15-031 สัตบุรุษ



พระไตรปิฎก


๑. สัพภิสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา A
จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๗๙] เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรม B ของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ตกต่ำ
[๘๐] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญา
หาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่
[๘๑] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางคนผู้เศร้าโศก
[๘๒] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมรุ่งเรืองในท่ามกลางแห่งญาติ
[๘๓] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ
{๘๔} ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป
ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ-
ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต”
[๘๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ
พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น
ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ
บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถานี้แล้ว เทวดาเหล่านั้นมีใจยินดีถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นนั่นเอง
สัพภิสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A สตุลลปกายิกา หมายถึงผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ (สํ.ส.อ. ๑/๓๑/๕๔)
B สัทธรรม หมายถึงธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ ศีล ๕, ศีล ๑๐, สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ในที่นี้หมายถึง
ศีล ๕ (สํ.ส.อ. ๑/๓๑/๕๕)

บาลี



สพฺภิสุตฺต
[๗๘] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน
อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข สมฺพหุลา สตุลฺลปกายิกา
เทวตาโย อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺสุ ฯ
[๗๙] เอกมนฺต ิตา โข เอกา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม
คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย เสยฺโย โหติ น ปาปิโยติ ฯ
[๘๐] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย ปฺ ๑ ลภติ นาฺโตติ ฯ
[๘๑] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย โสกมชฺเฌ น โสจตีติ ฯ
[๘๒] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย าติมชฺเฌ วิโรจตีติ ฯ
[๘๓] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคตินฺติ ฯ
[๘๔] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย สตฺตา ติฏฺนฺติ สาตตนฺติ ฯ
อถ โข อปรา เทวตา ภควนฺต เอตทโวจ กสฺส นุ โข ภควา
สุภาสิตนฺติ ฯ
[๘๕] สพฺพาส โว สุภาสิต ปริยาเยน อปิจ มมาปิ สุณาถ
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สต สทฺธมฺมมฺาย สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ฯ

******************

#๑ ม. ยุ. ปฺา ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสัพภิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัพภิสูตรที่ ๑ แห่งสตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า สตุลฺลปกายิกา มีวิเคราะห์ว่า เทวดาทั้งหลาย ที่ชื่อว่า
สตุลลปกายิกา เพราะยกย่องด้วยอำนาจแห่งการสมาทานธรรมของสัตบุรุษ
แล้วบังเกิดขึ้นในสวรรค์. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้
เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ
ได้ยินว่า ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล ใช้เรือแล่น
ไปสู่ทะเล. เมื่อเรือแห่งชนเหล่านั้นไปอยู่โดยเร็วปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้ว
ในวันที่ ๗ จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล คือ คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว
ก็ยังเรือให้เต็มไปด้วยน้ำ. เมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดา
ของตน ๆ แล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้น คร่ำครวญแล้ว.
ในท่ามกลางแห่งชนเหล่านั้น บุรุษคนหนึ่งนึกว่า เราต้องประสบภัย
ร้ายเห็นปานนี้แน่ จึงนึกถึงธรรมของตน เห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลาย และศีล
ทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว จึงนั่งขัดสมาธิ ดุจพระโยคี. พวกชนทั้งหลายจึงถาม
ท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ใช่แล้ว เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้ เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุ
ในวันที่ขึ้นเรือ เราได้รับสรณะทั้งหลาย และศีลทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น เรา
จึงไม่กลัว ดังนี้. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ก็สรณะและศีลเหล่านี้
สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่. บัณฑิตนั้นตอบว่า ใช่แล้ว ธรรมเหล่านี้
ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน
บัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้าง.
ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น จึงจัดทำพวกมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละรู้อยู่
คน รวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน. ต่อจากนั้นก็ให้ศีล ๕. ในบรรดาชน ๗ พวกนั้น
ชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณ จึงได้รับศีล.
พวกที่ ๒ ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ… พวกที่ ๓ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็น
ประมาณ… พวกที่ ๔ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ… ชนพวกที่ ๕ ตั้ง
อยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ. . . พวกที่ ๖ ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ…
พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหล่เข้าปาก จึงได้รับศีล ๕ แล้ว.
ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น ครั้นให้ศีล ๕ แก่ชนเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศ
เสียงกึกก้องว่า สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มี พวกท่านจงรักษาศีล
เท่านั้น ดังนี้.
ชนทั้ง ๗๐๐ เหล่านั้น ทำกาละในทะเลนั้นแล้ว ไปบังเกิดขึ้นในภพ
ดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตาย. วิมานทั้งหลายของ
เทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกัน. วิมานทองของอาจารย์มีประมาณ
ร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทั้งหมด. เทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพ
ที่เป็นอาจารย์นั้น วิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้น ก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์.
เทพเหล่านั้น ได้พิจารณาผลกรรมในขณะที่คนเกิดแล้ว ทราบแล้ว
ซึ่งการได้สมบัตินั้น เพราะอาศัยอาจารย์ จึงกล่าวกันว่า พวกเราจักไป พวก
เราจักกล่าวสรรเสริญคุณแห่งอาจารย์ของพวกเราในสำนักแห่งพระทศพล ดังนี้
แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาระหว่างมัชฌิมยาม.
ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดา ๖ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละหนึ่ง
คาถา เพื่อพรรณนาคุณอาจารย์ของตนด้วยคำว่า
สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถวํ
สติ สทฺธมฺมมญฺาย เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.
บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล
ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่
คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่ สพฺภิ แปลว่า พวกบัณฑิต คือ พวก
สัตบุรุษ. ระอักษรทำหน้าที่สนธิ. บทว่า สมาเสถ แปลว่า ควรนั่งร่วม
ก็คำว่า สมาเสถ นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า พึงสำเร็จ
อิริยาบถทั้งปวง ร่วมกับสัตบุรุษทั้งหลายทีเดียว. บทว่า กุพฺเพถ แปลว่า
ควรทำ. บทว่า สนฺถวํ แปลว่า ความสนิท ได้แก่ ความสนิทด้วยไมตรี
แต่ความสนิทด้วยตัณหาอันใคร ๆ ไม่ควรกระทำ. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาคำว่า บุคคลพึงทำความสนิทไมตรีกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธะ และพระสาวกทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า สตํ แปลว่า ของพวก
สัตบุรุษ. บทว่า สทฺธมฺมํ ได้แก่ สัทธรรมต่าง ๆ มีศีล ๕ ศีล ๑๐ และ
สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น. แต่ในสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาศีล ๕. บทว่า เสยฺโย
โหติ แปลว่า มีแต่คุณอันประเสริฐ คือ มีแต่ความเจริญ. บทว่า น ปาปิโย
ได้แก่ ความลามก (ความต่ำช้า) อะไร ๆ ย่อมไม่มี.
ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอื่น
(คนพาล) ไม่ ดังนี้. บทว่า นาญฺโต แปลว่า หาได้แต่คนอื่นไม่ คือ
ชื่อว่า ปัญญา อันบุคคลย่อมไม่ได้แต่คนอื่นผู้เป็นพาล ดุจน้ำมันงาเป็น
ต้น อันบุคคลไม่พึงได้ด้วย กรวด ทราย เป็นต้น. ก็บุคคลทราบธรรมของ
สัตบุรุษทั้งหลายแล้ว เสพอยู่คบอยู่ซึ่งบัณฑิตเท่านั้นจึงได้ปัญญา ดุจน้ำมันทั้ง
หลาย มีน้ำมันงาเป็นต้น อันบุคคลย่อมไค้ด้วยเม็ดงาเป็นต้น.
ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่ง
เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก ดังนี้. บทว่า โสกมชฺเฌ อธิบายว่า
บุคคลผู้ไปแล้วในท่ามกลางแห่งเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก หรือว่า
ไปแล้วในท่ามกลางแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเศร้าโศก เหมือนอุบาสิกา
(มัลลิกา) ของพันธุลเสนาบดี และเหมือนสังกิจจสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริก
ของพระธรรมเสนาบดี ผู้ไปในท่ามกลางแห่งโจร ๕๐๐ ย่อมไม่เศร้าโศก.
ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ
ดังนี้. บทว่า าติมชฺเฌ วิโรจติ แปลว่า ย่อมไพโรจน์ ในท่ามกลางแห่งหมู่
ญาติ คือว่า ย่อมงามดุจสามเณร ชื่อว่า อธิมุตตกะ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ
พระสังกิจจเถระ
เรื่อง อธิมุตตกะสามเณร
ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระสังกิจจเถระนั้น. ในกาลครั้ง
นั้น พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า ดูก่อนสามเณร เธอเป็นผู้ใหญ่แล้ว เธอจง
ไปถามถึงอายุของเธอแล้วจงมา เราจักอุปสมบทให้ ดังนี้ สามเณรรับคำว่า
ดีแล้วขอรับ ไหว้พระเถระแล้วถือบาตรและจีวรไปบ้านน้องหญิง ซึ่งตั้งอยู่
ใกล้ดงอันเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกโจร แล้วก็เที่ยวไปบิณฑบาต. น้องหญิง
เห็นท่านแล้วไหว้แล้ว จึงนิมนต์ให้ไปนั่งในบ้านให้ฉันภัตตาหารแล้ว. สามเณร
ทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงถามถึงอายุของตน. นางตอบว่า ดิฉันไม่ทราบ แม่
ย่อมทราบ. สามเณรกล่าวว่า ท่านจงอยู่ที่นี่ เราจักไปบ้านโยมมารดา แล้วก็
ก้าวเข้าไปสู่ดง. บุรุษผู้เป็นโจรเห็นสามเณรแต่ไกล จึงส่งสัญญาณแก่พวกโจร.
พวกโจรให้สัญญาณด้วยคำว่า ได้ยินว่า สามเณรองค์หนึ่ง หยั่งลงสู่ดง พวก
เธอจงไปนำสามเณรนั้นมา ดังนี้. โจรบางพวกกล่าวว่า เราจักฆ่า บางพวก
กล่าวว่า เราจักปล่อย. แม้สามเณรก็คิดว่าเราเป็นพระเสกขะ มีกิจที่ควรทำ
แก่ตนอยู่ เราปรึกษากับพวกโจรเหล่านี้แล้ว จักทำความสวัสดีเป็นประมาณ
จึงเรียกหัวหน้าโจรมา กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราจักทำความอุปมา
(ความเปรียบเทียบ) แก่ท่าน ดังนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ในอดีตกาลอันยาวนาน ที่หมู่ไม้ใน
ดงใหญ่ เสือดาวตัวหนึ่งเที่ยวดักเหยื่อตาม
ทางโค้ง ในกาลนั้น มันได้ฆ่าจัมปกะเสีย
แล้ว เนื้อและนกทั้งหลายเห็นจัมปกะตาย
แล้ว ตกใจกลัว พากันหลบหลีกไปใน
เวลาราตรี จึงไม่เกิดประโยชน์แก่มัน ฉัน
ใด ท่านฆ่าสมณะชื่อ อธิมุตตกะ ผู้ไม่มี
กิเลสเป็นเครื่องกังวลใจก็เหมือนกันนั่น
แหละ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจักไม่มา
พวกท่านก็จักขาดทรัพย์ สมณะชื่อว่า
อธิมุตตกะ ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลใจ
กล่าวคำจริงแท้ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจัก
ไม่มา ความเสื่อมแห่งทรัพย์จักมี.
นายโจรกล่าวว่า
ถ้าท่านเห็นคนเดินทางสวนมาแล้ว
จักไม่บอกแก่ใคร ๆ ข้าแต่ท่านผู้เจริญเมื่อ
ท่านตามรักษาสัจจะนี้ได้ ก็จงไปตามสบาย
เถิด.
สามเณรนั้น ผู้อันพวกโจรเหล่านั้นปล่อยอยู่ ไปอยู่ แม้เห็นญาติทั้ง
หลายก็มิได้บอก ที่นั้นเมื่อญาติของสามเณรนั้นมาถึงแล้ว พวกโจรก็ช่วยกัน
จับแล้วทรมานอยู่ พวกโจรได้กล่าวกะมารดาของสามเณรซึ่งนางกำลังเสียใจ
ประหารอกคร่ำครวญอยู่ว่า
อธิมุตตกะ จักถามท่านว่า อธิมุตตกะ
บัดนี้มีกาลฝนเท่าไร แม่กระผมถามแล้ว
ขอจงบอก พวกเราจักรู้ได้อย่างไร.
มารดาของอธิมุตตกะกล่าวกะพวกโจรว่า
เรานี้แหละเป็นมารดาของอธิมุตตกะ
ผู้นี้แหละเป็นบิดา ผู้นี้เป็นน้องหญิง ผู้นี้
เป็นพี่ชายน้องชาย ชนทั้งหมดในที่นี้
เป็นญาติของอธิมุตตกะ. อธิมุตตกะมีปกติ
ทำกิจอันไม่สมควรเลย เห็นญาติคนใดมา
แล้วก็ไม่ห้าม ข้อนี้เป็นวัตรปฏิบัติของ
สมณะทั้งหลายผู้เป็นพระอริยะ ผู้มีธรรม
เป็นชีวิตหรือหนอ.
นายโจรกล่าวว่า
อธิมุตตกะมีปกติกล่าวคำจริง เห็น
ญาติคนใดแล้วก็ไม่ห้าม เพราะความ
ประพฤติความดีของอธิมุตตกะ ผู้เป็นภิกษุ
ผู้มีปกติกล่าวคำจริง. ชนทั้งหมดผู้เป็น
ญาติของอธิมุตตะปลอดภัยแล้ว ขอจง
ไปสู่ความสวัสดีเถิด.
ญาติเหล่านั้น ผู้อันโจรทั้งหลายปล่อยตัวแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไป
แล้วกล่าวกะอธิมุตตกะว่า
พ่อชนทั้งหมดปลอดภัยแล้ว กลับมาสู่ความสวัสดี เพราะความประพฤติ
ดีของท่านผู้เป็นภิกษุ ผู้กล่าววาจาสัตย์.
พวกโจรทั้งห้าร้อยเลื่อมใสแล้ว จึงขอบวชในสำนักของสามเณรชื่อ
อธิมุตตกะ. สามเณรจึงพาศิษย์เหล่านั้นไปสู่สำนักพระอุปัชฌาย์ แล้วตนก็
อุปสมบทก่อน ภายหลังจึงทำการอุปสมบทให้อันเตวาสิกของตน มีประมาณ
ห้าร้อยเหล่านั้น. อันเตวาสิกทั้งหมดเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของ อธิมุตตกะ
เถระแล้วก็บรรลุซึ่งพระอรหัตมีผลอันเลิศ ดังนี้.
เทวดา ถือเอาความข้อนี้แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สตํ
สทฺธมฺมมญฺาย าติมชฺเฌ วิโรจติ แปลว่า บุคคล รู้สัทธรรมของพวก
สัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ ในท่ามกลางแห่งญาติ ดังนี้.
ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ.
คำว่า สาตตํ นี้ แปลว่า เนือง ๆ คือ เทวดาย่อมกล่าวว่า ชนทั้งหลาย
ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ หรือว่า มีความสุขอันยั่งยืน.
ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดย
ปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า
บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล
ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
บทว่า สพฺพาสํ โว แปลว่า ของพวกท่านทั้งหมด. บทว่า ปริยา-
เยน ได้แก่ โดยการณะ. บทว่า สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจติ แปลว่า ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวง อธิบายว่า ไม่ใช่มีเหตุแต่คุณอันประเสริฐแต่อย่างเดียว
เท่านั้น ย่อมไม่ได้ปัญญาเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่ง
เรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความโศกเพียงอย่างเดียว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ…
ย่อมเกิดในสุคติ. . . ย่อมดำรงอยู่สบายสิ้นกาลนานเพียงอย่างเดียว ก็บุคคลนั้น
แล ย่อมพ้นแม้จากวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัพภิสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!