15-083 กัสสปเทพบุตร สูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๒. ทุติยกัสสปสูตร
ว่าด้วยกัสสปเทพบุตร สูตรที่ ๒
[๒๒๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี กัสสปเทพบุตรยืนอยู่
ณ ที่สมควรแล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ A
มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์
เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น
รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก B
มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย C
ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A การบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ ในที่นี้หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๘๓/๑๐๐)
B โลก ในที่นี้หมายถึงสังขารโลก (สํ.ส.อ. ๑/๘๓/๑๐๑)
C ดูเทียบคาถาข้อ ๙๔ หน้า ๑๐๑ ในเล่มนี้

บาลี



ทุติยกสฺสปสุตฺต
[๒๒๓] สาวตฺถิย อาราเม … เอกมนฺต ิโต โข กสฺสโปฎ
เทวปุตฺโต ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
ภิกฺขุ สิยา ฌายิ วิมุตฺตจิตฺโต
อากงฺเข เว ๑ หทยสฺสานุปตฺตึ
โลกสฺส ตฺวา อุทยพฺยฺจ
สุเจตโส อนิสฺสิโต ๒ ตทานิส โสติ ฯ

******************

๑ สี. ยุ. จ ฯ ม. เจ ฯ ๒ สี. ยุ. อสิโต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยกัสสปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ฌายี ได้แก่เป็นผู้เพ่งพินิจ ด้วยฌานทั้ง ๒ [คืออารัมมณู-
ปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน]. บทว่า วิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่มีจิตหลุด
พ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า หทยสฺสานุปฺปตฺตึ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่ สังขารโลก. บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ไม่อิงอาศัยตัณหาและทิฐิ. บทว่า
ตทานิสํโส ได้แก่ ผู้มุ่งต่อพระอรหัต. ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัต
เมื่อปรารถนาพระอรหัต พึงเป็นผู้เพ่งพินิจ พึงมีจิตหลุดพ้น พึง
ทราบความเกิด และความดับไปแห่งโลกแล้ว ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัยแล้ว.
ก็ตันติธรรม ธรรมที่เป็นแบบแผน เป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้นแห่งธรรมทั้ง
ปวงในพระศาสนาแล.
จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!