15-036 ศรัทธา
พระไตรปิฎก
๖. สัทธาสูตร
ว่าด้วยศรัทธา
[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๑๑๓] เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนของบุรุษ
หากว่าความไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่
เพราะเหตุนั้น ยศและเกียรติย่อมมีแก่เขา
อนึ่ง ผู้นั้นละทิ้งร่างกายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรละความโกรธ สละมานะ
ก้าวล่วงสังโยชน์ได้หมดทุกอย่าง
เพราะว่ากิเลสเป็นเครื่องข้องย่อมไม่รุมเร้าบุคคลนั้น
ผู้ไม่ติดอยู่ในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
คนพาลมีปัญญาทราม
ประกอบความประมาทอยู่เสมอ
ส่วนคนฉลาดรักษาความไม่ประมาทไว้
เหมือนคนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ ฉะนั้น
ท่านทั้งหลายอย่าประกอบความประมาท
และอย่าประกอบความเชยชมยินดีในกามเลย
เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่
ย่อมได้รับความสุขอย่างยิ่ง A
สัทธาสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A ความสุขอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ธ.อ. ๒/๔/๘๕)
บาลี
สทฺธาสุตฺต
[๑๑๒] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ อถ โข สมฺพหุลา สตุลฺลปกายิกา เทวตาโย
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา
เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต อฏฺสุ ฯ
[๑๑๓] เอกมนฺต ิตา โข เอกา เทวตา ภควโต สนฺติเก
อิม คาถ อภาสิ
สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ
โน เจ อสฺสทฺธิยมวติฏฺติ
ยโส จ กิตฺตี จ ตตฺวสฺส โหติ ๑
สคฺคฺจ โส คจฺฉติ สรีร ปหายาติ ฯ
โกธ ชเห วิปฺปชเหยฺย มาน
สฺโชน สพฺพมติกฺกเมยฺย
ต นามรูปสฺมิมสชฺชมาน
อกิฺจน นานุปตนฺติ สงฺคาติ ฯ
[๑๑๔] ปมาทมนุยฺุชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทฺจ เมธาวี ธน เสฏฺว รกฺขติ
มา ปมาทมนุยฺุเชถ มา กามรติสนฺถว
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ ปรม สุขนฺติ ฯ
******************
๑ สี. ยโต สา จ กิตฺตี จ ต ตสฺส โหตีติปิ วต ตสฺส โหตีติปิ
#ปาโ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสัทธาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อน
สองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็น
เพื่อนสอง คือ ย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ. บทว่า โน เจ อสทฺธิยํ อวติฏฺฐติ
แก้เป็น ยทิ อสทฺธิยํ น ติฏฺฐติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ตั้งอยู่. บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่ บริวาร. บทว่า กิตฺติ
แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่ การกล่าวยกย่องสรรเสริญ. บทว่า ตตฺวสฺส โหติ
แปลว่าย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา. บทว่า นานุปตนฺติ
สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือได้แก่กิเลส
เครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง มีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อม
ตามประกอบความประมาท ส่วนนัก
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน
บุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่า
ตามประกอบความประมาท และอย่าตาม
ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ
ยินดีทางกาม เพราะว่า บุคคลไม่ประมาท
แล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.
บทว่า ปมาทมนุยุญฺชนฺติ แปลว่า ย่อมตามประกอบความประมาท
อธิบายว่า ชนเหล่าใดย่อมกระทำ คือย่อมให้ความประมาทเกิดขึ้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาทนั้น. บทว่า ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
แปลว่า เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ คือได้แก่เหมือนบุคคลรักษา
ทรัพย์อันอุดมมีแก้วมุกดา และแก้วมณีอันมีสาระเป็นต้น. บทว่า ฌายนฺโต
แปลว่า เพ่งพินิจอยู่ อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณู
ปนิชฌาน ใน ๒อย่างนั้น วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน. จริง
อยู่ วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะ
ทั้งสาม. มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า ย่อมให้สำเร็จ
ซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ
อรรถว่า ย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ. แต่สมาบัติ ๘
บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่ง
กสิณ. อรหัตสุข ชื่อว่า บรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้ว
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖