15-001 การข้ามโอฆะ


พระไตรปิฎก


๑. โอฆตรณสูตร
ว่าด้วยการข้ามโอฆะ
[๑] ข้าพเจ้า A ได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป B เทวดาองค์หนึ่งมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร C
[๒] ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ทรงข้ามโอฆะ D ได้อย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เราเองเมื่อไม่พัก E ไม่เพียร F จึงข้ามโอฆะได้” เทวดาทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์เมื่อไม่พักไม่เพียรทรงข้ามโอฆะได้อย่างไร” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อใดเรานั้นยังพักอยู่ เมื่อนั้นเราก็ ยังจมอยู่ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้นเราก็ยังลอยอยู่แน่นอน เราไม่พักไม่เพียรอย่างนี้แล จึงข้ามโอฆะได้” เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า “นานจริงหนอ ข้าพเจ้าจึงได้พบพราหมณ์ ผู้ดับกิเลสได้สิ้นแล้ว ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่ ก็ข้ามตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในโลก G ได้”
[๓] เทวดานั้นได้กล่าวคาถานี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยแล้ว
ครั้งนั้น เทวดาคิดว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณ F แล้วหายตัวไป I ณ ที่นั้นเอง โอฆตรณสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A คำว่า ข้าพเจ้า ในตอนเริ่มต้นของพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น ๆ ในเล่มนี้ หมายถึงพระอานนท์
B เมื่อราตรีผ่านไป หมายถึงเมื่อปฐมยามผ่านไป มัชฌิมยามย่างเข้ามา (สํ.ส.อ. ๑/๑/๔, องฺ.ฉกฺก.อ.๓/๒๑-๒๒/๑๐๘)
C ที่สมควร (เอกมนฺตํ) หมายถึงที่เหมาะสม คือ เว้นโทษ ๖ ประการ ได้แก่ (๑) ไกลเกินไป (๒) ใกล้เกินไป (๓) อยู่เหนือลม (๔) สูงเกินไป (๕) อยู่ตรงหน้าเกินไป (๖) อยู่ข้างหลังเกินไป (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๕, สํ.นิ.อ.๒/๖๐/๙๘, องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๖/๑๕)
D โอฆะ หมายถึงห้วงน้ำคือกิเลส มี ๔ อย่างคือ (๑) กาโมฆะ โอฆะคือกาม (๒) ภโวฆะ โอฆะคือภพ (๓) ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ (๔) อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๖)
E ไม่พัก หมายถึงไม่แสวงหาความสุขในทางกามารมณ์ ซึ่งจัดอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๘)
F ไม่เพียรหมายถึงไม่แสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งจัดอยู่ในอัตตกิลมถานุโยค (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๘)
G โลก ในที่นี้หมายถึงสัตวโลก (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๙)
F กระทำประทักษิณ หมายถึงการเดินเวียนขวา คือเดินประนมมือเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา ๓ รอบ (วิ.อ.๑/๑๕/๑๗๖-๑๗๗)
I หายตัวไป หมายถึงละกายที่ปรุงแต่งแล้วดำรงอยู่ในกายที่ยึดครองตามปกติของตน (สํ.ส.อ. ๑/๑/๑๙)

บาลี


โอฆตรณสุตฺต
[๑] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข อฺตรา เทวตา
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๒] เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ภควนฺต เอตทโวจ
กถ นุ ตฺว มาริส โอฆมตรีติ ฯ อปฺปติฏฺ ขฺวาห อาวุโส
อนายูห โอฆมตรินฺติ ฯ ยถากถ ปน ตฺว มาริส อปฺปติฏฺ
อนายูห โอฆมตรีติ ฯ ยทา สฺวาห อาวุโส สนฺติฏฺามิ ตทาสฺสุ
สสีทามิ ยทา สฺวาห อายูหามิ A ตทาสฺสุ นิวุยฺหามิ B เอว ขฺวาห
อาวุโส อปฺปติฏฺ อนายูห โอฆมตรินฺติ ฯ
จิรสฺส วต ปสฺสามิ พฺราหฺมณ ปรินิพฺพุต
อปฺปติฏฺ อนายูห ติณฺณ โลเก วิสตฺติกนฺติ ฯ
[๓] อิทมโวจ สา เทวตา สมนุฺโ สตฺถา อโหสิ ฯ
อถ โข สา เทวตา สมนุฺโ C เม สตฺถาติ ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

*******************
A ยุ. ยทา สฺวาห อาวุโส อายูหามิ ฯ ม. ยทาห อายูหามิ ฯ
B ม. ยุ. นิพฺพุยฺหามิ ฯ C สี. สมนุฺาโต ฯ

อรรถกถา


… พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว อย่างนี้ ว่า  เราไม่พักไม่เพียรข้ามโอฆะได้แล้ว ดังนี้ แม้จะเป็นปัญหาอันเทวดาทราบแล้ว  แต่ก็ไม่แจ่มแจ้ง เพราะเห็นโทษคือความไม่เข้าใจในเพราะการหยุดอยู่และในความพยายามเพื่อกระทำอรรถนั้นให้ปรากฏ ท่านจึงแสดงธรรมอันเป็นหมวด ทุกะ ๗ หมวด. จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยตัณหาและทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง  ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ  เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่า ย่อมลอย เพราะว่าภวทิฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา  แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป. อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจการติด (ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย.  อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย. ว่าด้วยอำนาจแห่ง อกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่ง กุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย …
เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นผู้ยินดีแล้ว เลื่อมใสแล้ว …
ข้อความข้างต้น เพียงบางส่วนของ อรรถกถา
อ่าน อรรถกถา ฉบับเต็มได้ที่ พระไตรปิฎก มมร. เล่ม 24 หน้า 6-39

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!