15-022 การถูกต้อง



พระไตรปิฎก


๒. ผุสติสูตร
ว่าด้วยการถูกต้อง
[๕๘] เทวดากล่าวว่า
วิบากกรรมย่อมไม่ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ถูกต้อง A
แต่ถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้องเท่านั้น
เพราะฉะนั้น วิบากกรรมจึงถูกต้องบุคคลผู้ถูกต้อง
ผู้ประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
[๕๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ผู้ใดประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน B
บาปย่อมกลับมาถึงผู้นั้น ซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น C
ผุสติสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A ผู้ไม่ถูกต้อง หมายถึงผู้ไม่ถูกต้องกรรม, ผู้ไม่ทำกรรม (สํ.ส.อ. ๑/๒๒/๔๘)
B กิเลสเพียงดังเนิน หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ ที่ชื่อว่า เป็นเนิน เพราะทำจิตให้ลาดต่ำ โน้มไปสู่ที่ต่ำ
เช่นต้องย้อนไปสู่จตุตถฌานอีก ในที่บางแห่ง คำว่า องฺคณ หมายถึงพื้นที่ที่เป็นเนินตามที่พูดกันว่า เนินโพธิ์
เนินเจดีย์ เป็นต้น (ม.มู.อ. ๑/๕๗/๑๕๑)
C ดู ขุ.ธ. ๒๕/๑๒๕/๓๙

บาลี



ผุสติสุตฺต
[๕๘] นาผุสนฺต ผุสติ จ ผุสนฺตฺจ ตโต ผุเส
ตสฺมา ผุสนฺต ผุสติ อปฺปทุฏฺปโทสินนฺติ ฯ
[๕๙] โย อปฺปทุฏฺสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาล ปจฺเจติ ปาป
สุขุโม รโช ปฏิวาตว ขิตฺโตติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาผุสติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในผุสติสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า นาผุสนฺตํ ผุสติ ความว่า วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูก
กรรม (คือผู้ไม่ทำกรรม) อีกอย่างหนึ่ง กรรมย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม
นั่นแหละ. เพราะว่า กรรมย่อมไม่กระทำแก่บุคคลผู้ไม่กระทำ. บทว่า
ผุสนฺตญฺจ ตโต ผุเส ความว่า วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม อีกอย่างหนึ่ง
กรรมนั่นแหละ ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม. เพราะว่า กรรมย่อมกระทำบุคคล
ผู้กระทำ. บทว่า ตสฺมา ผุสนฺตํ ผุสติ อปฺปทุฏฺฐปฺปโทสินํ อธิบายว่า
เพราะวิบากย่อมไม่ถูกบุคคล ผู้ไม่ถูกกรรม ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ข้อนี้
เป็นธรรมดาของกรรมวิบากทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
บุคคลใด ย่อมประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มี
กิเลสเพียงดังเนิน บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง กรรมหรือวิบาก ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้ถูกกรรมนั้นแหละ เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมอาจเพื่อทำการ
ฆ่าบุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม แต่อัตตา ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในอบาย ๔ ด้วยกรรมนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลผู้นั้นผู้เป็น
พาล ประดุจธุลี อันละเอียดที่ซัดไป
ทวนลม ฉะนั้น.
จบอรรถกถาผุสติสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!