญได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรม
บำเพ็ญได้ยากยิ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนทั้งหลายผู้ตั้งมั่นในศีล
ของพระเสขะ ผู้ตั้งตนไว้มั่นคงแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสมณธรรมที่บำเพ็ญได้ยาก
ความสันโดษ A ย่อมนำความสุขมาให้
แก่บุคคลผู้ออกจากเรือนบวช
[๒๓๓] กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
สิ่งที่ได้ยากนี้ คือ ความสันโดษ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด
ยินดีในความสงบทางใจ
มีใจยินดีในการอบรมจิตทั้งกลางวันและกลางคืน
ชนเหล่านั้นย่อมได้แม้สิ่งที่ได้ยาก
[๒๓๔] กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
สิ่งที่ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือ จิต
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร ชนเหล่าใด
ยินดีในความสงบแห่งอินทรีย์
ชนเหล่านั้นย่อมตั้งจิตที่ตั้งมั่นได้ยากให้ตั้งมั่นได้
กามทเทพบุตร พระอริยะเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุได้แล้ว
[๒๓๕] กามทเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ทางที่ไปได้ยาก คือ ทางที่ไม่สม่ำเสมอ B
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
กามทเทพบุตร อริยบุคคลทั้งหลาย
ย่อมไปได้แม้ในทางที่ไปได้ยาก ซึ่งเป็นทางที่ไม่สม่ำเสมอ
ส่วนผู้ไม่ใช่อริยบุคคลย่อมดิ่งศีรษะ
ตกลงไปในทางที่ไม่สม่ำเสมอ
ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยบุคคลทั้งหลาย
เพราะอริยบุคคลทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอในทางที่ไม่สม่ำเสมอ
กามทสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A ความสันโดษ หมายถึงความสันโดษในปัจจัย ๔ (คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช-
บริขาร) (สํ.ส.อ. ๑/๘๗/๑๐๑)
B ทางที่ไม่สม่ำเสมอ ในที่นี้หมายถึงหมู่สัตว์ผู้ไม่สม่ำเสมอ (สํ.ส.อ. ๑/๘๗/๑๐๒)

บาลี



กามทสุตฺต
[๒๓๒] เอกมนฺต ิโต โข กามโท เทวปุตฺโต ภควนฺต
เอตทโวจ ทุกฺกร ภควา สุทุกฺกร ภควาติ ฯ
ทุกฺกร วาปิ กโรนฺติ [กามทาติ ภควา] เสกฺขสีลสมาหิตา ๑ ิตตฺตา
อนคาริยุเปตสฺส ตุฏฺิ โหติ สุขาวหาติ ฯ
[๒๓๓] ทุลฺลภา ภควา ยทิท ตุฏฺีติ ฯ
ทุลฺลภ วาปิ ลภนฺติ [กามทาติ ภควา] จิตฺตวูปสเม รตา
เยส ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต มโนติ ฯ
[๒๓๔] ทุสฺสมาทห ภควา ยทิท จิตฺตนฺติ ฯ
ทุสฺสมาทห วาปิ สมาทหนฺติ [กามทาติ ภควา] อินฺทฺริยูปสเม รตา
เต เฉตฺวา มจฺจุโน ชาล อริยา คจฺฉนฺติ กามทาติ ฯ
[๒๓๕] ทุคฺคโม ภควา วิสโม มคฺโคติ ฯ
ทุคฺคเม วิสเม วาปิ อริยา คจฺฉนฺติ กามท
อนริยา วิสเม มคฺเค ปปตนฺติ อวสิรา
อริยาน สโม มคฺโค อริยา หิ วิสเม สมาติ ฯ

******************

๑ โป. ม. ยุ. เสขาสีลสมาหิตา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถากามทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกามทสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า ทุกฺกรํ ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เคยเป็นพระ-
โยคาวจร ข่มกิเลสทั้งหลาย ด้วยความพากเพียร เพราะเป็นผู้มีกิเลสหนา
กระทำสมณธรรม ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เพราะมีอุปนิสัยในปางก่อนน้อย
กระทำกาละ [ตาย] แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ไปยังสำนักพระตถาคตมา
ด้วยหวังจะทูลบอกว่า. สมณธรรมทำได้ยาก จึงทูลอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุกฺกรํ ความว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทำสมณธรรมให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว
ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ฯลฯ ๖๐ ปีบ้าง ชื่อว่ากระทำได้ยาก. บทว่า เสกฺขา ได้แก่
พระเสขะ ๗. บทว่า สีลสมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นเข้าประกอบแล้วด้วยศีล.
บทว่า ฐิตตฺตา แปลว่า สภาวะที่ตั้งมั่นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรง
แก้ปัญหาที่เทพบุตรทูลถามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงตั้งปัญหาให้สูงขึ้น
ไปอีก จึงตรัสว่า อนคาริยุเปตสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
อนคาริยุเปตสฺส ได้แก่ ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน คือปราศจากเรือน. จริงอยู่
ภิกษุอยู่บนปราสาทแม้ ๗ ชั้น เมื่อถูกพระภิกษุผู้แก่กว่ามาบอกว่า เสนาสนะ
นี้ตกถึงผม ดังนี้ ย่อมถือเอาบาตรจีวรออกไปโดยดี เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน. บทว่า ตุฏฺฐิ ได้แก่
ความสันโดษด้วยปัจจัย ๔. บทว่า ภาวนาย ได้แก่ ในการอบรมความสงบ
แห่งจิต.
บทว่า เต เฉตฺวา มจฺจุโน ชาลํ ความว่า พระอริยะเหล่าใด
ยินดีแล้วในความสงบแห่งอินทรีย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน พระอริยะเหล่านั้น
ย่อมตั้งมั่นจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก. พระอริยะเหล่าใด มีจิตตั้งมั่นแล้ว พระอริยะ
เหล่านั้น ทำความสันโดษในปัจจัย ๔ ให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก พระอริยะ
เหล่าใดสันโดษแล้ว พระอริยเหล่านั้น ทำศีลให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก
พระอริยเหล่าใดตั้งมั่นในศีล พระอริยะเหล่านั้น คือพระเสขะ ๗ ตัดข่ายคือ
กิเลส ที่เรียกว่า ข่ายมัจจุไป. คำทั้งหมดว่า ทุคฺคโม นี้ ท่านอธิบายว่า
เทพบุตรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยะเหล่าใด ยินดีในอินทรีย์
อันสงบ พระอริยะเหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก พระอริยะเหล่าใด
ตั้งมั่นในศีล พระอริยะเหล่านั้นตัดข่ายมัจจุไปได้ ก็บุคคลนี้จักไปได้อย่างไร
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนี้เป็นทางที่ไปได้ยาก เป็นทางที่ไม่เรียบ
มิใช่หรือ ดังนี้ ในข้อนั้น อริยมรรคไม่เป็นทางที่ไปได้ยาก ไม่เป็นทางที่
ไม่เรียบ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น อันตรายเป็นอันมาก ย่อมมีแก่บุคคลนั้น
เพราะปฏิปทาเป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อวํสิรา ได้แก่ เป็นผู้บ่ายศีรษะลง เพราะศีรษะ
คือญาณ ย่อมตกไป และเพราะไม่อาจยกขึ้นสู่อริยมรรคได้ ชนเหล่านั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ตกไปในทางอันไม่เรียบ. บทว่า อริยานํ
สโม มคฺโค ความว่า ทางนั้นนั่นแล ย่อมเป็นทางเรียบของพระอริยะทั้งหลาย.
บทว่า วิสเม สมา ความว่า แท้จริง พระอริยะทั้งหลายเป็นผู้เรียบอย่าง
เดียว ในหมู่สัตว์ที่ไม่เรียบ.
จบอรรถกถามทสูตรที่ ๖

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!