15-042 ให้อะไร ชื่อว่าให้อะไร
พระไตรปิฎก
๒. กินททสูตร
ว่าด้วยให้อะไร ชื่อว่าให้อะไร
[๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า
บุคคลให้อะไร ชื่อว่าให้กำลัง
ให้อะไร ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้อะไร ชื่อว่าให้ความสุข
ให้อะไร ชื่อว่าให้จักษุ
และใคร ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
ให้ประทีป ชื่อว่าให้จักษุ
และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมตะ
กินททสูตรที่ ๒ จบ
บาลี
กินฺททสุตฺต
[๑๓๗] กึทโท พลโท โหติ กึทโท โหติ วณฺณโท
กึทโท สุขโท โหติ กึทโท โหติ จกฺขุโท
โย ๑ จ สพฺพทโท โหติ ต เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโตติ ฯ
[๑๓๘] อนฺนโท พลโท โหติ วตฺถโท โหติ วณฺณโท
ยานโท สุขโท โหติ ทีปโท โหติ จกฺขุโท
โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ อุปสฺสย
อมตนฺทโท จ โส โหติ โย ธมฺมมนุสาสตีติ ฯ
******************
๑ ม. ยุ. โก ฯ
อรรถกถา
อรรถกถากินททสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกินททสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า อนฺนโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีกำลังมากแต่ไม่ได้กินอาหาร
หลาย ๆ วัน (สองสามวัน) ก็ไม่อาจเพื่อจะลุกขึ้น ส่วนบุคคลผู้มีกำลังทราม
ได้กินอาหารแล้ว ก็ย่อมถึงพร้อมด้วยกำลังได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ดังนี้. บทว่า
วตฺถโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีรูปงาม แต่มีผ้าสกปรก ดังผ้าขี้ริ้ว หรือไม่มี
ผ้าเลยย่อมเป็นผู้น่าเกลียด ถูกเหยียดหยาม ไม่น่าดู. บุคคลมีผ้าปกปิดดีแล้ว
ย่อมงามราวกะเทพบุตร เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ดังนี้. บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลาย
มีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้า
ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควร
แก่สมณะก็คือ รองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคล
ให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อม
ทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยาน
เหมือนกัน. บทว่า สุขโท โหติ คือชื่อว่า ให้ความสุข ก็เพราะนำความสุข
ในยานมาให้. บทว่า จกฺขุโท โหติ อธิบายว่า ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า
ให้จักษุ เพราะความที่บุคคลทั้งหลาย ถึงแม้มีตาก็ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้
ผู้ให้ประทีปโคมไฟนั้นย่อมได้แม้ซึ่งความถึงพร้อมเห่งทิพยจักษุเหมือนพระ-
อนุรุทธเถระ. บทว่า สพฺพโท โหติ อธิบายว่า ผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างดังที่
กล่าวแล้วนั่นแหละ คือมีการให้กำลังเป็นต้น คือว่า เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาต
ไปสองสามบ้านไม่ได้อะไร ๆ มาอยู่ก็ดี เมื่ออาบน้ำในสระโบกขรณีอันเย็น
แล้วเข้าไปสู่ที่พักอาศัย นอนในเตียงครู่หนึ่งแล้วลุกขึ้นมานั่งก็ดี ย่อมได้กำลัง
ราวกะบุคคลอื่นนำมาใส่ให้ในร่างกาย. ก็บุคคลเที่ยวไปในภายนอก ผิวพรรณ
ในกายย่อมคล้าไปด้วยลมและแดด เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตูแล้วนอน
สักครู่หนึ่ง ความสืบต่อแห่งวิสภาคะย่อมเข้าไปสงบระงับ ความสืบต่อแห่ง
สภาคะย่อมก้าวลง ย่อมได้ผิวพรรณวรรณะ ราวกะบุคคลนำใส่ไว้ให้. ก็เมื่อ
บุคคลเที่ยวไปภายนอก หนามย่อมทิ่มแทง ตอไม้ย่อมกระทบ อันตราย
ทั้งหลายมีงูเป็นต้นและโจรภัย ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตู
นอนแล้ว อันตรายทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมไม่มี เมื่อสาธยายยอยู่ ปีติและความสุข
ในธรรมย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำกรรมฐานไว้ในใจอยู่ ความสุขอันสงบย่อมเกิดขึ้น
เมื่อบุคคลเที่ยวไปภายนอกเหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออก ตาทั้งสองย่อมฝ้าฟาง
ในเวลาที่เข้าไปสู่เสนาสนะย่อมเป็นราวกะว่าตกลงไปในหลุม เตียงและตั่งย่อม
ไม่ปรากฏ ก็เมื่อบุคคลนอนพักสักครู่หนึ่ง ความผ่องใสแห่งตาก็จะมีได้ ราว
กะว่าบุคคลนำมาใส่ไว้ให้ ช่องลมประตูหน้าต่างและเตียงตั่งย่อมปรากฏ ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ
อุปสฺสยํ แปลว่า ก็บุคคลใดให้ที่พักพาอาศัย บุคคลนั้น ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
ดังนี้.
บทว่า อมตํ ทโท จ โส โหติ อธิบายว่า เมื่อบุคคลยังบิณฑบาต
ให้เต็มด้วยโภชนะอันประณีต แล้วถวายอยู่ ชื่อว่า ให้ความไม่ตาย. บทว่า
โย ธมฺมมนุสาสติ อธิบายว่า บุคคลใด ย่อมพร่ำสอนธรรม ย่อมบอก
อรรถกถา ย่อมสอนบาลี ย่อมแก้ปัญหาที่ถามแล้ว ย่อมบอกกรรมฐาน
ย่อมทำธรรมสวนะ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ย่อมพร่ำสอนธรรม. อนึ่ง การให้
ธรรมนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นเลิศกว่าการให้ทั้งหมด ข้อนี้ สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ.
การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดี
ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.
จบอรรถกถากินททสูตรที่ ๒