15-002 ทางหลุดพ้น



พระไตรปิฎก


๒. นิโมกขสูตร
ว่าด้วยทางหลุดพ้น
[๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี  ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๕] ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงทราบนิโมกข์ (ทางหลุดพ้น) ปโมกข์ (ความหลุดพ้น) และวิเวก (ความสงัด) A ของสัตว์ทั้งหลายหรือไม่” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวก ของสัตว์ทั้งหลาย” เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์พระองค์ทรงทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวกของสัตว์ทั้งหลายอย่างไร”
[๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า  ผู้มีอายุ เพราะความสิ้นไปแห่งภพ อันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล  เพราะความสิ้นไปแห่งสัญญาและวิญญาณ  เพราะความดับ เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย  เราจึงทราบนิโมกข์ ปโมกข์ และวิเวกของสัตว์ทั้งหลาย อย่างนี้แล   นิโมกขสูตรที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A นิโมกข์ หมายถึงมรรค ปโมกข์ หมายถึงผล วิเวก หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๒/๒๐)

บาลี


นิโมกฺขสุตฺต
[๔] สาวตฺถิย … อถ โข อฺตรา เทวตา อภิกฺกนฺตาย
รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๕] เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ภควนฺต เอตทโวจ
ชานาสิ โน ตฺว มาริส สตฺตาน นิโมกฺข ปโมกฺข วิเวกนฺติ ฯ
ชานามิ ขฺวาห อาวุโส สตฺตาน นิโมกฺข ปโมกฺข A วิเวกนฺติ ฯ
ยถากถ ปน ตฺว มาริส ชานาสิ สตฺตาน นิโมกฺข ปโมกฺข
วิเวกนฺติ ฯ
[๖] นนฺทิภวปริกฺขยา สฺาวิฺาณสงฺขยา
เวทนาน นิโรธา B อุปสมา
เอว ขฺวาห อาวุโส ชานามิ
สตฺตาน นิโมกฺข C ปโมกฺข วิเวกนฺติ ฯ

*****************
A สี. ปาโมกฺข ฯ
B สารตฺถปฺปกาสินีอฏฺกถามฺรมฺมโปตฺถเกสุ เวทนานิโรธาติ ปาโ ทิสฺสติ ฯ
C สี. วิโมกฺข ฯ

อรรถกถา


บัดนี้ ตั้งแต่สูตรที่ ๒ เป็นต้นไป ข้าพเจ้าละข้อความที่มาแล้วในสูตรที่ ๑ และข้อความที่ง่ายแล้วจักพรรณนาเนื้อความที่ยังไม่ได้พรรณนา และเนื้อความที่ยังไม่แจ่มแจ้งเท่านั้น.
บทว่า ชานาสิ โน ท่านแก้เป็น ชานาสิ นุ แปลว่า ย่อมทรงทราบ หรือหนอ.
บทว่า นิโมกฺขํ เป็นต้น เป็นชื่อของธรรมทั้งหลาย มีมรรคเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหลีกพ้นจากเครื่องผูก คือกิเลสได้ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มรรคเป็นทางหลีกพ้น ของสัตว์ ทั้งหลาย ดังนี้. ส่วนในขณะแห่งผล สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วจาก เครื่องผูก คือ กิเลส เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผลเป็นความหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ ระงับไปเพราะ  บรรลุพระนิพพาน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นที่สงัด ดังนี้.  อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ (มรรค ผล) เป็นชื่อของพรพนิพพานนั่นแหละ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมพ้น ย่อมหลุดพ้น ย่อมสงบ ระงับจากทุกข์ทั้งหมดเพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้นแล  ท่านจึงกล่าวว่า นิโมกฺโข หลีกพ้น ปโมกฺโข หลุดพ้น วิเวโก ที่สงัด ดังนี้ ทีเดียว. บทว่า ชานามิ ขฺวาหํ แปลว่า เราย่อมรู้จักโดยแท้จริง. โข อักษร ใช้ในความหมายว่า แท้จริง อธิบายว่า เราย่อมรู้ได้โดยแท้จริง. จริงอยู่ เรา (พระตถาคต) ยังบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อรู้ธรรมอันเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละ ด้วยเหตุนี้ เราจึงบันลือสีหนาท. ได้ยินว่า สูตรนี้ ชื่อว่า พุทธสีหนาท.  บทว่านนฺทิภวปริกฺขยา อธิบายว่า เพราะความสิ้นไปรอบแห่งกัมมภพอันมีความเพลิดเพลินเป็นมูล แม้จะกล่าวว่า เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน และภพ ดังนี้ก็ควร. ในปุริมนัยนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สังขารขันธ์ อันกัมมภพถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอภิสังขารคือกรรม ๓ อย่าง. ขันธ์ ๒ (เวทนาและสัญญาขันธ์) อันสัมปยุตด้วยธรรม (สังขารขันธ์) นั้น อันสัญญา และวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว. แต่เวทนาอันสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ (สัญญาสังขาร วิญญาณขันธ์) เหล่านั้น ท่านถือเอาแล้ว ด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น  เพราะฉะนั้น นิพพาน ซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งนามขันธ์ ๔ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้.
ในบทว่า เวทนานํนิโรธา อุปสมา ได้แก่ เพราะความดับ และเพราะความสงบแห่งเวทนา อันเป็นอุปาทินนกะ. ในพระบาลีนั้น ขันธ์ ๓ อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว โดยการถือเอาเวทนาเทียว. แม้รูปขันธ์ ท่านก็ถือ เอาด้วยสามารถแห่งวัตถุและอารมณ์ของนามขันธ์เหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ นิพพานอันไม่มีกัมมชรูปและวิบากขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน) จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.  แต่ในนัยที่ ๒ สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือความเพลิดเพลิน. รูปขันธ์กล่าวคือ อุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ.
เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ ๓ เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้นทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว  ด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ ดังพรรณนามาฉะนี้. พระเถระผู้เรียนคัมภีร์นิกาย ๔ ชอบใจนัยนี้ทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งพระนิพพาน  ด้วยประการฉะนี้ แล.
จบอรรถกถานิโมกขสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!