15-006 ความตื่น
พระไตรปิฎก
๖. ชาครสูตร
ว่าด้วยความตื่น
[๑๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนชื่อว่าหลับอยู่ เมื่อธรรมทั้งหลายหลับแล้ว ธรรมประเภทไหนชื่อว่าตื่นอยู่ บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะธรรมประเภทไหน บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
[๑๔] เมื่ออินทรีย์ ๕ ตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ชื่อว่าหลับอยู่ เมื่อนิวรณ์ ๕ หลับแล้ว อินทรีย์ ๕ ชื่อว่าตื่นอยู่ บุคคลหมักหมมธุลีคือกิเลสเพราะนิวรณ์ ๕ บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ ชาครสูตรที่ ๖ จบ
บาลี
ชาครสุตฺต
[๑๓] เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม
คาถ อภาสิ
กติ ชาครต สุตฺตา กติ สุตฺเตสุ ชาครา
กติภิ รชมาเทติ กติภิ ปริสุชฺฌตีติ ฯ
[๑๔] ปฺจ ชาครต สุตฺตา ปฺจ สุตฺเตสุ ชาครา
ปฺจภิ รชมาเทติ ปฺจภิ ปริสุชฺฌตีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาชาครสูตร
พึงทราบวินิจฉัยสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
บทว่า ชาครตํแปลว่า ตื่นอยู่. บทว่า ปญฺจ ชาครตํ อธิบายว่า ก็เมื่อว่าโดยคาถาที่วิสัชนา เมื่ออินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ก็ชื่อว่า หลับ เพราะเหตุไร. เพราะว่าบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยนิวรณ์ ๕ นั้น นั่งก็ดี ยืนก็ดี แม้นอนจนอรุณขึ้นก็ดี ในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า หลับแล้ว เพราะความประมาท คือเพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยอกุศล เมื่อนิวรณ์ ๕ นี้หลับแล้วอย่างนี้ อินทรีย์ ๕ จึงชื่อว่า ตื่นอยู่เพราะเหตุไร. เพราะว่าบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอินทรีย์ ๕ มีศรัทธา เป็นต้นนั้น แม้นอนหลับในที่ใดที่หนึ่ง ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ เพราะความไม่ประมาท คือ เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกุศล. บุคคลย่อมถือเอา ย่อมถือ ย่อมถือมั่นซึ่งธุลีคือกิเลสด้วยนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ. พึงทราบเนื้อความนี้ว่า นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้นที่เกิดก่อนย่อมเป็นปัจจัยแก่กามฉันทะเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง ดังนี้เป็นต้น จึงชื่อว่า บุคคลย่อมบริสุทธิ์ ด้วยอินทรีย์ ๕ ดังนี้. แม้ในที่นี้ ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาชาครสูตรที่ ๖