15-048 พระเชตวันวิหาร
พระไตรปิฎก
๘. เชตวนสูตร
ว่าด้วยพระเชตวันวิหาร
[๑๔๗] อนาถบิณฑิกเทพบุตรได้กล่าวคาถาเหล่านี้
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พระเชตวันนี้นั้นมีหมู่ฤาษีพำนักอยู่
พระผู้เป็นธรรมราชาก็ประทับอยู่
เป็นสถานที่ให้เกิดปีติแก่ข้าพระองค์
การงาน ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอันสูงสุด ๑ A
สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕ ประการนี้
หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือด้วยทรัพย์ไม่
เพราะเหตุนั้นแหละ คนฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ตน
ควรเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายเถิด
เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้ในธรรมเหล่านั้น
พระสารีบุตรเท่านั้นเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าภิกษุผู้ถึงฝั่ง
ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ B
เชตวนสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A การงาน หมายถึงมรรคเจตนา วิชชา หมายถึงมรรคปัญญา ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝ่ายแห่งสมาธิ
ศีลเป็นชีวิตอันสูงสุด หมายถึงชีวิตของผู้ดำรงอยู่ในศีลเป็นสิ่งสูงสุด อีกนัยหนึ่ง วิชชา หมายถึงทิฏฐิ
และสังกัปปะ ธรรม หมายถึงวายามะ สมาธิ และสติ ศีล หมายถึงวาจาและกัมมันตะ ชีวิตอันสูงสุด
หมายถึงชีวิตของผู้ดำรงอยู่ในศีลนั้นเป็นชีวิตอันสูงสุด (สํ.ส.อ. ๑/๔๘/๘๖, สํ.ฏีกา ๑/๔๘/๑๓๒)
B ดูเทียบคาถาข้อ ๑๐๑ หน้า ๑๐๗ ในเล่มนี้
บาลี
เชตวนสุตฺต
[๑๔๗] อิท หิต เชตวน อิสิสงฺฆนิเสวิต
อาวุตฺถ ธมฺมราเชน ปีติสฺชนน มม
กมฺม วิชฺชา จ ธมฺโม จ สีล ชีวิตมุตฺตม
เอเตน มจฺจา สุชฺฌนฺติ น โคตฺเตน ธเนน วา
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส สมฺปสฺส อตฺถมตฺตโน
โยนิโส วิจิเน ธมฺม เอว ตตฺถ วิสุชฺฌติ
สารีปุตฺโตว ปฺาย สีเลน อุปสเมน จ
โยปิ ปารคโต ภิกฺขุ เอตาวปรโม สิยาติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาเชตวนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเชตวนสูตรที่ ๘ ต่อไป:-
ในบทว่า อิทํ หิ ตํ เชตวนํ ความว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตร
มากล่าวอย่างนี้ เพื่อชมเชยพระเชตวันและพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อิสิสํฆนิเสวิตํ ได้แก่ อันหมู่แห่งภิกษุอยู่อาศัยแล้ว
อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น ครั้นกล่าวชมเชยพระเชตวันด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงอริยมรรค จึงกล่าวคำว่า กมฺมํ วิชฺชา เป็นต้น
แปลความว่า
กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑
ชีวิตอันอุดม ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์
ด้วยคุณธรรม ๕ นี้ หาได้บริสุทธิ์ด้วยโคตร
หรือด้วยทรัพย์ไม่.
เหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาดเมื่อเห็น
ประโยชน์ของตนควรเลือกเฟ้นธรรมโดย
อุบายอันแยบคาย เลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อม
หมดจดในธรรมเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมํ ได้แก่ มรรคเจตนา. บทว่า
วิชฺชา ได้แก่ มรรคปัญญา. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันเป็น
ฝ่ายสมาธิ. บทว่า สีลํ ชีวิตมุตฺตมํ อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมแสดงชีวิต
อันสูงสุดของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิชฺชา ได้แก่
สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
และสัมมาสมาธิ. บทว่า สีลํ ได้แก่ สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ. บทว่า
ชีวิตมุตฺตมํ ได้แก่ ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้เป็นชีวิตสูงสุด. บทว่า เอเตน
มจฺจา สุชฺฌนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยมรรคอันประกอบ
ด้วยองค์แปดนี้.
บทว่า ตสฺมา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยมรรค เหตุใด
เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่บริสุทธิ์ได้ด้วยโคตร และด้วยทรัพย์.
บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ อธิบายว่า พึงวินิจฉัยธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิโดย
อุบาย. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ เลือกธรรมนั้นอย่างนี้
ย่อมหมดจดได้ด้วยอริยมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ
ได้แก่ พึงวินิจฉัยธรรม ๕ กองโดยอุบาย. บทว่า เอวํ ตตฺถ วิสุชฺฌติ
ได้แก่ ย่อมบริสุทธิ์ในสัจจะ ๔ เหล่านั้นได้อย่างไร.
บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น เมื่อจะกล่าวชมเชยพระสารีบุตรเถระ
จึงกล่าวคำว่า สาริปุตฺโตว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโตว
นี้เป็นคำกล่าวถึงตำแหน่ง อธิบายว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้นย่อมกล่าวว่า
พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยธรรมเหล่านี้มีปัญญาเป็นต้น. บทว่า
อุปสเมน ได้แก่ ความสงบจากกิเลส. บทว่า ปารคโต แปลว่า ผู้ถึง
พระนิพพาน. อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบรรลุ
พระนิพพาน ภิกษุนั้นเป็นเยี่ยม คือว่า ชื่อว่า เยี่ยมกว่าพระสารีบุตรเถระย่อม
ไม่มี ดังนี้. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาเชตวนสูตรที่ ๘