15-053 มิตร



พระไตรปิฎก


๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยมิตร
[๑๖๒] เทวดาทูลถามว่า
อะไรเล่าเป็นมิตรของคนเดินทาง
อะไรเล่าเป็นมิตรในเรือนของตน
อะไรเล่าเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์ A เกิดขึ้น
อะไรเล่าเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า
[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
พวกหมู่เกวียนเป็นมิตรของคนเดินทาง
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีประโยชน์เกิดขึ้นเนือง ๆ
บุญที่ตนเองทำไว้แล้วเป็นมิตรติดตามตนไปถึงภพหน้า
มิตตสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงกิจ (สํ.ส.อ. ๑/๕๓/๙๐)

บาลี



มิตฺตสุตฺต
[๑๖๒] กึสุ ปสวโต ๑ มิตฺต กึสุ มิตฺต สเก ฆเร
กึ มิตฺต อตฺถชาตสฺส กึ มิตฺต สมฺปรายิกนฺติ ฯ
[๑๖๓] สตฺโถ ปสวโต ๒ มิตฺต มาตา มิตฺต สเก ฆเร
สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺต ปุนปฺปุน
สย กตานิ ปุฺานิ ต มิตฺต สมฺปรายิกนฺติ ฯ

******************

๑ สี. ม. ปวสโต ฯ ยุ. ปถวโต ฯ ๒ สี. ปฺจสโต ฯ

อรรถกถา


อรรถกถามิตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ ๓ ต่อไป :-
บทว่า สตฺโถ ได้แก่ คนเดินทางร่วมกัน หรือเดินทางด้วยลำแข้ง
หรือว่าคนเดินทางด้วยเกวียน. บทว่า มิตฺตํ ได้แก่ เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว
บุคคลชื่อว่า เป็นมิตร เพราะนำไปด้วยวอ หรือว่าด้วยยานอื่นให้ถึงที่ด้วย
ความปลอดภัย. บทว่า ในเรือนของตน ความว่า เมื่อโรคเห็นปานนั้น
เกิดขึ้นแล้วในบ้านของตน ชนทั้งหลายมีบุตรและภรรยาเป็นต้น ย่อมรังเกียจ
แต่มารดา ย่อมสำคัญแม้ซึ่งของไม่สะอาดของบุตร ราวกะว่าท่อนจันทน์
เพราะฉะนั้น มารดานั้น จึงชื่อว่า เป็นทั้งมิตรทั้งสหายในเรือนของตน. บทว่า
อตฺถชาตสฺส แปลว่า ของบุคคลผู้มีธุระเกิดขึ้น อธิบายว่า บุคคลใด ย่อม
นำกิจนั้นไป ทำให้สำเร็จ บุคคลนั้นชื่อว่า สหาย ชื่อว่า มิตร เพราะความ
เป็นคือให้กิจทั้งหลายสำเร็จร่วมกัน. แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้เป็นสหายในการดื่ม
น้ำเมา มีสุราเป็นต้น ไม่ชื่อว่า เป็นมิตร. บทว่า สมฺปรายิกํ ได้แก่ เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลในภพหน้า.
จบอรรถกถามิตตสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!