15-032 คนตระหนี่
พระไตรปิฎก
๒. มัจฉริสูตร
ว่าด้วยคนตระหนี่
[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลล-
ปกายิกาจำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๘๗] เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคว่าเพราะความตระหนี่และความประมาท
บุคคลจึงให้ทานอย่างนี้ไม่ได้
บุคคลผู้หวังบุญรู้แจ้งอยู่จึงให้ทานได้
[๘๘] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนตระหนี่กลัวสิ่งใดแล้วไม่ให้ทาน
สิ่งนั้นนั่นเองเป็นภัยแก่เขาผู้ไม่ให้
ความหิวและความกระหายที่คนตระหนี่กลัว
ย่อมถูกต้องเขานั่นเองซึ่งเป็นคนเขลา
ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า
ฉะนั้น บุคคลควรกำจัดความตระหนี่
ครอบงำมลทินแล้วให้ทานเถิด
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
[๘๙] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
คนเหล่าใดเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้
เหมือนคนเดินทางไกลแบ่งของให้เพื่อนร่วมทาง
เมื่อคนเหล่าอื่นตาย คนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นธรรมเก่าแก่
คนพวกหนึ่งเมื่อมีของน้อยก็แบ่งให้ได้
พวกหนึ่งมีของมากกลับแบ่งให้ไม่ได้
ทักษิณาที่ให้จากของน้อย นับว่าเท่ากับของเป็นพัน
[๙๐] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
พวกคนพาลเมื่อจะให้ทานก็ให้ยาก
เมื่อจะทำงานก็ทำยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตามธรรมของสัตบุรุษ
เพราะธรรมของสัตบุรุษดำเนินตามได้แสนยาก
ฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวกสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษจึงแตกต่างกัน
พวกอสัตบุรุษพากันลงนรก
ส่วนพวกสัตบุรุษพากันขึ้นสวรรค์
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
[๙๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
แม้บุคคลใดประพฤติตนให้ยุ่งยากเลี้ยงดูภรรยา
และเมื่อของมีน้อยก็ให้ได้
บุคคลนั้นชื่อว่าประพฤติธรรม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น
[๙๒] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
เพราะเหตุไร การบูชาอันใหญ่หลวงนี้
จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างไร
[๙๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบเทวดานั้นด้วยคาถาว่า
บุคคลพวกหนึ่งดำรงอยู่ในความไม่เหมาะสม
ทำร้ายเขา ฆ่าเขา หรือทำให้เขาเศร้าโศกแล้วจึงให้ทาน
ทักษิณานั้นจัดเป็นทักษิณาอันมีหน้านองด้วยน้ำตา
เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงมีค่าไม่เท่าส่วนแห่งทาน
ที่ให้ด้วยความเหมาะสม
เมื่อบุรุษ ๑๐๐,๐๐๐ คน บูชาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป
การบูชาของบุรุษเหล่านั้น
จึงมีค่าไม่เท่าเสี้ยวหนึ่งของบุคคลเช่นนั้น ได้อย่างนี้
มัจฉริสูตรที่ ๒ จบ
บาลี
มจฺฉริสุตฺต
[๘๖] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ อถ โข สมฺพหุลา สตุลฺลปกายิกา เทวตาโย
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต…
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺสุ ฯ
[๘๗] เอกมนฺต ิตา โข เอกา เทวตา ภควโต สนฺติเก
อิม คาถ อภาสิ
มจฺเฉรา จ ปมาทา จ เอว ทาน น ทียติ
ปฺุมากงฺขมาเนน เทยฺย โหติ วิชานตาติ ฯ
[๘๘] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิมา คาถาโย
อภาสิ
ยสฺเสว ภีโต น ททาติ มจฺฉรี ตเทว อททโต ๑ ภย
ชิฆจฺฉา จ ปิปาสา จ ยสฺส ภายติ มจฺฉรี
ตเมว พาล ผุสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉร ทชฺชา ทาน มลาภิภู
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
[๘๙] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิมา คาถาโย อภาสิ
เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ อทฺธานว ๒ สหาวช
อปฺปสฺมึ เย ปเวจฺฉนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน
อปฺปเสฺมเก ปเวจฺฉนฺติ พหุเนเก น ทิจฺฉเร
อปฺปสฺมา ทกฺขิณา ทินฺนา สหสฺเสน สม ๓ มิตาติ ฯ
[๙๐] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิมา คาถาโย อภาสิ
ทุทฺทท ททมานาน ทุกฺกร กมฺม กุพฺพต
อสนฺโต นานุกุพฺพนฺติ สต ธมฺโม ทุรนฺวโย
ตสฺมา สตฺจ อสตฺจ นานา โหติ อิโต คติ
อสนฺโต นิรย ยนฺติ สนฺโต สคฺคปรายนาติ ฯ
อถ โข อปรา เทวตา ภควนฺต เอตทโวจ กสฺส นุ โข ภควา
สุภาสิตนฺติ ฯ
[๙๑] สพฺพาส โว สุภาสิต ปริยาเยน อปิจ มมาปิ สุณาถ
ธมฺม จเร โยปิ สมฺุชก ๔ จเร
ทาร จ โปส ทท อปฺปกสฺมึ
สต สหสฺสาน สหสฺสยาคิน
กลปิ นาคฺฆนฺติ ตถาวิธสฺส เตติ ฯ
[๙๒] อถ โข อปรา เทวตา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
เกเนส ยฺโ วิปุโล มหคฺคโต
สเมน ทินฺนสฺส น อคฺฆเมติ
กถ ๕ สหสฺสาน สหสฺสยาคิน
กลปิ นาคฺฆนฺติ ตถาวิธสฺส เตติ ฯ
[๙๓] อถ โข ภควา ต เทวต คาถาย อชฺฌภาสิ
ททนฺติ เหเก วิสเม นิวิฏฺา
ฆตฺวา ๖ วธิตฺวา อถ โสจยิตฺวา
สา ทกฺขิณา อสฺสุมุขา สทณฺฑา
สเมน ทินฺนสฺส น อคฺฆเมติ
เอว [๑]- สหสฺสาน สหสฺสยาคิน
กลปิ นาคฺฆนฺติ ตถาวิธสฺส เตติ ฯ
******************
#๑ ยุ. ตเทวทาทโต ฯ ๒ สี. ม. ยุ. ปนฺถานว ฯ ๓ สี. สมปฺปิตาติ ฯ
#๔ สี. ยุ. สมุจฺฉก ฯ ๕ สี. ม. ยุ. สต ฯ ๖ สี. ฌตฺวา ฯ ยุ. เฉตฺวา ฯ
อรรถกถา
อรรถกถามัจฉริสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า มจฺเฉรา จ ปมาทา จ แปลว่า เพราะความตระหนี่และ
ความประมาท ได้แก่ เพราะความตระหนัก อันมีการปกปิดซึ่งสมบัติของตนไว้
เป็นลักษณะ และเพราะความประมาท อันมีการอยู่ปราศจากสติเป็นลักษณะ.
จริงอยู่ บางคน คิดว่า เมื่อเราให้สิ่งนี้ สิ่งนี้ก็จักหมดไป วัตถุของเรา หรือ
วัตถุอันเป็นของมีอยู่ในบ้านก็จักไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะความ
ตระหนี่. บางคน แม้จะเพียงยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราควรให้ทาน ดังนี้ ก็ไม่มี
เพราะความที่ตนเป็นผู้ขวนขวายในการเล่นเป็นต้น นี้ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะ
ความประมาท.
ข้อว่า เอวํ ทานํ น ทียติ แปลว่า อย่างนี้ บุคคลจึงให้ทาน
ไม่ได้ อธิบายว่า ธรรมดาว่า ทานนี้อันเป็นเหตุนำมาให้ซึ่งยศ ให้ซึ่งสิริ
ให้ซึ่งสมบัติ เห็นปานนี้ บุคคลก็ยังให้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึง
เหตุแห่งการไม่ให้เพราะความตระหนี่เป็นต้น. บทว่า ปุญฺํ อากงฺขมาเนน
แปลว่า บุคคลผู้หวังบุญ คือ ผู้ปรารถนาบุญอันต่างด้วยเจตนามีบุพเจตนา
เป็นต้น. ในคำว่า เทยฺยํ โหติ วิชานตา แปลว่า รู้แจ้งอยู่ จึงให้ทานนั้น
เทวดากล่าวว่าบุคคลรู้แจ้งว่า ผลของทานมีอยู่ ดังนี้ จึงให้ทาน.
ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า
คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมไม่ให้ทาน
ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้
ทาน คนตระหนี่กลัวความหิว และความ
กระหายใด ความหิวและความกระหายนั้น
ย่อมถูกต้อง คนตระหนี่นั้นนั่นแหละผู้เป็น
พาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ฉะนั้น
บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิม-
ในใจ (มลทิน) ให้ทานเถิด เพราะบุญ
ทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายใน
โลกหน้า.
บทว่า ตเมว พลํ ผุสติ อธิบายว่า ความหิวและความกระหาย
ย่อมถูกต้อง คือย่อมติดตาม ย่อมไม่ละบุคคลผู้เป็นพาลนั้นนั่นแหละทั้งใน
โลกนี้และโลกหน้า. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก็เพราะความหิวและความกระหาย
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เป็นพาลนี้นั่นแหละ. บทว่า วิเนยฺย มจฺเฉรํ แปลว่า
บุคคลควรกำจัดความตระหนี่ ได้แก่นำความตระหนี่อันเป็นมลทินออก. บทว่า
ทชฺชา ทานํ มลาภิภู อธิบายว่า บุคคลผู้กำจัดมลทิน ครั้นกำจัดมลทิน คือ
ความตระหนี่นั้นแล้ว จึงให้ทานได้.
ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า
ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้
เหมือนพวกเดินทางไกลแบ่งของให้แก่
พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น เมื่อ
บุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชน
พวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชน
พวกหนึ่งแม้ของมีมากก็ไม่ให้ ทักษิณา
(ของทำบุญ) ที่ให้แต่ของน้อยนับเสมอ
ด้วยพัน.
บทว่า เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ ความว่า บุคคลเหล่านั้น เมื่อบุคคล
อื่นตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย เพราะความตายคือความเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน
เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ตายแล้ว เมื่อบุคคลอื่นนำสิ่งของทั้งหลายมีข้าวและน้ำ
เป็นต้นแม้มาก มาวางแวดล้อมแล้วบอกว่า สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้ สิ่งนี้จงเป็น
ของผู้นี้ ดังนี้ บุคคลผู้ตายแล้วเหล่านั้นก็ไม่สามารถลุกขึ้นมารับการแจกจ่ายได้
ฉันใด แม้บุคคลผู้ไม่ให้ทานก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น โภคะทั้งหลายของ
ผู้ตายแล้ว และของผู้มีปกติไม่ให้ทานจึงชื่อว่าเสมอ ๆ กัน ด้วยเหตุนั้นแหละ
บุคคลผู้มีปกติให้ทาน เมื่อชนทั้งหลายเห็นปานนี้ตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย.
บทว่า อทฺธานํว สหาวชฺชํ อปฺปสฺสึ เย ปเวจฺฉนฺติ อธิบายว่า
คนทั้งหลายผู้เดินทางไกลกันดารร่วมกันเมื่อเสบียงมีน้อย บุคคลผู้เดินทาง
ร่วมกันก็แบ่ง คือย่อมให้ทานนั่นแหละแก่บุคคลผู้เดินทางร่วมกัน ฉันใด ข้อนี้
ก็ฉันนั้นแล คนเหล่าใด เดินทางร่วมกันไปสู่ทางกันดาร คือสงสารอันมีเบื้องต้น
และที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้ ครั้นเมื่อวัตถุที่พึงให้แม้มีน้อย ก็แบ่งของให้ได้
ชนเหล่านั้น ครั้นเมื่อชนอื่นตายแล้ว จึงชื่อว่า ย่อมไม่ตาย. บทว่า เอส
ธมฺโม สนนฺตโน อธิบายว่า ธรรมนี้เป็นของโบราณ อีกอย่างหนึ่ง ธรรม
นี้เป็นของบัณฑิตเก่า. บทว่า อปฺปสฺเมเก เเปลว่า ชนพวกหนึ่งเมื่อของ
มีน้อย. บทว่า ปเวจฺฉนฺติ แก้เป็น ททนฺติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า
พหุเนเก น ทิจฺฉเร แปลว่า ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ คือว่า ชน
บางพวกแม้มีโภคะมากมาย ก็ย่อมไม่ให้. บทว่า สหสฺเสน สมํ มิตา แปลว่า
นับเสมอด้วยพัน คือ ย่อมเป็นเช่นกับทานพันหนึ่ง.
ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก
กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของ
สัตบุรุษอันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยาก
เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวก
สัตบุรุษและพวกอสัตบุรุษ จึงต่างกัน
พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษ
ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์.
บทว่า ทุรนฺวโย แปลว่า ดำเนินตามได้ยาก คือ เข้าถึงได้โดยยาก
อธิบายว่า ให้เต็มได้ยาก. ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลกะพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต
ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย
ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า
บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม
ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภรรยา และ
เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง
บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์
พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น.
บทว่า ธมฺมํ จเร ได้แก่ ย่อมประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐
บทว่า โยปิ สมุญฺชกํ จเร แปลว่า บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติสะอาด
ได้แก่ พระพฤติให้สะอาดด้วยสามารถแห่งการชำระล้างความชั่วทั่ว ๆ ไปตั้ง
แต่ต้น และด้วยสามารถแห่งการย่ำยี ดุจการนวดฟางข้าวเป็นต้น. บทว่า
ทารํ จ โปสํ แก้เป็น ทารํ จ โปเสนฺโต แปลว่า เลี้ยงดูภรรยา. บทว่า
ททํ อปฺปกสฺมึ แปลว่า เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ ได้แก่ บุคคลใด แม้สัก
ว่ามีใบไม้และผักเป็นต้น มีน้อยก็ทำการแบ่งให้ได้นั่นแหละ บุคคลนั้น ชื่อว่า
ย่อมพระพฤติธรรม. บทว่า สตสหสฺสานํ แปลว่า เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง คือ
บุรุษที่ท่านแบ่งออกเป็นพวกละพัน ๆ นับได้เป็นร้อย จึงชื่อว่า บุรุษแสนหนึ่ง.
บทว่า สหสฺสยาคินํ แปลว่า บูชาภิกษุพันหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า
ชื่อว่า การบูชาพันหนึ่ง เพราะอรรถว่า การบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือว่าการ
บูชาอันเกิดแต่การบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ. การบูชาพันหนึ่งนั้น มีอยู่แก่
ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่ามีการบูชาพันหนึ่ง. ด้วยบทว่า บุรุษ
แสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมเป็นอันแสดงถึง บิณฑบาตสิบโกฏิ*
หรือว่าสิบโกฏิแห่งกหาปณะ ตรัสว่า บุคคลเหล่าใด ย่อมให้ของมีประมาณ
เท่านี้ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น. บุคคลนี้
๑. คำว่า สิบโกฏินี้ หมายเอาส่วนที่ให้ผลเป็นพันส่วน แล้วคูณด้วยบุรุษแสนหนึ่ง.
ใดเมื่อพระพฤติธรรม ย่อมประพฤติสะอาด เลี้ยงดูภรรยา แม้ของมีน้อย
ก็ยังให้ได้ การบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อยของบุคคลผู้
ประพฤติธรรมนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ทานอันใด สักว่าของผู้คุ้นเคยกันเพียงคนหนึ่งก็ดี สัก
ว่าเป็นสลากภัตก็ดี อันบุคคลผู้ยากจนให้แล้ว ทานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น
แม้ทั้งหมด* ย่อมไม่ถึงค่าส่วนร้อยของทานอันผู้ยากจนให้แล้ว.
ชื่อว่า กลํ แปลว่า ส่วนหนึ่งนั้น แบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วนบ้าง เป็น ๑๐๐
ส่วนบ้างเป็น ๑,๐๐๐ ส่วนบ้างในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาส่วนแห่งร้อย
ตรัสว่า ทานอันใด อันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว ในเพราะทานนั้น ท่านจำแนกแล้ว
ร้อยส่วน การให้บิณฑบาตโดยรวมตั้งสิบโกฏิของบุคคลนี้ ก็ไม่ถึงค่าแม้ส่วน
หนึ่งแห่งทาน อันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว.
เมื่อพระตถาคต ทรงทำอยู่ซึ่งทานอันหาค่ามิได้อย่างนี้แล้ว เทวดา
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมหาทานอย่างนี้ให้เป็นไป
ด้วยคาถาบาทหนึ่ง ดุจเอาวัตถุอันประกอบไปด้วยรัตนะตั้งร้อยใส่เข้าไปในนรก
ซัดไปซึ่งทานอันมากอย่างนี้ว่า มีประมาณนิดหน่อยอย่างนี้ ดุจประหารอยู่ซึ่ง
มณฑลแห่งพระจันทร์ จึงกล่าวคาถาว่า
การบูชาอันไพบูลยนี้ อันใหญ่โตนี้
ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้
ด้วยความประพฤติธรรม เพราะเหตุไร
เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือ
บริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของ
๑. ทานทั้งหมดนี้ หมายเอาทานที่บุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่งด้วย.
บุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของ
บุคคลอย่างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า
มหคฺคโต แปลว่าใหญ่โต นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า ไพบูลย์. สองบทว่า
สเมน ทินฺนสฺส แปลว่า แห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติ. ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกทานแสดงแก่เทวดานั้น จึงตรัสว่า
ททนฺติ เหเก วิสเม นิวิฏฺา
ฆตฺวา วธิตฺวา อถ โสจยิตฺวา
สา ทกฺขิณา อสฺสุมุขา สทณฺฑา
สเมน ทินฺนสฺส น อคฺฆเม.
บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรม
ปราศจากความสงบ โบยเขา ฆ่าเขา ทำ
ให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่า
ทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทาน
เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วน
แห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเม นิวิฏฺฐา แปลว่า ตั้งมั่นในกรรมอัน
ปราศจากความสงบ ได้แก่ตั้งมั่นในกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันหา
ความสงบมิได้. บทว่า ฆตฺวา แก้เป็น โปเถตฺวา แปลว่า โบยแล้ว. บทว่า
วธิตฺวา แปลว่า ฆ่าแล้ว คือ ทำให้ตาย. บทว่า อสฺสุมุขา แปลว่า มี
หน้านองด้วยน้ำตา จริงอยู่ ทานที่ทำให้ผู้อื่นร้องไห้แล้วให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ทานมีหน้านองด้วยน้ำตา. บทว่า สทณฺฑา แปลว่า เป็นไปกับ
ด้วยอาชญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทักษิณาที่บุคคลคุกคามผู้อื่นแล้ว
ประหารแล้วให้ เรียกว่า ทักษิณาเป็นไปกับด้วยอาชญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ อย่างนี้ว่า เราไม่
อาจเพื่อถือเอามหาทานแล้วทำให้ชื่อว่ามีผลน้อย หรือ ทานอันน้อย ทำให้มี
ชื่อว่า มีผลมาก เพราะความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่มหาทานนี้ ชื่อ
ว่ามีผลน้อยอย่างนี้ เพราะความไม่บริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ทานน้อยนี้ ชื่อว่ามี
ผลมากอย่างนี้ เพราะความบริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ดังนี้ จึงตรัสคำว่า
โดยนัยอย่างนี้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาค
ทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย
ของบุคคลอย่างนั้นดังนี้.
จบอรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๒