15-082 กัสสปเทพบุตร สูตรที่ 1
พระไตรปิฎก
๑. ปฐมกัสสปสูตร
ว่าด้วยกัสสปเทพบุตร สูตรที่ ๑
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป กัสสปเทพบุตรมีวรรณะ
งดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มี
พระภาคทรงประกาศภิกษุ แต่ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนสำหรับภิกษุ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัสสปเทพบุตร ถ้าอย่างนั้น การประกาศคำสั่งสอนนั้น
จงปรากฏแก่ท่าน ณ ที่นี้เถิด”
[๒๒๒] กัสสปเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต A
ศึกษาการเข้าไปนั่งใกล้สมณะ
ศึกษาการนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว
และศึกษาการสงบระงับจิต
กัสสปเทพบุตรได้กล่าวดังนี้ พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว ลำดับนั้น
กัสสปเทพบุตรทราบว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A คำสุภาษิต หมายถึงวจีสุจริต ๔ อย่าง ที่อาศัยสัจจะ ๔ อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ (และ) อาศัยโพธิปักขิย-
ธรรม ๓๗ ประการ (สํ.ส.อ. ๑/๘๒/๙๙)
บาลี
ปมกสฺสปสุตฺต
[๒๒๑] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข กสฺสโป เทวปุตฺโต
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โข กสฺสโป
เทวปุตฺโต ภควนฺต เอตทโวจ ภิกฺขุ ภควา ปกาเสสิ โน จ
ภิกฺขุโน อนุสาสนฺติ ๑ ฯ เตน หิ กสฺสป ตฺเเวตฺถ ปฏิภาตูติ ฯ
[๒๒๒] สุภาสิตสฺส สิกฺเขถ สมณุปาสนสฺส จ
เอกาสนสฺส จ รโห จิตฺตวูปสมสฺส จาติ
อิทมโวจ กสฺสโป เทวปุตฺโต สมนฺุโ สตฺถา อโหสิ ฯ อถ
โข กสฺสโป เทวปุตฺโต สมนฺุโ เม สตฺถาติ ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ สี. อนุสาสนินฺติปิ อนุสาสินินฺติปิ ปาโ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปฐมกัสสปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูสที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-
บทว่า เทวปุตฺโต ความว่า บุรุษผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพ-
บุตร สตรีผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพธิดา. เทวดาที่ไม่ปรากฏนามท่าน
เรียกว่า เทวดาองค์หนึ่ง เทพที่ปรากฏนาม ท่านเรียกว่า เทพบุตรมีชื่ออย่างนี้.
เพราะฉะนั้น เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในหนหลังแล้ว ในสูตรนี้
จึงกล่าวว่า เทพบุตร. บทว่า อนุสาสํ แปลว่า คำสั่งสอน. เขาว่า เทพบุตร
องค์นี้ได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฎิหาริย์ในพรรษาที่ ๗ นับแต่
ตรัสรู้ ทรงเข้าจำพรรษา ณ เทวบุรี (ดาวดึงส์) แสดงพระอภิธรรม ตรัส
ภิกขุนิทเทสไว้ในฌานวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ ชื่อว่า ภิกษุ
เพราะสมัญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะปฏิญญา แต่เทพบุตรนั้น ไม่ได้ฟัง
คำโอวาทภิกษุ คำสั่งสอนภิกษุ อย่างนี้ว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึก
อย่างนี้ จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนี้ จงละข้อนี้ จงเข้าถึงข้อนี้อยู่. เทพ
บุตรนั้น หมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้
ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนของภิกษุ.
บทว่า เตนหิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราไม่ประกาศคำสั่งสอนของภิกษุฉะนั้น. บทว่า ตญฺเเวตฺถปฏิภาตุ ความ
ว่า การประกาศคำสั่งสอนนี้จงปรากฏแก่ท่านผู้เดียว. ความจริง ผู้ใดประสงค์
จะกล่าวปัญหา ก็ไม่อาจจะกล่าวเทียบกับพระสัพพัญญุญาณได้ หรือว่า ผู้ใด
ไม่ประสงค์จะกล่าว ก็อาจจะกล่าวปัญหาได้ หรือว่า ผู้ใดไม่ประสงค์จะกล่าว
ทั้งไม่อาจจะกล่าวด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงทำปัญหาของคนเหล่า
นั้นทั้งหมดให้เป็นภาระ แต่เทพบุตรองค์นี้ ประสงค์จะกล่าวด้วย ทั้งอาจกล่าว
ได้ด้วย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำปัญหาให้เป็นภาระของ
เทพบุตรนั้นผู้เดียว จึงตรัสอย่างนี้. แม้เทพบุตรนั้น ก็กล่าวปัญหา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาสิตสฺส สิกฺเขถ ความว่า พึง
ศึกษาคำสุภาษิต คือพึงศึกษาวจีสุจริต ๔ อย่าง ที่อิงอาศัยสัจจะ ๔ อิงอาศัย
กถาวัตถุ ๑๐ อิงอาศัยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เท่านั้น. บทว่า สมณูปาสนสฺส จ
ความว่า การเข้าถึงความสงบ อันสมณะทั้งหลายพึงเสพ คือพึงศึกษา พึงเจริญ
กัมมัฎฐาน ๓๘ ประเภท. อีกอย่างหนึ่ง แม้การเข้าไปหาเหล่าภิกษุผู้เป็นพหูสูต
ก็ชื่อว่า การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ. อธิบายว่า พึงศึกษาประโยชน์แห่งความรู้
ด้วยปัญญา โดยการถามปัญหาว่า ท่านเจ้าข้า แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศลหรือ ดังนี้
เป็นต้น. บทว่า จิตฺตวูปสมสฺส จ ความว่า และพึงศึกษาความสงบจิต
ด้วยอำนาจสมาบัติ ๘. ดังนั้น สิกขา ๓ เป็นอันเทพบุตรกล่าวแล้ว. จริงอยู่
เทพบุตรนั้นกล่าวอธิศีลสิกขาด้วยบทแรก กล่าวอธิปัญญาสิกขาด้วยบทที่ ๒
กล่าวอธิจิตตสิกขา ด้วยการสงบจิต เพราะฉะนั้น คำสอนแม้ทั้งสิ้น จึง
เป็นอันเทพบุตรนั้นประกาศแล้ว ด้วยคาถานี้แล.
จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ ๑