12-182 รอยพระบาทของพระตถาคต



พระไตรปิฎก


รอยพระบาทของพระตถาคต
{๓๓๕} [๒๙๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตและ
เป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังได้แล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า
‘ตถาคตบท A ‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต B ‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต C‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่
ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็น
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ
ดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความ
ผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดจากสมาธิอยู่ ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ฯลฯ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา
มีสติ อยู่เป็นสุข’ ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ฯลฯ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว
ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ข้อนี้เรา
เรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็
ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม
เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้
ปฏิบัติดีแล้ว’
{๓๓๖} [๒๙๘] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน D ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง
๒ ชาติบ้าง ฯลฯ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า
‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ด่วน
ตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
{๓๓๗} เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม
จิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้
เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล้ว แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต‘บ้าง
‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ด่วนตัดสินใจว่า ‘พระผู้มีพระภาค เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
{๓๓๘} [๒๙๙] เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจาก
ความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุ
นั้นน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา’ แม้ข้อนี้เราก็เรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต’
บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง อริยสาวกที่ยังไม่ด่วนตัดสินใจก็ตัดสินใจได้เลยว่า ‘พระผู้มี
พระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’
เมื่อภิกษุนั้นรู้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ‘ตถาคตบท‘บ้าง ‘ตถาคตนิเสวิต’บ้าง ‘ตถาคตรัญชิต‘บ้าง
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกจึงตัดสินใจได้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวก
ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว’ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ข้อความเปรียบเทียบ
ด้วยรอยเท้าช้างเป็นอันบริบูรณ์โดยพิสดารแล้ว”
{๓๓๙}เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ชาณุสโสณิพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระ
โคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A ตถาคตบท หมายถึงทางแห่งญาณ หรือร่องรอยแห่งญาณของพระตถาคต ได้แก่ ฐานที่ญาณเหยียบแล้ว กล่าวคือ ฌานทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นพื้นฐานแห่งญาณชั้นสูง ๆ ขึ้นไปของพระตถาคต (ม.มู.อ.๒/๒๙๗/๑๒๕)
B ตถาคตนิเสวิต หมายถึงฐานที่ซี่โครงคือญาณของพระตถาคตเสียดสีแล้ว (ม.มู.อ. ๒/๒๙๗/๑๒๕)
C ตถาคตรัญชิต หมายถึงฐานที่พระเขี้ยวแก้วคือญาณของพระตถาคตกระทบแล้ว (ม.มู.อ. ๒/๒๙๗/๑๒๕)
D ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๒ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.